AIS เปิดผลสำรวจดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทยพบส่วนใหญ่เก่งระดับเบสิก
Thailand Cyber Wellness Index 2024 By AIS ปี 2024 พบว่า คนไทยทักษะดิจิทัลระดับเบสิก ขาดทักษะความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
“ผลดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย Thailand Cyber Wellness Index 2024 By AIS ” ปี 2 ซึ่งอยู่ภายใต้ โครงการ AIS อุ่นใจ CYBER เพื่อนำผลวิจัยไปต่อยอดเพื่อสร้างความรู้ พัฒนาทักษะดิจิทัลให้กับคนไทยให้ตรงกลุ่มเป้าหมายและสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
คนไทยมีทักษะดิจิทัลระดับเบสิก
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าหน่วยธุรกิจประชาสัมพันธ์และงานธุรกิจสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า ปีที่แล้ว AIS ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้เปิดตัวดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index by AIS ฉบับแรกของไทย ทำให้เห็นถึงระดับทักษะการรับรู้และความเข้าใจการใช้งานดิจิทัลในด้านต่างๆ ที่คนไทยยังคงต้องพัฒนาทักษะความรู้เพื่อรับมือกับภัยไซเบอร์ในรูปแบบต่างๆ ทำให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหยิบเอาดัชนีชี้วัดดังกล่าว ไปต่อยอดสร้างทักษะดิจิทัลให้ตรงกลุ่มอายุ อาชีพ พื้นที่ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายของแต่ละหน่วยงาน
สำหรับดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย หรือ Thailand Cyber Wellness Index by AIS ปี 2024 ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคนไทย 50,956 ตัวอย่าง ใน 77 จังหวัด ทั่วประเทศทุกช่วงวัย เก็บข้อมูล 7 ด้าน ดังนี้ ด้านการใช้ดิจิทัล ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กลั่นแกล้งทางไซเบอร์ การรู้เท่าทันดิจิทัล ความเข้าใจสิทธิดิจิทัล การสื่อสารและการทำงานร่วมกันบนดิจิทัลและการแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล
แล้วนำข้อมูลมาวัดผลใน 3 มิติ ในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ
พบว่า ระดับดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับเบสิก หรือระดับพื้นฐาน
วัยเกษียณคือกลุ่มเสี่ยง
ส่วนกลุ่มเสี่ยงคือ เด็กอายุ ระหว่าง 10-12 ปี เยาวชน 13-15 ปี และกลุ่มวัยเกษียณ อายุ 60 ปีขึ้นไป คนไทยมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และ ไซเบอร์บูลลี่
ดังนั้น เอไอเอส จะยกระดับการสร้างทักษะสร้างความปลอดภัยไซเบอร์ให้คนไทย เพิ่มทักษะ สร้างวัคซีนให้ผู้คน ให้เป็นวาระแห่งชาติ เพราะต้องการขับเคลื่อนเครื่องมือนี้ให้ลงสู่ประชาชนมากขึ้น
“แม้คนไทยจะมีการพัฒนาความเข้าใจในการใช้งานบนโลกดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นจนผลในภาพรวมอยู่ในระดับพื้นฐานแต่ยังมีจุดที่น่ากังวล เพราะคนไทยเกินครึ่งยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) โดยเฉพาะในประเด็นที่มีความเสี่ยงต่อภัยที่อาจนำมาซึ่งความเสียหายต่อการใช้งานของตนเองและองค์กร อาทิ การไม่มีความรู้ความเข้าใจการถูกโจมตีด้วยแรนซัมแวร์, การใช้ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมทางการเงิน, การใช้ วันเดือนปีเกิด มาตั้งเป็นรหัสผ่านซึ่งง่ายต่อการคาดเดา แม้แต่การไม่ทราบว่าการเข้าเว็บไซต์ที่ปลอดภัยลิงค์ URL ควรจะเป็น HTTPS ”
“Digital Health Check”
เอไอเอส ได้เปิดให้ใช้เครื่องมือ “Digital Health Check” เพื่อให้คนไทยสามารถวิเคราะห์และประเมินทักษะด้านดิจิทัลของตนเอง พร้อมทั้งแนะนำช่องทางการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเสริมสร้างทักษะและองค์ความรู้ในการป้องกันภัยไซเบอร์ให้แก่ลูกค้าและคนไทย”เช็กสุขภาวะทางดิจิทัลของตัวเอง ได้ที่ https://digitalhealthcheck.ais.th
AIS Secure Net ใช้ฟรี 12 เดือน
AIS Secure Net ให้ลูกค้าบุคคลใช้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย นาน 12 เดือน กด *689*6# ส่วนผู้ที่ต้องการความคุ้มครองประกันภัยไซเบอร์ สามารถเลือกใช้บริการ Secure Net+ Protected by MSIG เดือนละ 39 บาท มีจุดเด่นปกป้องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทั้งไวรัส มัลแวร์ เว็บไซต์ปลอมหลอกลวง ประกันภัยเพอร์ซัลนัลไซเบอร์ จาก MSIG มอบความคุ้มครอง อาทิ การโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคล และโจรกรรมเงิน หรือการถูกหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ ทางออนไลน์ วงเงินคุ้มครองสูงสุด 50,000 บาท สมัครกด *689*10# โทรออก
ที่ผ่านมา บริการ AIS Secure Net แน่นเรื่องฐานข้อมูลไวรัส มัลแวร์จากทั่วโลก แต่ยังไม่มีข้อมูลหลอกลวงในไทย ปีนี้จึงได้เติมลิงค์ข้อมูลเว็บลิงค์มิจฉาชีพ บล็อกได้ทั้งเว็บอันตรายและเว็บมิจฉาชีพ ซึ่งเป็นข้อมูลจากที่ได้รับแจ้งมาในประเทศไทย
5 อันดับคดีออนไลน์
ข้อมูลจากศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระบุว่า ระหว่างเดือนมีนาคม- กรกฎาคม 2567 คดีออนไลน์ที่รับแจ้งความสูงสุดคือ หลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ หลอกให้โอนเงินเพื่อทำงาน หลอกให้กู้เงิน หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ และข่มขู่ทางโทรศัพท์
มีคดีออนไลน์กิดขึ้นทุกวัน ความเสียหายเฉลี่ยวันละ 78 ล้านบาท
ไม่เชื่อ ไม่รีบ ขอเบอร์โทรกลับแล้ววางสาย
คาถาป้องกันแก๊งคอลล์เซ็นเตอร์ ที่ทางตำรวจ แนะนำก็คือ “ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ขอเบอร์โทรกลับแล้วรีบวางสาย” เพราะเบอร์ของมิจฉาชีพส่วนใหญ่ที่โทรหาเราจะใช้โทรออกได้เท่านั้น เมื่อโทรกลับจะติดต่อไม่ได้
ต้องรู้เท่าทัน และมีสติตลอดเวลา เพื่อจะได้ใช้ชีวิตในโลกออนไลน์ได้อย่างปลอดภัย
อ่านรายละเอียดผลการศึกษาดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index 2024 ของคนไทย เพิ่มเติมที่ https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/thailands-cyber-wellness-index
บรรณาธิการเทคโนโลยี
กรณีตัวอย่างนักวิจัยใช้ Apple Watch ศึกษาองค์ความรู้ใหม่ด้านหัวใจ
ทรูคอร์ปทำได้แล้ว "Cell Broadcast Service" แจ้งเตือนภัยฉุกเฉิน 5 ภาษา
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้