คือ 4 เหตุผลหลักที่จะทำให้ รถยนต์ EV มาแน่นะเธอ ซึ่ง พีระภัทร ศิริจันทโรภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทชาร์จ แมเนจเม้นท์ (SHARGE) สรุปไว้ในการแถลงข่าวเมื่อไม่กี่วันก่อน
SHARGE เป็นบริษัทที่เติบโตมาจากสตาร์ทอัพ สู่ผู้ให้บริการระบบชาร์จไฟสำหรับ EV แบบครบวงจรทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์
เหตุผลดังกล่าวสอดคล้องกับผลสำรวจของ วิจัยกรุงศี ร่วมกับ KrungsriAuto สอบถามความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างกว่า 800 คนเมื่อเดือน พ.ย.64 พบว่า ผู้ใช้รถ EV ตัดสินใจซื้อเพราะ ค่าใช้จ่ายถูกกว่า ดีต่อสิ่งแวดล้อม และ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า แต่อุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้รถ EV ก็คือ สถานีชาร์จยังไม่พอและยังไม่ครอบคลุม ระยะทางขับขี่ต่อการชาร์จหนึ่งครั้งยังสั้น ใช้เวลาชาร์จนาน และราคารถ EV ยังแพงกว่ารถใช้น้ำมัน
สถานีชาร์จไม่ใช่แค่มีจำนวนเพียงพอ ยังต้องครอบคลุมพื้นที่ เข้าถึงง่าย และใช้สะดวก ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์ชาร์จในที่พักอาศัย ทั้งบ้าน คอนโด หรือโรงแรม และสถานีชาร์จนอกบ้าน เช่น ที่ออฟฟิศ ศูนย์การค้า และระหว่างเส้นทาง กรรมการผู้จัดการ SHARGE ให้ข้อมูลว่า บริษัทตั้งเป้านำร่องภายในปีนี้จะมีสถานีชาร์จกว่า 600 แห่ง จำนวนหัวชาร์จ 2,000-2,400 หัวชาร์จ
ขณะที่วิจัยกรุงศรี ระบุว่า สัดส่วนสถานีชาร์จต่อจำนวนรถ EV ที่สหภาพยุโรปแนะนำควรอยู่ที่ 1 ต่อ 10 หมายความว่าหากมีการใช้รถ EV 1,000 คัน ก็ควรมีสถานีชาร์จ 100 แห่ง แต่ปัจจุบันสัดส่วนสถานีชาร์จต่อจำนวนรถ EV ในบ้านเรายังอยู่ที่ 0.7 ต่อ 10 หรือเท่ากับรถ EV 1,000 คัน มีสถานีชาร์จรองรับ 70 แห่ง ต้องเพิ่มอีกราว 30% จึงจะเพียงพอตามตัวเลขที่สหภาพยุโรปแนะนำ
และจากเป้าหมายของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ หรือบอร์ด EV ที่จะให้ประเทศไทยมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท 1.05 ล้านคันในอีก 3 ปีข้างหน้า ก็เท่ากับจะทำให้มีความต้องการสถานีชาร์จไม่น้อยกว่า 100,000 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่หลักพัน
ราคารถ EV ถูกลงจากมาตรการส่งเสริมของรัฐ แต่…?
มาตรการของรัฐล่าสุดทำให้ราคารถยนต์ EV ถูกลงนับแสนบาท โดยมีค่ายรถสัญชาติจีน 2 รายที่เข้าร่วมโครงการ คือ GWM เจ้าของแบรนด์แมวเหมียว ORA GOOD CAT และ MG ซึ่งมีรถ 2 รุ่นให้เลือก คือ MG ZS EV และ MG EP ส่วนค่ายอื่น ๆ แค่มีข่าว แต่ยังไม่ยืนยันเป็นทางการ เพราะเงื่อนไขสำคัญที่รัฐกำหนดว่า บริษัทที่จะนำรถ EV เข้ามาจำหน่ายโดยได้รับการอุดหนุนตามมาตรการของรัฐ จะต้องลงทุนผลิตรถ EV ในประเทศภายในปีที่ 3 – 4 เป็นต้นไป ไม่เช่นนั้นจะถูกปรับเงินมากกว่าส่วนลด ที่ได้ตามมาตรการของรัฐ
และแม้รัฐจะอุดหนุนแล้ว ราคารถ EV ก็ยังแพงกว่ารถที่ใช้น้ำมัน เทียบให้เห็นชัด ๆ ในรุ่นเดียวกันอย่างรถยนต์ไฟฟ้า MG ZS EV ราคาที่รัฐอุดหนุนแล้วอยู่ที่ 949,000 – 1,023,000 บาท ขณะที่ MG ZS เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร ราคา 689,000 – 799,000 บาท เท่ากับว่ารถ EV ยังแพงกว่าถึงกว่า 200,000 บาท
สาเหตุที่รถ EV ยังราคาแพงมาจากราคาแบตเตอรี่ที่แม้จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีทำให้ราคาถูกลงกว่าในอดีต แต่ต้นทุนแบตเตอรี่โดยเฉลี่ยก็ยังคิดเป็นกว่า 1 ใน 4 ของราคารถ ขณะที่ค่ายรถพยายามปิดจุดอ่อนด้วยการรับประกันแบตเตอรี่ตามวงรอบการชาร์จหรืออายุใช้งาน แต่หากยังต้องควักกระเป๋าเป็นแสนตอนเปลี่ยนแบต ก็ทำให้หลายคนขอร้องเพลงรออีกสักพัก ก่อนจะตัดสินใจเป็นเจ้าของรถ EV
อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของวิจัยกรุงศรี พบว่า ความต้องการรถ EV ในประเทศไทยจะเริ่มมาถึงใน 1-2 ปีนี้ และจะมีความต้องการกลุ่มใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่ 3 ปีข้างหน้าเป็นต้นไป หรือมองได้ว่าการเปลี่ยนผ่านจากยุครถยนต์สันดาปภายใน ไปสู่รถ EV อาจมาถึงเร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดไว้
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้