นางพงษ์ทิพย์ เทศะภู ประธานสายงานประชาสัมพันธ์ บริษัท เรียล สมาร์ท จำกัด เผยว่า บริษัทมีความเชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีสื่อสารการตลาด หรือ มาร์เทค (Marketing Technology) แบบครบวงจร จึงเลือกทำ Social Listening เป็นเครื่องมือ สะท้อนให้เห็นทิศทางสังคมที่เกิดขึ้นจริง
Social Listening ไม่ใช่การทำโพลสำรวจความเห็นในโลกออนไลน์ แต่เป็นการรับฟังเสียงที่เกิดขึ้นและมีอยู่แล้วในสังคมออนไลน์ เพียงใช้ key word หรือคำสำคัญ มาเป็นตัวกรองชุดข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ที่เป็นสาธารณะ ทำให้รู้ได้ว่ากระแสสังคมต่อประเด็นนั้นๆ มีทิศทางเป็นอย่างไร เป็นบวก เป็นลบ หรือมีแนวโน้มขยายเป็นวิกฤต
กรณีล่าสุด เรียล สมาร์ท ได้ร่วมเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กับสำนักข่าวอิสรา จัดทำ Social Listening เพื่อสำรวจความสนใจชาวเน็ตเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ สำรวจความต้องการเพื่อสะท้อนปัญหาต่างๆ ของคนกรุงเทพฯ ในโซเชียลมีเดีย นับว่าประสบความสำเร็จในระดับดีเยี่ยม
โดยในการทำงาน AI ที่เราสร้างขึ้น สามารถกวาดเอาข้อมูลจำนวนมหาศาลจากแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ twitter , facebook , website , youtube , Instagram ฯลฯ ซึ่งมีคนไทยอยู่บน Social media platforms ต่างๆ ราว 55 ล้านคน มารวมไว้ด้วยกัน แล้วกรองให้เหลือเป็นชุดข้อมูลที่สะท้อนความคิดเห็นตลอดจนทัศนคติ ซึ่งเทคโนโลยี AI ของเรา มีความสามารถจำแนกข้อมูลความคิดเห็นออกเป็น 3 แบบ คือ ชอบ ไม่ชอบ และคิดเห็นเป็นกลาง และวิเคราะห์ ออกมาเป็นตัวเลขสถิติที่ใกล้เคียงกับสภาพความเป็นไปในโลกจริง
มีกรณีตัวอย่าง การสำรวจโผ 10 ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.ที่โลกออนไลน์พูดถึงมากที่สุด ซึ่งผลสำรวจได้ออกพบ ผู้สมัครที่มีการกล่าวถึงเป็นอันดับหนึ่งคือ “ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” 52% (1,362,976 Mentions) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. กับเสียงจากโลกโซเชียลเปรียบเทียบการกล่าวถึงผู้สมัครรับการเลือกตั้งแล้ว พบว่า ผลคะแนนเลือกตั้ง ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ มีคะแนนถึง 54% (1,386,215 Mentions) ซึ่งผลใกล้เคียงกันถึง 2%
ในขณะที่ ผลสำรวจ Social Listening พบ 10 ปัญหาที่คนกรุงอยากได้ ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่มาแก้ไขก็สอดคล้องกับ นโยบาย 214ข้อ ของนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ที่ได้วางไว้ โดยเฉพาะ “ปัญหาถนนและทางเท้าชำรุด” ที่ชาวโซเชียลระบุต้องการให้แก้ไขด่วน!! ซึ่งผลสำรวจออกมาติดอันดับ 1 จำนวน 97,875 ข้อความ (เฉลี่ย 52.80%)
หากวิเคราะห์เชิงลึกจะพบว่า ผลสำรวจจากโลกโซเชียลสอดคล้องกับคะแนนเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 65 เนื่องจากก่อนที่จะมีการเลือกตั้ง เสียงจากประชาชนในสื่อออนไลน์ต่างๆ ต้องการให้ นายชัชชาติ เข้ามาบริหารงานในตำแหน่ง ผู้ว่าฯ กทม. ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น ป้ายหาเสียงที่มีขนาดเล็ก ไม่กีดขวางทางเท้า สามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้วยการทำกระเป๋า คำนึงถึงการรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรมซึ่งเป็นประเด็นที่สังคมเห็นคุณค่า และต้องการสนับสนุน
มีแนวคิดที่ตรงใจกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีการประชาสัมพันธ์ และหาเสียงผ่านช่องทางออนไลน์อย่าสร้างสรรค์ โดยใช้สื่อที่ดึงดูดความสนใจของกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้ เป็นต้น
นางพงษ์ทิพย์ กล่าวว่า การใช้ Big Data จากโลกออนไลน์ด้วยการทำ social listening เพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลซึ่งสะท้อนสภาพความเป็นจริงของทิศทางสังคมต่อประเด็นต่างๆ ทำให้สามารถบริหารจัดการสถานการณ์ และชื่อเสียงของ objective นั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำ Social Listening ไม่ได้จำเพาะอยู่กับเรื่องของแบรนด์ หรือการตลาดของสินค้าและบริการ แต่ยังใช้ได้กับทุกเรื่องที่เป็นเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคม
“ทุกวันนี้ผู้คนจะใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์เกือบ 24 ชั่วโมง ชุดความคิดที่ว่า ความคิดเห็นในโซเชียลมีเดียเป็นกระแสเป็นเรื่อง อารมณ์ เชื่อถืออะไรได้ยาก เป็นชุดความคิดที่ล้าสมัยไปแล้ว ยุคนี้จึงสามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวช่วยจับกระแสสะท้อนความคิดความเห็นของคนในสังคมที่มีต่อเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องตั้งคำถามทำโพลสำรวจความคิดเห็นในรูปแบบเก่าอีกต่อไป”
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้