เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ต่อไปนี้ผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สิทธิบัตรทอง 30 บาท) ก็ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปพบแพทย์ที่คลินิคหรือโรงพยาบาล สามารถเลือกพบแพทย์เพื่อรักษาทางไกลหรือเทเลเมดิซีน (telemedicine) ได้แล้ว เบื้องต้นใช้สิทธิ์ได้เฉพาะพื้นที่กทม. ไม่ว่าจะมีสิทธิ์ในกทม.หรือมีสิทธิจะอยู่ต่างจังหวัดแต่มาทำงานหรือมาทำธุระในกทม. ก็ใช้สิทธิได้
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช. ริเริ่มนำระบบบริการแบบเทเลเมดิซีนมาใช้ตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ระบาด พอสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ซึ่งจากการให้บริการที่ผ่านมาพบว่าการรับบริการมีความสะดวกสบาย ไม่ต้องหยุดงาน ไม่เสียโอกาสหารายได้ ไม่ต้องเสียค่าเดินทาง สามารถพบแพทย์ออนไลน์แล้วไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านหรือส่งยาให้ที่บ้านเลย ด้วยเหตุนี้ สปสช. จึงขยายบริการเทเลเมดิซีนให้ครอบคลุมการรักษาโรคทั่วไปด้วย
สำหรับ 42 กลุ่มโรคที่สามารถใช้บริการเทเลเมดิซีน ได้ มี 1.ข้อเสื่อมหลายข้อ 2. ตาแดงจากไวรัส 3.ตาแดงจากไวรัสที่ไม่ได้มีรหัสระบุรายละเอียด 4.ข้อเสื่อมโดยทั่วไปปฐมภูมิ 5. เนื้อเยื่ออักเสบ 6. วิงเวียน มึน 7. ปวดศีรษะ 8. อาหารเป็นพิษจากเชื้อแบคทีเรียอื่น 9. อาการท้องร่วง 10 กระเพาะและลำไส้อักเสบจากการติดเชื้อ 11.ไข้ไม่ทราบสาเหตุ 12.ความผิดปกติของระบบการทรงตัวของหู 13. โรคตากุ้งยิงและตุ่มอักเสบเรื้อรังที่หนังตา 14. การอักเสบของเยื่อบุตา 15. การติดเชื้อไวรัสที่มิได้ระบุรายละเอียด 16. กล้ามเนื้อเคล็ด 17. ติดเชื้อไวรัสไม่ระบุตำแหน่งที่เป็น 18.ข้ออักเสบข้อเดียวที่มิได้มีระบุรายละเอียด 19.เยื่อบุจมูกและลำคออักเสบ 20.ไข้ไม่ระบุชนิด 21.เวียนศีรษะบ้านหมุนเฉียบพลันแบบไม่รุนแรง 22.ปวดท้องช่วงบน 23. การติดเชื้อทางเดินหายใจในส่วนบนแบบเฉียบพลันหลายแห่งพร้อมกัน 24.ลมพิษ 25. ปวดท้องและปวดอุ้งเชิงกราน 26.เยื่อบุตาอักเสบเฉียบพลันที่มิได้ระบุรายละเอียด 27.ลมพิษที่มิได้ระบุรายละเอียด 28.ปวดหลังส่วนล่าง 29.คออักเสบเฉียบพลัน 30.ต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน 31.คออักเสบเฉียบพลัน 32.การติดเชื้อทางเดินหายใจในส่วนบนแบบเฉียบพลัน 33.กระเพาะอาหารอักเสบที่มิได้ระบุรายละเอียด34.อาการปวดท้องอื่น ๆ และอาการปวดท้องที่ไม่ระบุ 35.ข้ออักเสบหลายข้อที่มิได้ระบุรายละเอียด 36.ต่อมทอลซิลอักเสบเฉียบพลันที่มิได้ระบุรายละเอียด 37.เยื่อจมูกอักเสบจากการแพ้ที่มิได้ระบุรายละเอียด ปวดกล้ามเนื้อ 38.เยื่อจมูกอักเสบจากการแพ้หรือการเปลี่ยนอากาศ 39.ข้ออักเสบแบบอื่น 40.ไซนัสอักเสบเฉียบพลัน 41.ไซนัสอักเสบเฉียดพลันที่มิได้ระบุรายละเอียด 42. การติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย
เข้าข่าย 42 กลุ่มโรค สามารถเลือกใช้บริการผ่าน 4 แอปพลิเคชันด้านสุขภาพที่เข้าร่วมโครงการ ไม่ว่าจะเป็น Good Doctor Technology (กู๊ด ด็อกเตอร์) โดยจีดีทีคลินิกเวชกรรม Clicknic (คลิกนิก) โดยคลิกนิกเฮลท์คลินิกเวชกรรม Mordee (หมอดี) โดยชีวีบริรักษ์ คลินิกเวชกรรม หรือ Saluber MD (ซาลูเบอร์ เอ็ม ดี) โดยสุขสบายคลินิกเวชกรรม
นพ.สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ บริษัท กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตอนนี้ Good Doctor เราเริ่มให้บริการแล้ว มีเวลาทำการ 8.00-17.00 น. ขั้นตอนการรับบริการก็ง่ายๆ อย่างแรกคือดาวน์โหลดแอปฯ Good Doctor มาติดตั้งในมือถือก่อน เมื่อสมัครใช้งานแอปฯเสร็จ ก็เข้าไปหน้าแรก จะมีแบนเนอร์ “ปรึกษาหมอฟรี ด้วยสิทธิบัตรทอง” หรือ คลิกที่ไอคอน “แพทย์ทั่วไป” ก็ได้ เมื่อกดเข้าไปแล้วก็คลิกคำว่าสิทธิบัตรทอง แล้วยืนยันตัวตน ผ่านไลน์ @nhso จากนั้นก็รอการติดต่อกลับจากทีมงานแล้วเข้าปรึกษาแพทย์ หากแพทย์เห็นว่าต้องสั่งยาก็จะส่งยาให้ถึงบ้านภายใน 24 ชั่วโมง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
หากเป็นโรคที่จำเป็นต้องติดตามอาการ ก็จะมีทีมงานโทรติดตามอาการด้วย หรือผู้ป่วยรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น ก็สามารถแจ้งเข้ามาในไลน์ @gdtt ได้ หากจำเป็นต้องส่งต่อก็จะแนะนำให้ไปใช้สิทธิที่หน่วยบริการตามปกติ ทั้งนี้หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการรับบริการ สามารถสอบถามรายละเอียดที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-0268778 หรือแอดไลน์ @gdtt
ด้าน นีล นิลวิเชียร ประธานกรรมการบริหาร บริษัท คลิกนิกเฮลท์ จำกัด แนะนำขั้นตอนการใช้บริการผ่านแอปพลิเคชัน Clicknic “ก่อนอื่นต้องดาวน์โหลดแอปฯ Clicknic มาติดตั้งในมือถือก่อน เมื่อเข้าไปในแอปฯแล้วจะมีแบนเนอร์ “ผู้ป่วยกลุ่มโรคทั่วไป (สปสช.)” เมื่อคลิกเข้าไปจะมีช่องบันทึกข้อความสำหรับระบุที่อยู่และสถานที่จัดส่งยา พร้อมระบุอาการ รวมทั้งระบุข้อมูลสุขภาพ เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก และยังสามารถใช้เทคโนโลยีตรวจสัญญาณสุขภาพผ่านกล้องมือถือ เพื่อให้แพทย์มีข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการรักษาได้ด้วย เมื่อกรอกข้อมูลทั้งหมดเสร็จแล้วให้กด “เริ่มขอคำปรึกษา” จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิและส่งเคสให้แพทย์ทำการติดต่อกลับ ใช้เวลารอ 10-30 นาที และหากมีการสั่งจ่ายยา ก็จะส่งไปให้ที่บ้านหรือผู้ป่วยไปรับที่ร้านยาใกล้บ้านก็ได้ ทั้งนี้หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ไลน์ไอดี @Clicknic”
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้