เศรษฐกิจ

ซื้อหุ้นกู้ วันนี้ มีเศรษฐีเป็นลูกหนี้วันหน้า

1 สิงหาคม 2565

 คนมีฐานะปานกลาง (หรือย่ำแย่  ) อย่างเรา ท่าน ก็อาจมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ของบริษัทที่มีมูลค่านับร้อยนับพันล้านบาทได้ หากเราลงทุนซื้อหุ้นกู้ของบริษัทนั้น  เพราะผู้ถือ #หุ้นกู้ มีฐานะเป็น #เจ้าหนี้ ของบริษัท

   ฟังดูเท่ไม่หยอกเหมือนกันนะ  ยิ่งช่วงนี้มีหลายบริษัททยอยออกหุ้นกู้มาให้เลือกนับสิบ ตัว ก็ยิ่งเป็นโอกาสที่เราจะได้เลือก #ลูกหนี้ ที่จะจ่ายดอกเบี้ยให้เราอย่างสมน้ำสมเนื้อ and และมีเครดิตดี ไม่มีประวัติ #เบี้ยวหนี้

หุ้นกู้คืออะไร ? ใครออกหุ้นกู้ได้บ้าง ??

หุ้นกู้แบ่งเป็นสองประเภท คือ หุ้นกู้ธรรมดา (เรียกสั้น ๆ ว่า “หุ้นกู้” ) กับ #หุ้นกู้แปลงสภาพ ซึ่งทั้งสองแบบคือเครื่องมือในการระดมทุนของบรรดาบริษัทต่าง ๆ ที่ต้องการเงินทุนหมุนเวียนหรือขยายกิจการ แทนที่จะขอกู้จากธนาคาร หรือขายหุ้นบริษัท ก็ออกเป็นหุ้นกู้ขายให้ผู้สนใจ โดยให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และเมื่อครบอายุก็จะคืนเงินต้นให้เหมือนกับการชำระหนี้คืน

   ส่วนหุ้นกู้แปลงสภาพ จะมีเงื่อนไขพิเศษด้วยการให้ผู้ถือ “แปลงสภาพ” จาก “หุ้นกู้” เป็น “หุ้นสามัญ” ได้ตามข้อกำหนด หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า เปลี่ยนฐานะจาก “เจ้าหนี้” มาเป็น “เจ้าของร่วม” หรือเป็น “ผู้ถือหุ้น” นั่นเอง

   แต่ไม่ใช่ว่าใคร ๆ ก็สามารถออกมาเสนอขายหุ้นกู้ได้ เพราะตามกฎหมายกำหนดว่าต้องเป็น “บริษัทไทย” หรือ “ธนาคารต่างประเทศที่มีสาขาเต็มรูปแบบในไทย” เท่านั้น และก่อนเสนอขายจะต้องยื่นเรื่องขออนุมัติจาก ก.ล.ต.ซึ่งจะพิจารณาตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ก่อนทุกครั้ง

ใครมีสิทธิ์ซื้อ ? ซื้อได้ที่ไหน ??

ในที่นี้จะขอพูดถึงเฉพาะหุ้นกู้ธรรมดา เพราะหากเป็นผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้นกู้แปลงสภาพ น่าจะต้องมีความรู้ด้านการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่บ้างแล้ว

   หุ้นกู้ที่บริษัทต่าง ออกมาเสนอขาย จะระบุไว้ตั้งแต่แรกว่าเสนอขายแก่ #บุคคลทั่วไป หรือ #นักลงทุนรายใหญ่ และ/หรือ #นักลงทุนสถาบัน หรือบางรายอาจระบุไว้เลยว่าเสนอขายเฉพาะ #นักลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง หรือวงแคบเท่านั้น  ซึ่งหากเป็นหุ้นกู้ที่เสนอขายแก่บุคคลทั่วไป ใครที่มีเงินเพียงพอก็สามารถซื้อได้

   ส่วน #นักลงทุนรายใหญ่ นั้น ...กำหนดคุณสมบัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ข้อ ว่าต้อง

   มีรายได้ 4 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป

   หรือ  มีการลงทุนในหลักทรัพย์ทั่วไปที่มีมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท

   หรือ มีทรัพย์สิน (ไม่นับรวมบ้านที่อยู่อาศัย) ไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท

   บริษัทที่ออกหุ้นกู้จะแต่งตั้งบริษัทหลักทรัพย์หรือธนาคารเป็น #ตัวแทนขาย เรียกว่า #Underwriter หรือ#Dealer ใครสนใจจะซื้อหุ้นกู้ตัวไหนก็ติดต่อผ่านตัวแทนเจ้านั้น ได้เลย

   ปัจจุบันยิ่งสะดวกมากขึ้นเมื่อหุ้นกู้บางตัวสามารถซื้อขายผ่าน #แอปเป๋าตัง ได้ด้วย โดยเมื่อเปิดแอปขึ้นมาแล้ว ให้เลื่อนหน้าจอไปทางซ้ายเรื่อย จะเจอหน้าซื้อขาย หุ้นกู้กดเข้าไปแล้วทำตามขั้นตอนคำแนะนำ โดยครั้งแรกต้องเริ่มลงทะเบียนและทำแบบประเมินความเสี่ยงก่อน จากนั้นก็คอยติดตามข่าวว่าจะมีหุ้นกู้ตัวไหน เปิดให้จองซื้อในวันเวลาใด

(ภาพฟังก์ชันซื้อขาย หุ้นกู้ในแอป.เป๋าตัง)

   ทางที่ดี ควรลงทะเบียน ทำแบบประเมินความเสี่ยงไว้ล่วงหน้า รวมทั้งอาจโอนเงินที่ต้องการลงทุนใส่ไว้ก่อน หรือผูกบัญชีลงทุนไว้กับบัญชีธนาคารที่มีเงินเพียงพอ  เพราะบางครั้งหุ้นกู้ที่น่าสนใจอาจถูกจองซื้อหมดเร็วมากในเวลาเพียงไม่กี่นาที !!  หากมัวแต่เร่ิมทำรายการลงทะเบียน ทำแบบประเมินความเสี่ยงก็จะชวดการจองซื้อ

วิธีเลือกหุ้นกู้

หุ้นกู้ที่เสนอขายแก่บุคคลทั่วไปนอกจากจะระบุอัตราดอกเบี้ย , อายุ (กี่ปี) , ช่วงเวลาจ่ายดอกเบี้ย เช่น ทุก3 เดือน หรือทุก 6 เดือนแล้ว ยังต้องมีอันดับเครดิตที่บ่งบอกความน่าเชื่อถือกำกับไว้ตามข้อบังคับของ... ซึ่งมีตั้งแต่ระดับสูงสุดคือ AAA จนถึงต่ำสุด D

   หุ้นกู้ที่ได้อันดับเครดิต BBB- ขึ้นไป ถือว่าเป็นระดับที่น่าลงทุนส่วนที่ต่ำกว่านั้นเรียกว่า ระดับเก็งกำไรหรือบางคนอาจเรียกว่าเป็น #JunkBond คือเร่ิมมีความเสี่ยงที่อาจผิดนัดชำระหนี้ หรือถึงขั้น ไม่สามารถชำระหนี้ได้

 

(ดูภาพประกอบอันดับเครดิตจะถูกแบ่งเป็นสองกลุ่ม”)

(ที่มา : เว็บไซต์สมาคมตราสารหนี้ไทย  www.thaibma.or.th)

   ผู้สนใจจะลงทุนในหุ้นกู้ สามารถดูรายละเอียด #หุ้นกู้ออกใหม่ ที่จะเสนอขายได้ทางเว็บไซต์ของสมาคมตราสารหนี้ไทย www.thaibma.or.th  และเว็บไซต์ของ ...  www.sec.or.th

   แน่นอนว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง และคำกล่าวที่ว่า “High Risk High Return” ยังเป็นสัจธรรมอันเที่ยงแท้  การลงทุนในหุ้นกู้จึงควรพิจารณาปัจจัยทั้งสามประกอบกัน คือ ดอกเบี้ย อายุหุ้นกู้ และอันดับเครดิต โดยดูว่าเรารับความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เงินที่จะนำไปลงทุนเป็น #เงินเย็น ตามอายุของหุ้นกู้หรือไม่ และก็นำมาซึ่งคำถามที่ว่า..

หากถือหุ้นกู้ที่ยังไม่ครบอายุ แต่ต้องการใช้เงินจะทำอย่างไร ?

ซื้อได้ ก็ย่อมขายได้ เป็นข้อดีอย่างหนึ่งของหุ้นกู้ โดยการซื้อขายเปลี่ยนมือสามารถทำได้ในตลาดที่เรียกว่า #ตลาดรอง แต่สภาพคล่องและราคาอาจแตกต่างและเปลี่ยนแปลงตามเงื่อนไขและสภาพตลาด เช่นหากอัตราดอกเบี้ยในตลาดเป็นขาขึ้น หุ้นกู้รุ่นเก่าที่เราถืออยู่ย่อมให้ผลตอบแทนน้อยกว่าตัวใหม่ที่ออกมาในอายุและความเสี่ยงเท่ากัน ดังนั้นหากเราจะขายหุ้นกู้ตัวเก่าก็ย่อมต้องถูกหักลบราคาลงมา

   ในสถานการณ์ที่อัตราดอกเบี้ยเป็นขาขึ้น เราได้เห็นบริษัทต่าง เสนอขายหุ้นกู้ออกมาอย่างต่อเนื่องเพราะต้องการ #ล็อกต้นทุน การเงินไว้ไม่ให้สูงขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยในตลาด แต่ในมุมของคนทั่วไปอย่างเรา ท่าน หุ้นกู้ถือเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการลงทุนที่น่าสนใจ เพราะให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝาก และพันธบัตรรัฐบาล รวมทั้งเป็นอัตราคงที่และจ่ายตรงเวลาเหมือนเป็นรายได้ประจำ มีความมั่นคงพอสมควรตามอันดับเครดิตที่ประเมินจากประวัติการชำระหนี้ของบริษัทผู้ออกหุ้นกู้

   แถมยังเป็นโอกาสให้ได้คุยโวกับเพื่อนได้ด้วยว่า บรรดาเจ้าสัวที่ร่ำรวยมหาศาล ต่างเป็นลูกหนี้เราทั้งนั้น.

   

   

   

ผู้เขียน
ภุสพงศ์ ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเศรษฐกิจ