เทคโนโลยี

เคล็ดลับดูแลสุขภาพ”หัวใจ” ให้แข็งแรง

14 กุมภาพันธ์ 2567

เคล็ดลับดูแลสุขภาพ”หัวใจ” ให้แข็งแรง

เดือนกุมภาพันธ์ ก็จะอบอวลไปด้วยสีชมพูหวาน สีแดงสดใส  เพราะ เป็นเดือนแห่งความรัก

เมื่อดูแลความรักให้สดชื่นแล้ว ก็ต้องดูแลสุขภาพ “หัวใจ” ให้แข็งแรงกันด้วยนะคะ

เรารู้กันดีอยู่แล้วว่า  การเคลื่อนไหวร่างกายและการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ มีความสำคัญต่อสุขภาพของหัวใจ

ระดับคาร์ดิโอฟิตเนสของแต่ละคนจะวัดจากค่า VO2 max ซึ่งเป็นปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายสามารถใช้ในระหว่างการออกกำลังกาย และสามารถเพิ่มขึ้นได้เมื่อมีการออกแรง

งานวิจัยยังบ่งชี้ด้วยว่า ระดับคาร์ดิโอฟิตเนสเป็นตัวบ่งชี้ถึงความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่สำคัญยิ่งกว่าปัจจัยเสี่ยงทั่วไปอย่างการสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง

ใช้ Apple Watch ดูความฟิต

โดยปกติแล้วการวัดค่านี้สามารถทำได้ในคลินิกเฉพาะทางเท่านั้น  แต่ Apple Watch สามารถประมาณ ระดับคาร์ดิโอฟิตเนส โดยใช้เซ็นเซอร์ และผู้ใช้ยังสามารถดูได้ด้วยว่า ระดับคาร์ดิโอฟิตเนสของตนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ในช่วงสัปดาห์ เดือน หรือปีที่ผ่านมา

และหากระดับความฟิตของผู้ใช้อยู่ต่ำกว่าเกณฑ์  สามารถรับการแจ้งเตือนบน Apple Watch พร้อมด้วยคำแนะนำในการปรับปรุงความฟิตให้ดีขึ้นได้ในอนาคต รวมถึงเรื่องที่ควรพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวด้วย

เปิดงานวิจัยด้านสุขภาพ

Apple Heart and Movement Study  เป็นการศึกษาวิจัยที่สำคัญต่อสาธารณะที่นำโดย Apple และเปิดตัวในปี 2019  มี ข้อค้นพบใหม่ๆ เกี่ยวกับคาร์ดิโอฟิตเนสและการทำกิจกรรมในปีที่ผ่านมา

สิ่งที่นักวิจัยของ Brigham & Women’s Hospital ได้ค้นพบ มีดังนี้

เกี่ยวกับการทำกิจกรรม

เป้าหมายกิจกรรมที่แนะนำ: ผู้เข้าร่วม 54.8% ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 150 นาทีขึ้นไป ต่อสัปดาห์ในการทำกิจกรรมแอโรบิกระดับปานกลาง โดยเปอร์เซ็นต์จะเพิ่มขึ้นตามอายุและสูงกว่าเล็กน้อยสำหรับผู้ชาย

การแบ่งตามรัฐ: แมสซาชูเซตส์ (67.2%) นิวยอร์ก (66%) และคอนเนตทิคัต (64.1%) เป็นรัฐ 3 อันดับแรกที่มีผู้เข้าร่วมออกกำลังกายแบบแอโรบิกตามเกณฑ์เป็นสัดส่วนสูงที่สุด

สบายๆ ในวันหยุด: วันที่ผู้คนแอ็คทีฟน้อยที่สุดในปี 2023 คือวันที่ 25 ธันวาคม และวันที่แอ็คทีฟมากที่สุดคือวันที่ 27 พฤษภาคม

เกี่ยวกับคาร์ดิโอฟิตเนส

เพิ่มอีกหนึ่งในสี่: ผู้เข้าร่วมที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสสูงจะทำกิจกรรมมากกว่าผู้ที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสต่ำประมาณ 15 นาทีโดยเฉลี่ย

เริ่มต้นก่อนได้เปรียบ: ผู้เข้าร่วมที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสสูงจะมีเปอร์เซ็นต์การออกกำลังกายที่สูงกว่าในช่วงเช้า โดยเฉลี่ย 36% สำหรับผู้ที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสสูงและ 28% สำหรับผู้ที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสต่ำ ในทางกลับกัน ผู้เข้าร่วมที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสต่ำจะทำกิจกรรมมากกว่าในช่วงเย็น โดยเฉลี่ย 28.5% สำหรับผู้ที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสสูงและ 36.2% สำหรับผู้ที่มีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสต่ำ

ฟิตขึ้นอีก: ผู้เข้าร่วม 27% เพิ่มระดับคาร์ดิโอฟิตเนสได้มากกว่า 1 มล./กก./นาที และ 33% ยังคงมีระดับคาร์ดิโอฟิตเนสอยู่ที่ 1 มล./กก./นาที

Calum MacRae, M.D., Ph.D., อายุรแพทย์หัวใจ, อาจารย์ประจำคณะแพทยศาสตร์แห่ง Harvard Medical School และผู้วิจัยหลักของ Apple Heart and Movement Study บอกว่า “การทำความเข้าใจ VO2 max ตลอดวงจรชีวิตจะช่วยให้เราถอดรหัสได้ว่า ทำไมความสามารถในการออกกำลังกายของแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกัน และความแตกต่างเหล่านี้เกี่ยวข้องกับสุขภาพและการป้องกันโรคในระยะยาวอย่างไร”

เคล็ดลับดูแลหัวใจ

Apple  Watch มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลางในการดูแลสุขภาพของตนเอง  จึงมาพร้อมคุณสมบัติอันทรงพลังในการแจ้งเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับสภาวะสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น และส่งเสริมให้พวกเขาดำเนินการกับข้อมูลนี้

นี่คือ 5 วิธีหลักๆ ที่ผู้ใช้ Apple Watch  ทำเพื่อดูแลรักษาสุขภาพหัวใจของตนเองอย่างใกล้ชิด

1. ระดับคาร์ดิโอฟิตเนส: คุณสมบัติคาร์ดิโอฟิตเนสจะให้ค่าประมาณ VO2 Max ที่ได้รับการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ (ความสามารถของร่างกายในการใช้ออกซิเจนระหว่างออกกำลังกาย) และ American Heart Association ยังยกให้ค่า VO2 Max เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมที่ทรงพลังอีกด้วย

ผู้ใช้สามารถเลือกรับการแจ้งเตือนได้ หากค่า VO2 Max ของพวกเขาลดมาอยู่ในเกณฑ์ “ต่ำ” ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของสภาวะสุขภาพที่ร้ายแรงในระยะยาว แต่ยังโชคดีที่คุณสามารถปรับปรุงค่านี้ได้โดยการออกกำลังกายให้บ่อยขึ้นหรือเข้มข้นมากขึ้น และสามารถติดตามค่านี้ได้อย่างง่ายดาย

2. การแจ้งเตือนอัตราการเต้นของหัวใจเร็วและช้า: Apple Watch จะตรวจหาอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วหรือช้าผิดปกติอยู่ในเบื้องหลัง ในเวลาที่หยุดพัก ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงภาวะสุขภาพที่ร้ายแรง สิ่งนี้สามารถช่วยให้ผู้ใช้ระบุสถานการณ์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการตรวจร่างกายเพิ่มเติม

หากอัตราการเต้นของหัวใจผู้ใช้สูงกว่า 120 bpm หรือต่ำกว่า 40 bpm ในขณะที่ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายเป็นเวลา 10 นาที ผู้ใช้จะได้รับการแจ้งเตือน ผู้ใช้สามารถปรับเกณฑ์ bpm หรือเปิดปิดการแจ้งเตือนเหล่านี้ได้

3. การแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ: คุณสมบัติแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอบน Apple Watch สามารถตรวจสอบจังหวะการเต้นของหัวใจเป็นระยะๆ เพื่อตรวจหาจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอซึ่งอาจเป็นสัญญาณของภาวะ AFib AFib คือจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ เมื่อห้องชั้นบนของหัวใจเต้นไม่ตรงกับห้องล่าง บุคคลที่มีภาวะ AFib บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ และหากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ภาวะ AFib อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลวหรือลิ่มเลือดที่อาจนำไปสู่โรคหลอดเลือดสมองได้

4. แอป ECG: แอป ECG ช่วยให้ผู้ใช้ที่มีอาการ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นผิดจังหวะสามารถบันทึก ECG และบันทึกอาการของตนเองได้ แอป ECG ใช้เซ็นเซอร์วัดหัวใจแบบไฟฟ้า ที่ติดตั้งอยู่ใน Digital Crown และคริสตัลด้านหลังเพื่อบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบจุดเดียว โดยผู้ใช้สามารถบันทึกรูปแบบคลื่น ผลลัพธ์ วันที่ เวลา และอาการใดๆ และเอ็กซ์พอร์ตจากแอปสุขภาพเป็น PDF เพื่อแชร์กับแพทย์ได้

5. ประวัติภาวะ Afib: ประวัติภาวะ AFib เป็นคุณสมบัติที่ไม่เหมือนใครที่ช่วยให้คุณประมาณระยะเวลาที่หัวใจอยู่ในภาวะ AFib สำหรับผู้ใช้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการดังกล่าว  งานวิจัยพบว่า ระยะเวลาที่หัวใจอยู่ในภาวะ AFib อาจสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการ ปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน ประวัติภาวะ AFib ยังช่วยให้ผู้ใช้ติดตามปัจจัยการใช้ชีวิตที่เฉพาะเจาะจง เช่น การนอนหลับ การออกกำลังกาย และน้ำหนัก ซึ่งอาจส่งผลต่อระยะเวลาที่หัวใจอยู่ในภาวะ AFib อีกด้วย

ที่ผ่านมา ไม่เคยมีวิธีติดตามช่วงเวลาที่หัวใจอยู่ในภาวะ AFib หรือเปรียบเทียบกับปัจจัยที่สำคัญในการใช้ชีวิตได้โดยง่ายมาก่อน  แต่ในยุคนี้ เราสามารถทำได้ แค่สวม Apple Watch  นะจ๊ะ

ผู้เขียน
ทีม iJournalist

Share
Related