เทคโนโลยี

ทางรอด “ร้านตู้มือถือ”ยุคสมาร์ตโฟนแข่งกันเดือด

11 สิงหาคม 2566

เปิดประสบการณ์ตรงร้านตู้มือถือยุคสมาร์ตโฟนแข่งกันเดือด

เปิดเส้นทางธุรกิจร้านตู้มือถือรุ่นบุกเบิกจากพนักงานออฟฟิศสู่เจ้าของตู้   สร้างรายได้หลักหมื่นสู่หลักล้าน  โดยมีคอมมี่เป็นพันธมิตร

  ย้อนไปยังยุคที่เริ่มใช้โทรศัพท์มือถือ  ร้านขายโทรศัพท์มือถือ  หรือร้านตู้มือถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ

มีพนักงานออฟฟิศหลายคนหันมาเปิดร้านตู้มือถือ  ทั้งเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม

เริ่มจาก 1 สาขาสู่ 18 สาขาทั่วกรุง

พุทธิวงศ์ พงษ์เพียจันทร์  จากพนักงานออฟฟิศที่ผันตัวมาเป็นเจ้าของกิจการร้านตู้มือถือวันอินเตอร์  ผ่านมา 27 ปี จาก 1 สาขา สู่ 18 สาขา ทั่วกรุงเทพและปริมณฑล สร้างรายได้ 7-8 ล้านต่อเดือน  เติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ในยุคการแข่งขันสูง เพราะมีพันธมิตรที่ดีอย่างคอมมี่คอยซัพพอร์ต

พุทธิวงศ์ พงษ์เพียจันทร์  วัย 57 ปี เจ้าของร้านวันอินเตอร์ ให้บริการงานซ่อม และ จัดจำหน่ายอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟน  เล่าว่า จุดเริ่มต้นร้านตู้มือถือเกิดขึ้นเมื่อปี 2539  ขณะนั้นยังคงเป็นพนักงานออฟฟิศ ตำแหน่งช่างซ่อม  เป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันอยากสร้างเนื้อสร้างตัว มีกิจการเป็นของตนเอง

จึงได้ศึกษาหาความรู้มาเรื่อยๆ จนกระทั่งพบธุรกิจที่น่าสนใจคือร้านตู้มือถือ เนื่องจากในสมัยนั้นโทรศัพท์มือถือกำลังบูมในประเทศไทย แต่ช่องทางการจำหน่ายยังมีจำกัด ซึ่งส่วนใหญ่จะขายผ่านแบรนด์และร้านตู้ ประกอบกับราคาที่สูง รวมถึงความถี่ในการออกรุ่นใหม่ยังน้อยกว่าในปัจจุบัน  ผู้คนจึงนิยมใช้บริการร้านตู้ทั้งซื้อและซ่อม

เมื่อลาออกจากงานประจำ มาเปิดร้านตู้มือถือ ได้นำความรู้ด้าน ช่างซ่อม มาปรับใช้ทำธุรกิจ ตั้งแต่เป็นตัวแทนขายเครื่องโทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ และงานซ่อมบำรุง ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเปลี่ยนแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือ ที่ถือเป็นรายได้หลักจากธุรกิจในขณะนั้น

จุดเด่นที่ทำให้แตกต่างคือ ร้านเลือกใช้แบตเตอรี่จากแบรนด์คอมมี่ ที่มีคุณภาพดีที่สุดในตลาดตอนนั้น ทำให้พูดกันปากต่อปาก  ลูกค้าเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก จากนั้นได้ขยายสินค้าให้หลากหลายมากขึ้นตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป อาทิ ฟิล์มกันรอย, หัวชาร์จ, สายชาร์จ, แบตเตอรี่, แบตเตอรี่สำรอง, หูฟังและอุปกรณ์เสริมอื่นๆ

ปัญหาใหญ่ของตู้มือถือ 

ยุคดิจิทัลอุตสาหกรรมไอทีเกิดการเปลี่ยนแปลง จากโทรศัพท์มือถือธรรมดาเปลี่ยนเป็นสมาร์ทโฟนเกิดการแข่งขันกันมากขึ้น จากเดิม 1 ปีจะออกรุ่นใหม่ 1 รุ่น กลายเป็น 1 ปี ออก 5 ซีรีส์

ปัญหาที่ร้านตู้มือถือพบ คือ

สต๊อกบวม เพราะต้องสต๊อกสินค้าเป็นจำนวนมาก  เช่น ฟิล์มกระจกกันรอย ในสต๊อกก็ต้องลงสินค้าไว้รองรับสมาร์ทโฟนทุกรุ่นที่ออกใหม่ ต้องมีทุกแบรนด์ฟิล์มกันรอยเพื่อให้ผู้บริโภคเลือก พอของเก่ายังขายไม่หมดก็ถึงฤดูกาลเปลี่ยนรุ่นของสมาร์ทโฟนแล้ว

  ช่องทางการขาย  เดิมสมาร์ทโฟนขายผ่านแบรนด์และร้านตู้เป็นหลัก ต่อมาก็ขยายไปสู่การขายร่วมกับโอเปอเรเตอร์   ขายผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลให้ผู้บริโภคซื้อสมาร์ทโฟนผ่านร้านตู้น้อยลง  ช่วงนั้นร้านตู้มือถือประสบปัญหาอย่างมาก บางร้านถึงขั้นต้องปิดกิจการ

เพื่อความอยู่รอดจึงปรับตัวแบบ 360 องศา  โดยเริ่มจากหันมาเน้นจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุปกรณ์เสริมสมาร์ทโฟน (Mobile Gadget) เพิ่มมากขึ้น เพราะปัจจุบันสมาร์ทโฟนมีราคาแพง ผู้บริโภคจึงต้องการอุปกรณ์ในการช่วยป้องกันที่ดี และไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงต้องการ หยิบ จับ ดูทดลอง สินค้าเหล่านี้ก่อนตัดสินใจซื้อ และในส่วนของสินค้ากลุ่มสมาร์ทโฟนก็จำหน่ายแค่สมาร์ทโฟนระดับกลางราคาประมาณ 5,000-10,000 บาท จับกลุ่มลูกค้าระดับกลางและกลุ่มผู้สูงวัยที่ไม่ต้องการฟังก์ชั่นเยอะและไม่ต้องการผูกติดกับสัญญาณค่ายโทรศัพท์

พันธมิตรคือทางรอด

เจ้าของร้านวันอินเตอร์ บอกว่า การทำธุรกิจร้านตู้มือถือในช่วงนี้  พันธมิตร” (Partnership) ทางธุรกิจมีความสำคัญมาก

พันธมิตรทางธุรกิจ จะช่วยซัพพอร์ตด้านต่างๆ ทั้งการให้เครดิตสินค้า การรับประกันสินค้า การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เพื่อช่วยลดสต๊อก  แบรนด์คอมมี่ เป็นพันธมิตรที่พัฒนาผลิตภัณฑ์ฟิล์มไฮโดรเจลที่แข็งแรง ทนทาน ใช้ได้กับทุกจอสมาร์ทโฟน แทนฟิล์มกันรอยแบบกระจก และเครื่องตัดฟิล์มอัจฉริยะ สามารถตัดฟิล์มกันรอยทั้งแบบซูเปอร์ไฮโดรเจล และไฮโดรเจล ได้มากกว่า 8,000 แบบ

รองรับจอสมาร์ทโฟนทุกแบรนด์บนท้องตลาด หน้าจอโน๊ตบุ๊ค จอแท็บเล็ต จอ LCD รถยนต์ จอสมาร์ทวอทช์ จอเครื่องเล่นเกมนินเทนโด จอกล้องดิจิทัล และอีกมากมาย ที่จะช่วยลดปัญหาสต๊อกบวมได้  ร้านค้าไม่จำเป็นต้องสั่งฟิล์มทุกรุ่น ทุกแบบมาสต๊อกให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าอีกต่อไป

พุทธิวงศ์ แนะนำว่า  ถ้ามองหาอาชีพเสริม ต้องการทำธุรกิจร้านตู้มือถือ สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ คือ

ทำเลที่ตั้งร้าน ต้องอยู่ในพื้นที่ที่คนเดินไปมาเป็นจำนวนมาก

ทักษะการบริหารสต๊อกสินค้า ต้องวางแผนให้เป็น คำนวณให้ดี

พันธมิตรที่ดี มองหาพันธมิตรที่ใส่ใจเรื่องคุณภาพของสินค้า และมีการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ

  นี่คือ ประสบการณ์ตรงที่ทรงคุณค่าจากเจ้าของร้านวันอินเตอร์ ตู้มือถือรายได้ต่อเดือนเกือบสิบล้านบาทจาก 18 สาขาทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล

 

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

More read

Tags

  • COMMY
  • ตู้ขายมือถือ
  • ตู้มือถือ
  • พุทธิวงศ์ พงษ์เพียจันทร์
  • แบตคอมมี่
  • แบตมือถือ