จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บนแอป E-Waste+
AIS ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน มาร่วมพัฒนากระบวนการกำจัดขยะ เป็นรายแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมบริหารและลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นระบบ
เป็นงานแถลงข่าวที่เริ่มตั้งแต่ขอให้นักข่าวและมีเดียที่ไปร่วมงาน นำขวดน้ำส่วนตัวมาเอง ขอให้ใช้บริการรถสาธารณะเดินทางมางาน หากมีขยะอิเล็กทรอนิกส์ก็นำมาทิ้งในงาน และขอให้สวมเสื้อที่ไม่หนาเกินไป เพื่อไม่ให้เครื่องปรับอากาศทำงานหนัก จะได้ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า
AIS เปิดตัวแอป E-Waste+ ระบบจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์บนเทคโนโลยี blockchain ที่ผ่านมา AIS ได้รณรงค์เรื่องการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิดกส์มาตลอด ตั้งแต่การสร้างองค์ความรู้ให้ตระหนักถึงปัญหา สร้างการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วน สร้างกระบวนการจัดเก็บและรีไซเคิลแบบ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ภายใต้ภารกิจ “คนไทยไร้ E-Waste”
ในการแถลงข่าววันนี้ ( 7 ธันวาคม) AIS ได้นำศักยภาพโครงข่ายอัจฉริยะ กับเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มา Redesign Ecosystem พัฒนากระบวนการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ผู้ทิ้งจนถึงโรงงานรีไซเคิล เพื่อให้ทุกคนสามารถจัดการขยะ E-Waste ได้ง่ายขึ้น
จะเริ่มใช้กับ 6 องค์กรที่มาร่วมนำร่อง คือ AIS เดนโซ่ เงินติดล้อ สวนป๋วย ม.ธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธนาคารออมสิน และธนาคารกสิกรไทย เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์แบบยั่งยืน
นางสายชล ทรัพย์มากอุดม หัวหน้าฝ่ายงานประชาสัมพันธ์ AIS กล่าวว่า อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานดิจิทัลมีปริมาณเพิ่มขึ้นมาก AIS จึงทำหน้าที่ 2 ส่วนคือ สร้างการรับรู้และตระหนักถึงโทษภัยของขยะ E-Waste การจัดเก็บและทำลาย E-Waste อย่างถูกวิธี ตั้งจุดรับทิ้งและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล
แอป E-Waste+ จะช่วยให้องค์กรต่างๆ บริหารจัดการ E-Waste ได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเครือข่ายพนักงานและลูกค้า ให้ทุกคนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการนำขยะ E-Waste กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลที่ได้มาตรฐาน
E-Waste+ เทคโนโลยี Blockchain จะทำงานผ่านกระบวนการ Track and Trace ทำให้ขยะ E-waste ทุกชิ้น สามารถตรวจสอบสถานะได้ทั้งกระบวนการ จากนั้นจะคำนวณขยะ E-Waste ที่ได้ออกมาเป็น Carbon Scores เพื่อให้ทราบว่าเราช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปแล้วมากแค่ไหน
งานนี้ไม่ได้สงวนไว้เฉพาะองค์กรที่มาร่วมเป็นพันธมิตร เพราะเปิดกว้างให้องค์กรต่างๆ ที่สนใจใช้งาน แพลตฟอร์ม E-Waste+ สามารถ เข้าร่วมเป็นเครือข่าย Green Partnership ติดต่อได้ที่ e-mail: aissustainability@ais.co.th หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางhttps://ewastethailand.com/ewasteplus
ถ้าจะให้ได้ผล การสร้างจิตสำนึกเรื่องการกำจัดขยะทุกประเภทควรเพิ่มแรงจูงใจทางเศรษฐศาสตร์เข้าไปด้วย เหมือนรถซาเล้งที่เข้ามาตามหมู่บ้าน เอาขยะมาแลกไข่ คัดแยกขยะมาขาย เอาขวดมาคืนได้ส่วนลด หากเป็น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเอามาทิ้งกับจุดรับทิ้ง ก็อาจจะให้เป็นเอไอเอสพอยท์ ธนาคารก็อาจจะให้เป็นส่วนลดดอกเบี้ยเงินกับ SME ก็น่าสนใจนะคะ
Galaxy S24 Ultra พร้อมเข้าที่ 250 จุดถ่ายทอดสดเปิดโอลิมปิก 2024
NT ยืนยันลูกค้าสามารถใช้บริการได้ต่อเนื่องหลังหมดอายุใบอนุญาต
NT ยืนยันลูกค้าสามารถใช้บริการได้ต่อเนื่องหลังหมดอายุใบอนุญาต