“ไต” เปรียบเสมือนโรงงานบำบัดน้ำเสียภายในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญในการกรองเลือด เพื่อกำจัดของเสียต่าง ๆ ที่เกิดจากการเผาผลาญอาหาร เช่น ยูเรีย ครีเอตินิน และสารพิษอื่น ๆ ออกจากร่างกายทางปัสสาวะ นอกจากนี้ ไตยังมีหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ควบคุมความดันโลหิต สร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง และควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกายอีกด้วย หากไตทำงานผิดปกติ จะส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง โรคกระดูก และอาจนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม กล่าวว่า การกินเค็มหรือการบริโภคโซเดียมในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคไตเรื้อรัง ผู้ที่มีค่าไตสูงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไตและส่งเสริมให้ไตทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว
เมื่อบริโภคโซเดียมหรือเกลือในปริมาณที่สูง ไตจะต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อขจัดโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย การสะสมของโซเดียมในเลือดจะทำให้ร่างกายกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในหลอดเลือดเพิ่ม ความดันโลหิตสูงขึ้น และสร้างแรงดันในหลอดเลือดของไต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไตเสื่อมสภาพในระยะยาว นอกจากนี้ การบริโภคโซเดียมมากเกินไปยังส่งผลให้เกิดภาวะต่าง ๆ ที่ทำลายไต เช่น การอักเสบของเนื้อเยื่อไต เกิดจากโซเดียมสะสมที่กระตุ้นการอักเสบ, ภาวะโปรตีนรั่วในปัสสาวะ แรงดันที่เพิ่มขึ้นในหลอดเลือดไตทำให้เกิดการรั่วไหลของโปรตีน, การเกิดนิ่วในไต โซเดียมกระตุ้นการขับแคลเซียมในปัสสาวะ ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลึกนิ่วได้
จากข้อมูลจากกรมอนามัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ระบุว่า ในปี 2565 มีคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังมากกว่า 11.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจาก 8,000,000 คนในปี 2563 และมีผู้ป่วยที่ต้องล้างไตเพิ่มขึ้นจาก 80,000 คนในปี 2563 เป็น 100,000 คนในปี 2565
ปัจจัยหลักที่นำไปสู่โรคไตเรื้อรังคือโรคเรื้อรังอย่าง เบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 70 ของผู้ป่วย นอกจากนี้ พฤติกรรมการกินเค็มเกินพอดี เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้น คนไทยบริโภคโซเดียมเฉลี่ยวันละ 3,635 มก. ซึ่งสูงกว่าคำแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่ระบุไม่ควรเกินวันละ 2,000 มก. หรือประมาณ 1 ช้อนชา
ความเชื่อที่ว่า “การกินเค็ม” ทำให้ไตวายนั้นเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง “เพียงบางส่วน” การรับประทาน “โซเดียม” ในปริมาณมากเกินไปอย่างต่อเนื่องต่างหาก จะส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้น ทำให้ไตเสื่อมสภาพและเกิดโรคไตเรื้อรังได้ การลดการบริโภคโซเดียมสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น
“อย่าปล่อยให้ไตพังแล้วต้องมานั่งฟอกไต หลายคนอาจคิดว่า ไตมีตั้ง 2 ข้าง เลยทำให้มองข้ามความสำคัญ แต่รู้หรือไม่ว่า เมื่อเสียไตไปสักข้าง การใช้ชีวิตจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การฟอกไต ไม่ใช่เพียงเรื่องของเวลาและค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่ว แต่ยังหมายถึงความเจ็บปวด ความเหนื่อยล้า และความรู้สึกโดดเดี่ยวในห้องฟอกไตที่ต้องเผชิญซ้ำแล้วซ้ำเล่า ส่วน การผ่าตัดเปลี่ยนไต แม้จะดูเป็นทางรอด แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีโอกาสได้ไตใหม่ และยังต้องต่อสู้กับความเสี่ยงหลังการผ่าตัดอีกมากมาย ลองคิดถึงการสูญเสียไต 1 ข้างที่อาจมาจากพฤติกรรมเล็ก ๆ เช่น กินเค็มเกินไปหรือดื่มน้ำน้อยในแต่ละวัน สิ่งเหล่านี้ฟังดูธรรมดาแต่สามารถนำไปสู่ความทุกข์ทรมานตลอดชีวิต อย่ารอให้ถึงวันที่คุณต้องนั่งบนเตียงฟอกไตกับคำถามในใจว่า ทำไมฉันไม่ดูแลตัวเองตั้งแต่แรก จงเริ่มดูแลไตตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่จะสายเกินไป” รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ กล่าวสรุป
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้