เทคโนโลยี

Whoscall เตือนระวังมิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี AI ปลอมเสียง

16 กันยายน 2566

Whoscall เตือนระวังมิจฉาชีพใช้เทคโนโลยี AI ปลอมเสียง

Whoscall จับมือ GASA  เผยการหลอกลวงทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10.2%  จับตาเทคโนโลยี generative AI ถูกพัฒนาปลอมเสียงหลอกเหยื่อในหลายพื้นที่

Gogolook  ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน Whoscall และผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยี เพื่อความเชื่อมั่น(TrustTech) เตือนภัยมิจฉาชีพในประเทศไทยเริ่มใช้วิธีหลอกลวงใหม่ด้วยเทคโนโลยี AI ปลอมเสียง

คำเตือนดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะที่ Gogolook เข้าร่วมเป็นพันธมิตรองค์กรต่อต้านกลโกงระดับโลกGASA (The Global Anti-Scam Alliance) เพื่อต่อสู้กับภัยการหลอกลวงระหว่างประเทศ เนื่องจากกลโกงใหม่ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี Generative AI ในปัจจุบัน

  ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง  Gogolook หวังว่า ความร่วมมือกับ GASA จะช่วยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการหลอกลวง ในระดับภูมิภาคและวงการต่างๆ อีกทั้งยกระดับการป้องกันการฉ้อโกงระดับโลกและเชื่อมเครือข่ายชุมชนการป้องกัน การฉ้อโกงในภูมิภาคเอเชียและตะวันตกเข้าไว้ด้วยกัน

 การหลอกลวงทั่วโลกทวีความรุนแรงมากขึ้น

จากรายงานการหลอกลวงทั่วโลกปี 2566 ของ GASA พบว่า การฉ้อโกง ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 10.2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว (2566)  เกิดความสูญเสียทางการเงินสูงถึง 55,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่generative AI (เช่น ChatGPT และ DeepFake เป็นต้น)  ถูกพัฒนาอย่างรวดเร็วและถูกนำไปใช้หลอกลวงในหลายพื้นที่

ในอนาคต การหลอกลวงจะพัฒนาต่อไปอย่างรวดเร็ว โดยมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการลดลง เมื่อรวมกับการรั่วไหลของข้อมูล ส่วนบุคคลบ่อยครั้ง ภาครัฐและเอกชนจำเป็นต้องลงทุนและร่วมกันวางกลยุทธ์เพื่อป้องกันภัยจากการฉ้อโกงที่เกิดขึ้น

 

AI ปลอมเสียงลวงเหยื่อในไทยเพิ่มมากขึ้น

จำนวนเคสการหลอกลวงโดยใช้  AI ปลอมเสียง กำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก เนื่องจากมิจฉาชีพเริ่มใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อเลียนแบบเสียงคนคุ้นเคย เพื่อนหรือครอบครัว เพื่อทำให้เหยื่อเชื่อและหลงกลในที่สุด

  มิจฉาชีพใช้เทคโนโลยีโคลนนิ่ง เพื่อวิเคราะห์เสียงที่ถูกบันทึกไว้หรือเสียงที่ได้จากออนไลน์เพื่อสร้างเสียงสังเคราะห์ที่ใกล้เคียง กับเสียงบุคคลเป้าหมาย เมื่อทำสำเร็จก็จะโทรหาเหยื่อเพื่อปลอมเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือคนใกล้ตัว บ่อยครั้งที่ผู้โทรอ้างว่า อยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น เกิดอุบัติเหตุ ต้องการให้โอนเงินช่วยเหลือโดยด่วน หรือมีปัญหาทางกฎหมาย เพื่อบีบคั้นและเร่ง ให้เหยื่อทำบางอย่างโดยไม่ทันตรวจสอบว่าผู้โทรเข้าเป็นคนที่คิดไว้จริงหรือไม่

  สำหรับในประเทศไทย พบว่า เทคโนโลยีปลอมเสียงเพื่อหลอกหลวงเริ่มคืบคลานเข้ามา หลายฝ่ายเริ่มส่งสัญญาณเตือน  เมื่อเร็วๆนี้ แผนกดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES)  ได้เตือนว่าขณะนี้มิจฉาชีพเริ่มใช้ AI เพื่อปลอมเสียง สร้างแชทปลอม และ คลิปปลอม ด้านสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แถลงข่าวเตือนมิจฉาชีพใช้วิธีปลอมเสียงเป็นบุคคลอื่นเพื่อยืมเงิน  ซึ่งเป็นการพัฒนาวิธีการหลอกลวงของคนร้าย

  นางสาวฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บริษัท Gogolook ได้เน้นความสำคัญของการป้องกัน การฉ้อโกงและความมุ่งมั่นในการให้ความปลอดภัยแก่ผู้ใช้บริการ Whoscall ในประเทศไทย  ให้ข้อมูลเสริมว่า   เมื่อเทคโนโลยีการฉ้อโกงพัฒนาต่อเนื่อง ทาง Gogolook มุ่งมั่นที่จะสร้างชุมชน ป้องกันการฉ้อโกงและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้บริการ Whoscall พร้อมกับ การร่วมมือกับ GASA เพื่อเสริมสร้าง การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างภูมิภาคและการร่วมมือทางเทคโนโลยี และสร้างสรรค์โซลูชันส์ป้องกันการฉ้อโกงระดับโลก เพื่อปกป้องผู้ใช้จากอันตรายที่กำลังเพิ่มขึ้นจากการหลอกลวงด้วยเทคโนโลยีเสียงหรือการหลอกลวง โดยใช้ Generative AI”

วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพ

Gogolook แนะนำว่า

แม้ว่าจะรู้สึกคุ้นเคยกับเสียงที่โทรเข้ามาก็ตาม สิ่งสำคัญคืออย่ารีบทำตามสิ่งที่ปลายสายเร่งให้ทำควรเช็ค ตัวตนที่แท้จริงของผู้โทร ให้แน่ใจก่อนที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวหรือดำเนินการใดๆ

การที่จะช่วยยืนยันตัวตนของผู้โทรคือ ติดต่อกลับโดยใช้หมายเลขโทรศัพท์ที่เราเคยบันทึกไว้ โทรหาคนใกล้ ตัวเขาเพื่อเช็ค

ไม่ควรเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนหรือข้อมูลทางการเงินจนกว่าจะระบุตัวตนของผู้โทรที่แท้จริงนอกจากนี้ การดาวน์โหลดแอป Whoscall เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือเพื่อช่วยระบุหมายเลขโทรเข้าได้

ควรระมัดระวังหากมีการขอให้โอนเงินหรือขอความช่วยเหลือเร่งด่วน โดยเฉพาะหากเป็นวิธีชำระเงินที่ผิดปกติ ไม่โอนเงินไปหาบุคคลที่กล่าวถึงโดยตรง หรือ ผู้โทรพยายามกดดันให้ดำเนินการทันที

  Gogolook และ GASA จะจัดการประชุม Global Anti Scam Summit ครั้งแรกในเอเชีย ที่จะจัดขึ้นในประเทศไต้หวัน ในช่วงครึ่งหลังของปีนี้  เพื่อเป้าหมายที่จะสร้างระบบป้องกันการฉ้อโกงระดับโลกโดยจะเชิญรัฐบาลและหน่วยงานกำกับดูแล ในเอเชีย หน่วยงานต่อต้านการฉ้อโกงและเทคโนโลยี AI และสมาชิกในวงการรักษาความปลอดภัยข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยน ความรู้ด้านการหลอกลวงล่าสุด และหารือเกี่ยวกับมาตรการตอบโต้เทคนิคกลโกงที่เกิดขึ้นใหม่จากการใช้ generative AI การหลอกลวงแบบฟิชชิง ข้อความหลอกลวง

 เกี่ยวกับ Gogolook

Gogolook เป็นบริษัทผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีเพื่อความเชื่อมั่น (TrustTech) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี2555 โดยมีพันธกิจหลักคือสร้างความเชื่อมั่น “Build for Trust” เพื่อสร้างเครือข่ายต่อต้านโกงระดับโลกที่ขับเคลื่อนโดย AI และข้อมูล รวมถึงบริการการจัดการความเสี่ยง (Risk Management as a Service) ตั้งแต่การสื่อสารหลายช่องทางไปจนถึง fintech, SaaS และ Web3 Gogolook สร้างอำนาจที่น่าเชื่อถือด้วยการใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆ ในฐานะสมาชิกผู้ก่อตั้ง Global Anti-Scam Alliance GASA Gogolook ได้ร่วมมือกับสถาบันต่างๆ มากมาย เช่น สำนักงานสืบสวนคดีอาญาของสำนักงานตำรวจ แห่งชาติไต้หวัน สำนักงานกำกับดูแลทางการเงินเกาหลีใต้ หน่วยเฉพาะกิจตำรวจไซเบอร์ประเทศไทย รัฐบาลเมืองฟุกุโอกะ สำนักงานตำรวจแห่งชาติมาเลเซียและหน่วยงานภาครัฐ เพื่อต่อสู้กับการหลอกลวง และท้ายที่สุดคือการสร้างเครือข่าย การสื่อสารที่น่าเชื่อถือ ซึ่งมีฐานข้อมูลจำนวนมากที่สุดในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ https://gogolook.com/en

 เกี่ยวกับ GASA

พันธกิจของ Global Anti Scam Alliance (GASA) คือการปกป้องผู้บริโภคทั่วโลกจากการหลอกลวงโดยสร้างความตระหนัก ในการใช้เครื่องมือ อำนวยความสะดวกในการแบ่งปันความรู้ จัดระเบียบการวิจัย ตลอดจนเสนอการฝึกอบรมและการศึกษา   https://www.gasa.org/

ผู้เขียน
ทีม iJournalist

Share
Related