เปิดข้อมูลผู้บริโภคบน TikTok ชอบวีดีโอคอนเทนต์ไม่เน้นขาย
TikTok และ Accenture เปิดเผยข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน ‘Shoppertainment 2024: THE FUTURE OF CONSUMER & COMMERCE’ สำรวจการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พฤติกรรมการชอปปิงของผู้บริโภคที่มีการพัฒนาเนื่องจากอิทธิพลของคอนเทนต์
ผู้บริโภคยุค Shoppertainment
รายงานชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในตลาดประเทศไทย มีความสนใจต่อคอนเทนต์ส่งเสริมการขายแบบดั้งเดิมลดลง มีความชื่นชอบคอนเทนต์ที่ไม่เน้นการขายมากถึง 79%
ผู้บริโภคในประเทศไทยให้ความสำคัญกับการมีความสัมพันธ์และประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์
คาถาหลักก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์
เกี่ยวข้องกับความน่าเชื่อถือและอารมณ์ ประกอบด้วย
การตรวจสอบ (Validation)
การปรับปรุง (Improvement)
ความสะดวกสบาย (Convenience)
การได้รับคำแนะนำ (Recommendation)
การได้แรงบันดาลใจ (Inspiration)
การทำตามใจตนเอง (Indulgence)
โอกาสในการปรับตัวของแบรนด์รับเทรนด์ Shoppertainment
ประเทศไทยถูกจัดให้เป็นตลาดที่มีศักยภาพการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง มีโอกาสสร้างรายได้ถึง 12.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ จากมูลค่าตลาดรวมของ Shoppertainment ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2568 ผู้บริโภคจำนวนมากพร้อมมีส่วนร่วมกับการชอปปิงผ่านคอนเทนต์ที่มีความบันเทิงและความรู้ ตามความสนใจ พบว่า ชาวไทยชื่นชอบความบันเทิงและอารมณ์ขัน ทำให้เป็นตลาดสำคัญในการเติบโต
ส่วนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2568 Shoppertainment จะครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในตลาดอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเทรนด์ Shoppertainment จะผนึกความบันเทิงเข้ากับการชอปปิงออนไลน์ โดยตลาดหลัก เช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ยังคงเติบโตต่อเนื่อง
สินค้ายอดนิยม
สินค้ายอดนิยมในตลาด Shoppertainment ได้แก่ แฟชั่นและเครื่องประดับ ความงามและผลิตภัณฑ์ส่วนตัว อาหารและเครื่องดื่ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และของใช้ในครัวเรือน โดยคอนเทนต์รูปแบบวิดีโอมีอิทธิพลอย่างมากต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในกลุ่มนี้
เข้าสู่ยุคทองของคอนเทนต์
Shoppertainment เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงวิธีการนำเสนอเนื้อหาให้ผู้บริโภค ซึ่งแบ่งเป็น 4 ระยะ เริ่มจาก
เนื้อหาที่เผยแพร่และสื่อสารทางเดียว เช่น สื่อสิ่งพิมพ์
สู่ยุคของการสืบค้นข้อมูลด้วย Search engines
ต่อด้วยโซเชียลเน็ตเวิร์ค
จนกระทั่งมาสู่จุดสูงสุดใน “ยุคทองของคอนเทนต์” ในปัจจุบัน ซึ่งเปิดโอกาสให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแนะนำผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการนำเสนอเนื้อหา ปรับปรุงให้เข้ากับความชอบส่วนบุคคล Shoppertainment จึงเป็นการผสมผสานการชอปปิงเข้ากับคอนเทนต์ความบันเทิง
ความสำเร็จดังกล่าวถูกบันทึกผ่านการใช้แฮชแท็กระดับโลกอย่าง #TikTokMadeMeBuyIt ที่มียอดผู้เข้าชมมากกว่า 7 หมื่นล้านครั้ง และแฮชแท็กภายในประเทศอย่าง #TikTokป้ายยา ที่มียอดเข้าชมสูงถึง 6 พันล้านครั้ง
อิทธิพลของคอนเทนต์ทำให้การชอปปิงเปลี่ยนแปลง
การเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมผู้บริโภคครั้งใหญ่ มี 3 ด้าน ดังนี้
การพิจารณา (Consider) ผู้ซื้อมีแนวโน้มพิจารณาซื้อสินค้าและบริการโดยใช้สัญชาตญาณของตน (Intuitive Decisions) ชมคอนเทนต์เพื่อยืนยันแนวคิด มากกว่าการตัดสินใจซื้ออย่างเร่งด่วน ดังนั้นการมีคอนเทนต์ช่วยประกอบการตัดสินใจภายในแพลตฟอร์มชอปปิง จะทำให้ผู้ซื้อเห็นคุณค่าของสินค้าและไม่ต้องสืบค้นเพิ่มเติมจากช่องทางอื่น
การบริโภค (Consume) ผู้ซื้อต้องการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า พิจารณา และตัดสินใจซื้อภายในแพลตฟอร์มเดียว
การเชื่อมต่อ (Connect) ผลสำรวจพบว่า กว่า 60% ของผู้บริโภคได้รับอิทธิพลทางความคิดจากการได้มีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับคอนเทนต์คอมมูนิตี้
ชลธิชา งามกมลเลิศ – Head of Client Partnership, TikTok ให้ข้อมูลว่า ประเทศไทยมีศักยภาพสูงมาก เพราะคนไทยเปิดรับเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ๆ รวดเร็ว มีระบบเศรษฐกิจแบบครบวงจร รวมทั้งการขนส่งสินค้า มีอินฟลูเอนเซอร์ และครีเอเตอร์ รวมทั้งแบรนด์และนักการตลาด มีความสามารถในการปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงได้ทันที
“เทรนด์ Shoppertainment กำลังเติบโตในตลาดเอเชียแปซิฟิกอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในประเทศไทย เป็นโอกาสสำคัญที่แบรนด์จะต่อยอดนำข้อมูลจากกงานวิจัยไปใช้บูรณาการกลยุทธ์ทางธุรกิจให้เกิดผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังได้ก้าวตามทันเทรนด์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องและร่วมเป็นส่วนหนึ่งของผู้กำหนดนิยามแห่งอนาคต” สุนาถ ธนสารอักษร – Managing Director at Accenture Song, ประเทศไทย ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
ดาวน์โหลดรายงานการวิจัยเพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tiktokshoppertainment.com/
บรรณาธิการเทคโนโลยี
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้