เทคโนโลยี

นักวิจัย มจธ.ราชบุรีถอดรหัสภาษา”ผึ้ง”

15 ธันวาคม 2565

พูดจาภาษาผึ้ง

วันนี้จะไม่พูดจาภาษาคน แต่จะพาไปพูดจาภาษาผึ้งกันค่ะ

หมายถึง ผึ้งจริงๆ ผึ้งที่ช่วยเราผสมเกสรดอกไม้  มีน้ำผึ้งหวานหอมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้เราได้กิน

รศ.ดร.อรวรรณ  ดวงภักดี หัวหน้าศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร  มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี .บ้านบึง ราชบุรี  และอาจารย์ปรีชา   รอดอิ่ม  จากห้องปฎิบัติการวิจัยผึ้งพื้นเมือง

อาจารย์อรวรรณ  ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมผึ้ง เพิ่งจะได้รับเลือกให้เป็นประธานภูมิภาคเอเชียคนล่าสุดของสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งนานาชาติ   ซึ่งเป็นสมาคมด้านผึ้งที่มีบทบาทสำคัญของโลก ประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งและผู้จำหน่ายน้ำผึ้งกว่า 120 สมาคมจากทั่วโลก

อาจารย์อรวรรณ เล่าให้ฟังว่า   ในโลกนี้มีผึ้งมากกว่าสองหมื่นชนิด แต่ผึ้งที่ให้น้ำหวานมี 11 ชนิด  โดยคัดพันธุ์จากการที่ไม่ทิ้งรัง  เป็นผึ้งขยันขันแข็ง

ในประเทศไทยก็มีการนำพันธุ์ผึ้งจากต่างประเทศมาเลี้ยง  แต่ก็พบว่า ผึ้งไทยและผึ้งในเอเชีย  แข็งแรงปรับตัวเก่ง

ผึ้งพื้นเมืองในไทย มีทั้งผึ้งโพรง ผึ้งหลวง  มิ้ม และมิ้มเล็ก   รวมถึงชันโรง ซึ่งเป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดใหม่ เพราะเก็บยางไม้ เมื่อมีน้ำผึ้ง ทำให้ราคาดี ป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพมาก

ทั้งตัวอาจารย์อรวรรณ และเหล่านักวิจัยของศูนย์ฯ มีฐานความรู้เรื่องผึ้งแน่นหนาและลึกของไทย จึงหาทางป้องกันผึ้งทิ้งรัง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งด้วยการเอาภาษาสัญลักษณ์ของผึ้ง ไปใส่ในระบบคอมคอมพิวเตอร์ ให้ AI และอัลกอรึธึ่ม ทำงานผสมผสานกัน ภาษาผึ้ง ไปใส่คอมพิวเตอร์ให้แปลภาษาผึ้ง   

ผึ้งจะทิ้งรังในกรณีที่รู้สึกไม่ปลอดภัย ถูกคุกคามจากศัตรู ซึ่งมีทั้งมดดำ มดแดง นกจาบคา ยาฆ่าแมลง และตัวต่อ

ทีมวิจัยจึงพัฒนาโมดูลแปลภาษาผึ้ง เพื่อเป็นระบบแจ้งเตือนให้เจ้าของฟาร์ม ผู้เลี้ยงผึ้งได้เข้ามาช่วยเหลือผึ้งได้ทันที ก่อนจะทิ้งรัง

ถ้ารู้ล่วงหน้า ว่ารังผึ้งรังนั้นกำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการทิ้งรังหรือการอ่อนแอจนรังล่มสลาย เพราะระยะเวลาที่ผึ้งจะทิ้งรัง หลังจากโดนฝูงมดหรือตัวต่อบุกรัง อาจมีระยะเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจเป็นวันก็ได้ ซึ่งการตรวจสอบด้วยการเปิดรังดูตามรอบการดูแลรังอาทิตย์ละครั้งอาจไม่ทันการณ์ ขณะที่การเปิดรังดูบ่อยเกินไปก็จะเป็นการรบกวนผึ้งในรัง ที่อาจส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำผึ้งของรังนั้นได้

โมดูลแปลภาษาผึ้ง สามารถแจ้งให้เจ้าของฟาร์มหรือผู้ดูแลระบบที่อยู่ ให้ทราบได้ทันทีที่รังผึ้งโดนจู่โจมจากศัตรูหรือรังอยู่ในสภาวะเครียด เป็น โมเดลแปลภาษาผึ้งโพรง ตัวแรกของโลก  

ชื่อว่า Smart Hive เป็นการต่อยอดจาก “Bee Box ซึ่งเป็นผลงานของทีมนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. งานวิจัยนี้พัฒนาต่อยอดมาหลายปี จนถึงปัจจุบัน มีข้อมูลสำหรับแจ้งเตือนได้สอดคล้องกันกับภัยคุกคามที่ผึ้งเจอ

แมลงกลุ่มผึ้งจะมีการสื่อสารกันด้วยการเต้นรำ เสียง และกลิ่นหรือฟีโรโมน เช่น การเดินวงกลมคล้ายเลข 8”  คือภาษาผึ้งที่ใช้เพื่อบอกระยะและทิศทางของแหล่งอาหารที่มันพบให้กับเพื่อนตัวอื่น ในรังได้รู้ แต่ละสายพันธุ์จะมีภาษาที่แตกต่างกันอาจารย์อรวรรณ ซึ่งศึกษาด้านพฤติกรรมมานาน เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงสนุกสนาน

ลีลาภาษาผึ้งจากท่าเดิน

ผึ้งโพรง  ถ้าเดินส่ายไปมาขึ้นไปข้างบนเป็นเวลาครึ่งวินาที  ความหมายก็คือ มีอาหาร (ดอกไม้) อยู่ห่างจากรังประมาณ 500 เมตร

ถ้าส่ายก้นกระดก จนเห็นก้นสีขาว แสดงว่าเริ่มเครียด ห่างจากกลิ่นนางพญา

ภาษาผึ้งชนิดเสียง เกิดจากการขยับขาไปเสียดสีกับปีก  เสียงเหล่านี้มีจะรูปแบบและระดับความถี่ของเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์

ถอดรหัสระดับความเครียดของผึ้ง

งานวิจัยซึ่งนำไปสู่การสร้าง “Smart Hive” นวัตกรรมเพื่อการเลี้ยงผึ้งแบบอัจฉริยะ เมื่อเกิดปัญหาในรัง ระบบจะแจ้งเตือนไปยังแอป และไลน์ของเกษตรกรทันที

         ทำงานโดยผสมผสานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับอัลกอริทึม (Algorithm) วิเคราะห์ฐานข้อมูลเสียงในรังผึ้ง ระบบจึงสามารถแปลภาษาผึ้งที่เกิดจากการเสียดสีของขากับปีกของผึ้งโพรงและผึ้งพันธุ์ออกมาเป็นระดับความเครียดโดยรวมของผึ้งในรัง เวลานั้นแบบ real time  ถึง 3 ระดับ

ระดับสีเขียว เหตุการณ์ในรังยังปกติ

ระดับสีเหลืองใช้บอกการบุกรุกโดยศัตรูทางธรรมขาติ ได้แม่นยำถึง 80 เปอร์เซ็นต์ (เริ่มเครียด)

  ระดับสีแดง  ที่อาจแปลได้ว่าฉันต้องการย้ายรังแล้ว (เครียดมาก)

ระบบ Smart Hive  ประกอบด้วยไมโครโฟนเพื่อส่งข้อมูลเสียงให้กับโมดูลแปลภาษาผึ้งแล้วในกล่องเลี้ยงผึ้งแล้ว ในกล่องเลี้ยงผึ้งจะมีกล้อง เพื่อเฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดในกล่อง ติดตามพัฒนาการของรัง

ปัจจุบันสามารถแปลได้บางคำ เช่น ดีใจจังนางพญามาแล้ว” “อาหารเยอะจังเลย ให้มีความหมายที่มนุษย์สามารถเข้าใจมากขึ้น

ทีมนักวิจัยได้นำนวัตกรรมแปลภาษาผึ้ง ติดตั้งไว้ที่ วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งและชันโรง ที่อำเภอบ้านคา ราชบุรี และที่จังหวัดเชียงใหม่  

ถ้าอยากจะเลี้ยงผึ้ง ต้องเข้าใจพฤติกรรม เข้าใจภาษาผึ้ง ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนของรายได้

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

More read

Tags

  • นักวิจัยผึ้ง
  • ปรีชา รอดอิ่ม
  • ผึ้งพื้นเมือง
  • มจธ.
  • ราชบุรีแคมปัส
  • อรวรรณ ดวงภักดี