ข่าวประชาสัมพันธ์

“ผานกู่” เทคโนโลยี AI แบบใหม่ของหัวเว่ย

21 กรกฎาคม 2566

ผานกู่เทคโนโลยี AI แบบใหม่ของหัวเว่ย

หัวเว่ย  เปิดตัวผานกู่ โมเดล 3.0” (Pangu Model 3.0) และบริการคลาวด์ ภายใต้ชื่อแอสเซนด์AI” (Ascend AI)

นายฉาง ผิงอัน กรรมการบริหารของหัวเว่ย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารของหัวเว่ย คลาวด์ ได้เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI รูปแบบใหม่  ในระหว่างการขึ้นกล่าวภายในงานสัมนา Huawei’s Developer Conference ตอกย้ำความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการมอบความสามารถทางเทคโนโลยีให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรม และพันธมิตรต่าง   รวมทั้งเดินหน้าปลดล็อคศักยภาพของ AI  

ผานกู่ โมเดล 3.0 เป็นระบบที่ได้ผ่านการเรียนรู้เบื้องต้น   มีความสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับความต้องการในรูปแบบเฉพาะและซับซ้อนของแต่ละภาคอุตสาหกรรม  ใช้ประโยชน์จากการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากและใช้อัลกอริทึมการเรียนรู้ของเครื่อง ( machine learning algorithms)  เพื่อพลิกโฉมการใช้งาน AI ในหลากหลายอุตสาหกรรม  

  ผานกู่ โมเดล 3.0   สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ ได้อย่างรวดเร็วด้วยการฝึกอบรมเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เช่น การพยากรณ์อากาศ การพัฒนาสูตรยา รวมไปถึงการรองรับการใช้งานในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่มีความเฉพาะทาง   การตรวจจับข้อมูลทางการเงิน การตรวจสอบไฟล์ข้อมูล หรือการพยากรณ์คลื่นลมทางทะเล อนาคตของปัญญาประดิษฐ์นั้นขึ้นอยู่กับการแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน และการจัดการงานเฉพาะทางต่าง ด้วยความแม่นยำในสเกลขนาดใหญ่

  ผานกู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหัวเว่ย คลาวด์ นั้น จะเข้ามาช่วยให้ผู้ใช้งานในหลายอุตสาหกรรม ให้พวกเขาได้มีผู้ช่วยอัจฉริยะ เพื่อให้พวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเรายังคงยึดมั่นในพันธกิจที่ต้องการจะมอบ “AI เพื่อผู้ใช้งานในทุกภาคอุตสาหกรรมและเราจะส่งมอบ ผานกู่ เพื่อให้ AI ช่วยพลิกโฉมหน้าธุรกิจต่าง ในทุกภาคส่วน” นายฉาง กล่าว

 

วารสาร Nature ซึ่งเป็นวารสารทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับจากผู้อ่านทั่วโลก ได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่เผยให้เห็นถึงบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ที่จะมีมากขึ้นในการพยากรณ์อากาศ โดยเห็นได้จากการที่ ทีมนักพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศของผานกู่  สามารถพัฒนาระบบพยากรณ์อากาศทั่วโลกโดยใช้ AI ได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเป็นการใช้เพียงคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะธรรมดาคำนวณข้อมูลสถิติที่มีการเก็บไว้ถึง 43 ปี

ระบบดังกล่าวสามารถคาดการณ์สภาวะอากาศล่วงหน้าได้โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วินาที โดยให้ผลที่มีความแม่นยำมากกว่าการคำนวณในรูปแบบเดิม มากกว่าถึงร้อยละ 20 ในระยะเวลาที่เร็วกว่าถึง10,000 เท่า

การคำนวณนี้มีการใช้ปัจจัยที่หลากหลายในช่วงเวลาที่แตกต่างกันไปเพื่อการพยากรณ์สภาพอากาศที่แม่นยำ รวมถึงสามารถบอกได้ถึงระดับความชื้น ความเร็วลม อุณหภูมิ และระดับน้ำทะเลได้ระบบพยากรณ์อากาศดังกล่าวจะสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างมหาศาลในหลายภูมิภาคและหลายประเทศทั่วโลกที่มักได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความแปรปรวนของสภาพอากาศ เช่น ช่วยประเทศไทยพยากรณ์วิกฤติการทางสภาพอากาศและช่วยลดผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว

โดยระบบนี้ได้ช่วยพยากรณ์การเกิดไต้ฝุ่นมาวาร์ ได้อย่างแม่นยำเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแสดงให้เห็นถึงความสามารถอันยอดเยี่ยมและประโยชน์ของการนำไปใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์ 

  ดร. เทียน ฉี หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ ภาคส่วน AI ของหัวเว่ย คลาวด์ ในฐานะสมาชิกของสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์นานาชาติ (IEEE Fellow) รวมถึงนักวิชาการจากสถาบันวิทยาศาสตร์นานาชาติแห่งยูเรเซีย (Academician of the International Eurasian Academy of Sciences)  กล่าวว่า  การพยากรณ์อากาศ เป็นหนึ่งในรูปแบบการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญที่สุด เพราะการคาดการณ์สภาพอากาศเป็นเรื่องซับซ้อน และการนำปัจจัยการคำนวณทางด้านคณิตศาสตร์และทางด้านกายภาพมารวมกันนั้นเป็นเรื่องยาก แต่ AI สามารถทำการประมวลผลข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางชั้นบรรยากาศที่มีการจัดเก็บเอาไว้จำนวนมหาศาลได้ ปัจจุบันนี้ระบบพยากรณ์อากาศของผานกู่ มีหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รวมทั้งเรายังใช้ความสามารถของระบบในการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศด้วย โดยเป้าหมายของเราคือ การสร้างระบบพยากรณ์อากาศรุ่นถัดไปที่มีการนำ AI เข้ามาเสริมความแม่นยำของข้อมูล

  อุตสาหกรรมการเดินรถระบบราง ก็ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าของ AI จากหัวเว่ย รวมถึงการนำเทคโนโลยี ผานกู่ โมเดล 3.0 มาใช้เป็นอย่างมาก เพราะนับตั้งแต่มีการนำระบบการเดินรถระบบรางของผานกู่ (Pangu Railway Model) มาใช้งาน ทั้งระดับความปลอดภัยและประสิทธิภาพการเดินรถไฟบรรทุกสินค้าก็เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

โดยก่อนหน้านี้ ระบบการตรวจจับความผิดปกติโดยการใช้ระบบตรวจจับแบบเดิม หรือ Train Freight Detection Systems (TFDS) นั้นต้องใช้แรงงานคน ซึ่งขาดประสิทธิภาพ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายสูงด้วย เมื่อนำระบบการเดินรถระบบรางของผานกู่มาใช้งาน ขั้นตอนการตรวจจับก็ได้รับการยกระดับใหม่โดยสามารถตรวจจับความผิดปกติได้อย่างแม่นยำ ซึ่งแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ถึง 442 ประเภท โดยสามารถตรวจจับความผิดปกติที่ร้ายแรงได้มากกว่าร้อยละ 99.99 และตรวจจับความปกติในระดับทั่วไปได้มากกว่าร้อยละ 98 

  นอกจากนี้ ผานกู่ โมเดล 3.0 ยังสามารถนำมาใช้เพื่อกำกับขั้นตอนการทำงานและความปลอดภัยในอุตสาหกรรมเหมืองอีกด้วย อุตสาหกรรมเหมืองในรูปแบบดั้งเดิมนั้น ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง รวมทั้งต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก และมีความท้าทายทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีและความปลอดภัยอย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเหมืองได้เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน โดยเมื่อมีการนำข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าไปในระบบเพื่อเป็นการเรียนรู้เบื้องต้นแล้ว ผานกู่จะสามารถเรียนรู้สถานการณ์ต่างๆ ของอุตสาหกรรมเหมืองได้กว่า 1,000 สถานการณ์ย่อยด้วยตัวเองโดยไม่ต้องมีผู้ควบคุม ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการขุดเจาะเหมือง ไปจนถึงการควบคุมเครื่องมือ การขนส่ง และการสื่อสาร ประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์เข้ากับการทำงานของทุกภาคส่วนในกระบวนการทำเหมืองถ่านหิน 

 

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

ทีม iJournalist

Share
Related