เทคโนโลยี

แกร็บฟู้ดยกระดับขอเป็น“ผู้ส่งมอบความอร่อยครบวงจร”

7 ตุลาคม 2566

แกร็บฟู้ดยกระดับขอเป็น“ผู้ส่งมอบความอร่อยครบวงจร

  แกร็บฟู้ด พัฒนานวัตกรรมยกระดับ จาก “แพลตฟอร์มสั่งอาหาร” เป็น “ผู้ส่งมอบประสบการณ์ความอร่อยครบวงจร” เน้นเวลา ความสะดวก ราคา และสิ่งแวดล้อม 

ช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้ธุรกิจดิลิเวอรี่ทุกรายเติบโตแบบก้าวกระโดดมาก หลังจากสถานการณ์คลี่คลายทุกอย่างก็เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ   หลายคนที่ไม่เคยสั่งอาหาร ไม่เคยเรียกรถผ่านแอป ก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน

มีโอกาสไปพูดคุยกับ คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย  ซึ่งเล่าให้ฟังว่า   ตลาดฟู้ดเดลิเวอรีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาท  ช่วงโควิดเติบโตหลายเท่า หลังโควิดปรับตัวลดลง  แต่แกร็บยังเติบโตทรงตัวในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงทรงตัวจากการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังสถานการณ์โควิด อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ยังคงเห็นการแข่งขันที่เข้มข้นของผู้เล่นรายต่างๆ ที่พยายามปรับกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์หลักของแกร็บฟู้ด ปี 2566

ยังคงเน้น 3 กลยุทธ์หลัก คือ

  การนำเสนอบริการที่มีคุณภาพและความหลากหลาย (Quality & Wide Selection)  ต้องรวมร้านอร่อย ร้านดังไว้ให้มากที่สุด

การสร้างฐานสมาชิกและความภักดีของผู้ใช้บริการ (Loyalty)  ที่ผ่านมาภาพจำของผู้บริโภคคือ โปรโมชั่น จึงพยายามปรับเปลี่ยน ใช้ระบบสมาชิกมีส่วนลด

การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งอาหารและสินค้า (Efficiency)   

ทั้วงหมดนี้ สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจในระยะยาวภายใต้แนวคิด Building Sustainable Growth through Innovation

นวัตกรรม 4S 

เวลาจะกินให้นึกถึงแกร็บ

แกร็บฟู้ด  ใช้จุดแข็งในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี  พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้สอดคล้องกับอินไซต์และพฤติกรรมของผู้บริโภค   แก้ไขข้อจำกัดนำไปสู่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการใน 4 มิติหลัก คือ ด้านเวลา ความสะดวก ราคา และสิ่งแวดล้อม

ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่อยู่ระหว่างการทดลองใช้ในแอปแกร็บ  ดังนี้

 S1: SAVE TIME (ประหยัดเวลา)

แกร็บพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการลดเวลาในการรอ ดังนี้

รับเองที่ร้าน (Self-pick up)

ให้สั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่าน แอปพลิเคชัน Grab เพื่อไปรับเองที่หน้าร้านโดยไม่ต้องต่อคิว  ช่วงทดลองตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า   53% ของผู้ที่ใช้ฟีเจอร์นี้ ไม่ต้องการเสียเวลาต่อคิวเพื่อรอที่หน้าร้าน   ได้รับความนิยมจากกลุ่มพนักงานออฟฟิศ

โดย 5 สถานที่ ซึ่งมีผู้ใช้ฟีเจอร์นี้มากที่สุด คือ สามย่านมิตรทาวน์  อาคารเดอะปาร์ค ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และสีลมเอจ   

จากการทำวิจัยพบว่า ลูกค้าไม่อยากต่อคิวในร้าน เครื่องดื่ม   พบว่าร้านอะเมซอน และสตาร์บั๊ก  ได้ผลตอบรับที่ดี ทั้งในเชิงธุรกิจและด้านอื่น  ทั้งสองร้านมียอดขายเพิ่มขึ้น 22%  หลังจากใช้ฟีเจอร์นี้  ช่วยลดเวลาต่อคิวได้เกือบ 8 แสนนาที   ลดขยะพลาสติกถึง 1.7 แสนชิ้น

สั่งอาหารล่วงหน้า (Order for later)

ให้สั่งอาหารได้ล่วงหน้าได้ถึง 7 วัน ระบุวันและเวลาที่ต้องการรับอาหารตามความสะดวก  จากที่เริ่มทดลองบริการนี้   มีผลตอบรับที่ดี  ร้านสามารถเตรียมตัว และจัดคิวได้ดีขึ้น  เมื่อกดสั่งล่วงหน้าจะระบุวันเวลารับ   สั่งข้ามวันได้ โดยเฉพาะใน ร้านดังๆ  ที่มีคิวยาว

 S2: SAVE EFFORTS (สะดวกสบาย)

สั่งอาหารแบบกลุ่ม (Group Order)

สั่งอาหารจากร้านเดียวกันรวมกันได้ผ่านออเดอร์เดียว ซึ่งได้รับความนิยมจากกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ชอบสั่งอาหารมารับประทานร่วมกัน   คนแรกสั่งส่งลิงค์เชิญเพื่อน ได้ 10 คน  หารค่าส่ง ทำให้ค่าส่งถูกลง

ทานที่ร้าน (Dine-In)

บริการใหม่ล่าสุดจากแกร็บที่ริเริ่มมาเพื่อรองรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน  ครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเช็ครีวิวร้านอาหาร  ซื้อดีลส่วนลดสูงสุดถึง 40%   ในรูปแบบ E-Voucher เรียกรถ   ฟีเจอร์นี้ร้านอาหารสามารถนำมาใช้เป็นต่อยอดเป็นเครื่องมือการตลาดได้

S3: SAVE COST (ประหยัดเงิน)

นอกจากการทำระบบแพ็คเกจสมาชิก “GrabUnlimited” เพื่อสร้าง Loyalty ผ่านการมอบส่วนลด แกร็บพยายามพัฒนาบริการให้มีทางเลือกที่หลากหลายในด้านราคาค่าบริการ ซึ่งผู้ใช้ให้ความสำคัญมาก จึงเพิ่มดีลลดฟ้าผ่า (Flash Sale) จากร้านอาหาร ช่วยให้ร้านเล็กๆ ขึ้นมาอยู่บนเมนู flash sale

ส่งแบบประหยัด (Saver Delivery): ฟีเจอร์ที่เหมาะกับผู้ใช้บริการสั่งอาหารที่ไม่เร่งด่วนและต้องการประหยัดค่าส่ง โดยจะช่วยลดค่าส่งสูงสุด 50% เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบมาตรฐาน   เริ่มใน 16 เมือง ค่าส่งถูกกว่าปกติ   แต่เวลาได้รับอาหารจะนานขึ้น

  S4: SAVE THE ENVIRONMENT (รักษ์โลก)

งดรับช้อน-ส้อมพลาสติก (Plastic Cutlery Opt-Out): ฟีเจอร์ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการลดปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งผ่านการเลือกไม่รับช้อนส้อมพลาสติก ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถลดปริมาณขยะพลาสติกไปแล้วกว่า 8,100 ตันจากการงดแจกช้อนส้อมพลาสติกรวมกว่า 898 ล้านชุดในทุกประเทศที่แกร็บให้บริการ

ชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset): ฟีเจอร์ที่ชวนให้ผู้ใช้บริการร่วมบริจาคเงิน 1 บาท

ในทุกออเดอร์เพื่อสมทบทุนในการปลูกต้นไม้ ซึ่งจะช่วยชดเชยปริมาณคาร์บอนจากการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์

ที่ผ่านมาแกร็บได้สนับสนุนการปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 2 แสนต้นทั่วภูมิภาค   เช่น ในจังหวัด กระบี่ และแม่ฮ่องสอน  ช่วยให้ชาวบ้านที่ดูแลต้นไม้ มีรายได้

 

ฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้ บางอันอาจจะอยู่ในช่วงทดลองใช้ แต่ผู้บริหารแกร็บประเทศไทยบอกว่า  จะใช้งานจริงทุกอัน โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งโดยส่วนตัวให้ความสำคัญมาก ฟีเจอร์รับเองที่ร้าน (Self-pick up) ทำให้เห็นได้ชัดว่า ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้มาก จากเดิมที่ร้านกาแฟต้องแยกน้ำแข็ง แยกน้ำ เพื่อให้ไรเดอร์นำไปส่งถึงมือลูกค้า   แต่ฟีเจอร์นี้ก็แค่ชงใส่แก้วตามปกติ ถึงเวลาลูกค้าสก็มาจะมารับเอง ไม่เสียเวลาต่อคิวรอหน้าร้าน   จึงได้รับความนิยมมากจากกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ลดขยะพลาสติกได้ถึง 1.7 แสนชิ้น

โดยส่วนตัวมองว่า จะดียิ่งขึ้นถ้าแกร็บ ออกแบบอินเตอร์เฟซการใช้งานแบบดูสะอาดตา แบบน้อยแต่มาก ไม่ซับซ้อน   เพื่อให้คนทุกวัย เข้าถึงได้ง่ายๆ ก็จะช่วยเสริมจุดเด่นเป็นเสน่ห์ของแกร็บได้อีกทาง

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

Share
Related
More read

Tags

  • Grabfood
  • คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย
  • ฟีเจอร์ใหม่แกร็บฟู้ด
  • แกร็บฟู้ด