หมอนรองกระดูกสันหลังทำหน้าที่ประคองและกระจายแรงในการรับน้ำหนักของกระดูกสันหลังโดยตรง ลักษณะคล้ายกับยางรถยนต์ เพราะฉะนั้น ปัจจัยเสี่ยงหลักๆจะเน้นไปในเรื่องของการรับน้ำหนัก และความเคลื่อนไหวที่รุนแรงและรวดเร็วซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและเคลื่อนออกมา เพราะน้ำหนักตัวที่มากจะส่งผลให้กระดูกสันหลังต้องแบกรับน้ำหนักมากตามไปด้วยดังนั้นทุกอิริยาบถการเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่ว่าจะท่าทางใดล้วนเกี่ยวข้องกับการใช้กระดูกสันหลังทั้งสิ้น
นายแพทย์วิศิษฐ์ แซ่ล้อ แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ เผยว่า การที่คนเรามีน้ำหนักตัวเกิน นอกจากจะเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่างๆแล้ว โรคอ้วนยังก่อให้เกิดอาการปวดหลังได้ด้วยเช่นกัน เพราะร่างกายของคนอ้วนต้องรับน้ำหนักมากกว่าคนปกติ ส่งผลทำให้หมอนรองกระดูก สันหลังจะเสื่อมได้เร็วกว่าคนทั่วไป
หากใครอยากรู้ว่าเราเริ่มมีความเสี่ยงจากน้ำหนักตัวที่เกินหรือไม่ สามารถตรวจหาความเสี่ยงนี้ได้ด้วยตัวเองโดยใช้สูตรการคำนวณหาค่า BMI หรือ ค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนัก (กิโลกรัม) หารส่วนสูง (เมตร) ยกกำลังสอง เช่น ผู้ป่วยน้ำหนัก 50 กก. สูง 165 ซม. = 50 / (1.65 x 1.65) ค่า BMI = 18.3654 *(ค่าที่ได้น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ )
เกณฑ์การแปลผลค่า BMI
<18.5 : ต่ำกว่าเกณฑ์
18.5-22.90 : ปกติสมส่วน
23-24.90 : น้ำหนักเกิน
25-29.90 : อ้วนระดับ 1
>30 : อ้วนระดับ 2
อย่างไรก็ตาม นายแพทย์วิศิษฐ์ ยังเผยอีกว่า โครงสร้างของร่างกายรวมไปถึงการเรียงตัวของกระดูกสันหลัง เมื่อเรามีน้ำหนักตัวที่มากจนเกินไป สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นคือ การสร้างภาระต่อโครงสร้างของร่างกาย ลักษณะคล้ายกับกระดูกสันหลังต้องแบกรับน้ำหนักที่มากขึ้น สิ่งนี้จะทำให้กระดูกสันหลัง เปลี่ยนโครงสร้างโดยจะมีการบิดมุมของกระดูกมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เมื่อมีการบิดมุมที่แอ่นมากขึ้น หรือว่า น้ำหนักที่กดลงมาบริเวณกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไป จะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อบริเวณกระดูกสันหลัง และเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน ,โพรงเส้นประสาทตีบแคบ ,หมอนรองกระดูกสันหลังทรุดตัว และอาจนำไปสู่เรื่องของข้อกระดูกสันหลังเคลื่อน
สำหรับแนวทางการรักษา หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการที่ไม่รุนแรงมาก สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยา หรือกายภาพบำบัด แต่เมื่อใดก็ตามที่มีข้อบ่งชี้ว่าควรต้องได้รับการผ่าตัด แนะนำให้รีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาหลังการรักษาผู้ป่วยไม่ควรชะล่าใจและควรให้ความสำคัญของการรักษาค่าดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพราะนอกจากจะเป็นการช่วยชะลอความเสื่อมของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ยังส่งผลดีต่อระบบอื่นๆ ในร่างกายเช่น โรค NCDs (เบาหวาน ,ไขมัน ,ความดัน และหัวใจ) เป็นต้น
นายแพทย์วิศิษฐ์ ยังฝากทิ้งท้ายว่า ทุกคนสามารถป้องกันความเสี่ยงจากการเกิดโรคนี้ได้ โดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้ปวดหลัง และเสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ด้วยการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินเกณฑ์มาตรฐาน รับประทานอาหารที่มีประโยชน์สำหรับร่างกาย พยายามลดน้ำหนักตัวแต่ไม่ใช่การอดอาหาร หรือหากใครมีน้ำหนักที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง สามารถเข้ามาพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังและตรวจรักษาโรคหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี MIS (Minimally Invasive Surgery) หรือการผ่าตัดส่องกล้อง แบบแผลเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์ เนิร์ฟ โรงพยาบาลเอส สไปน์ โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ปรึกษา โทร 02 034 0808
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้