เทคโนโลยี

โทรศัพท์มือถือ แพลตฟอร์มทรงพลังของโลก

26 ตุลาคม 2565

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับสมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) และ Global TD-LTE Initiative (GTI)  จัดงาน “Global Mobile Broadband Forum – 5G Leads the Stride” ครั้งที่ 13   ระหว่างวันที่ 25 –  26 ตุลาคม.. 2565  ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์ กรุงเทพฯ

  สำหรับการประชุม Global Mobile Broadband Forum (MBBF) จัดขึ้นครั้งแรกที่กรุงออสโลประเทศนอร์เวย์ ในปี .. 2553    ปกติจะไปจัดงานที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่ปีนี้เลือกประเทศไทยเป็นสถานที่จัดงาน

เป็นงานที่ผู้นำด้านไอซีทีมารวมตัวกันและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมมือถือ  เป็นเวทีสำคัญในการกำหนดอนาคตและช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของผู้คนและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

เคน หู ประธานกรรมการบริหารหมุนเวียนตามวาระของหัวเว่ย กล่าวว่า   5G  เป็นหลักขับเคลื่อนอันทรงพลังของโลก  แม้ปัจจุบันจะมีอุปกรณ์ที่รองรับการใช้งาน 5G มากกว่าพันล้านเครื่อง แต่ยังมีพื้นที่ผลักดันให้เกิดบริการใหม่ๆ ได้อีกมากมาย

เทคโนโลยี 5G จะเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรม  เช่น ขนส่งอัจฉริยะ อุตสาหกรรม เหมืองแร่  ดังนั้นการปลดปล่อยของอุตสาหกรรม 5 G จะช่วยปลดล็อกภาคอุตสาหกรรมได้

“ 5G ให้บริการครอบคลุมเพียง 50% ของประชากรโลก ยังมีที่ว่างอีกมาก แม้ว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ แต่ประสบการณ์ที่ดีขึ้นขณะใช้บริการ เช่น ดูวิดีโอ TikToK ได้ไม่มีสะดุด  เป็นประสบการณ์ที่ดีของผู้ใช้

5 G จึงมีศักยภาพ และมีความท้าทายมากมายรออยู่ข้างหน้า

ข้อมูลเดือนตุลาคม .. 2565  มีผู้ให้บริการเครือข่ายมากกว่า 230 รายทั่วโลกได้เปิดตัวบริการ5G เชิงพาณิชย์  มีการจัดตั้งสถานีฐาน 5G รวมกันมากกว่า 3 ล้านแห่ง และให้บริการสมาชิกมากกว่า700 ล้านรายทั่วโลก

เมื่อเทคโนโลยี 5G แพร่หลายมากขึ้น ส่งผลให้พฤติกรรมใช้งานเปลี่ยนแปลงไป  เช่น

ปริมาณการรับส่งวิดีโอความละเอียดสูงเติบโตรวดเร็ว

แอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ที่มาพร้อมเทคโนโลยี 5G ความเร็วสูงที่มีค่าความหน่วงต่ำส่งผลให้ปริมาณการดูข้อมูลโดยเฉลี่ยต่อผู้ใช้ (DOU) เพิ่มขึ้นถึงสองเท่า และเพิ่มอัตราเฉลี่ยค่าบริการต่อผู้ใช้งาน (ARPU) ขึ้น 20%-40% ส่งผลให้รายได้ด้านบริการเชื่อมต่อของผู้ให้บริการเครือข่ายเติบโตต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ผู้ให้บริการ ควรพัฒนาเครือข่ายให้เข้ากับประสบการณ์ผู้ใช้แบบต่างๆ เช่น ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศจีนปรับเครือข่ายให้สอดคล้องกับการใช้แพลตฟอร์ม TikTok และแพลตฟอร์มวิดีโอยอดนิยมอื่น โดยลดความหน่วงของระยะเวลาการตอบสนองลง 50% และลดการแสดงภาพค้างลง 90% เพิ่มประสบการณ์การรับชมวิดีโอที่ราบรื่นยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีปริมาณการใช้ข้อมูลเพิ่มขึ้นสองเท่าและดึงดูดผู้ใช้บริการ 5G รายใหม่มากขึ้น

ต่อมา ลาร่า ดีวาร์    ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สมาคม GSMA  ได้ย้อนประสบการณ์ขับรถเที่ยวพร้อมโทรศัพท์มือถือเครื่องแรกในชีวิต ซึ่งทำให้ติดต่อลูกหลานได้ตลอดเวลา เป็นสิ่งที่มีคุณค่า  เกิดการเชื่อมต่อตลอดเวลา   เทคโนโลยีมือถือได้เข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิตมากมายของผู้คนทั่วโลก

GSMA  ต้องการปลดล็อกอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้คนมีประสบการณ์ใหม่ๆ   ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลก จำนวน 5.3 พันล้านราย  หรือประมาณ 2ใน3 ของประชากรโลก   จึงเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังเหลือเชื่อ

เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นในช่วงโควิดระบาด  โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์เดียวที่ใช้ติดต่อเพื่อนครอบครัวและทำงาน ทำให้เห็นว่าการเชื่อมต่อของมือถือมีความสำคัญ

อนาคตของอุตสาหกรรมมือถือ คือการเชื่อมต่ออัจฉริยะ  IoT  Big Data  ทุกอุตสาหกรรมจะเป็นดิจิทัล

ปี 2035 ทุกคนจะเห็นคุณค่าการเปลี่ยนแปลงอย่างเต็มที่  การลงทุนนวัตกรรม และการเป็นหุ้นส่วนจึงเป็นเรื่องสำคัญของโอเปอเรเตอร์ ซึ่งกว่า  85%  ลงทุนในเครือข่าย 5G  ซึ่งจะกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทุกคนต้องมี

ในการประชุมนี้  ผู้บริหารโอเปอเรเตอร์จากหลายประเทศ รวมทั้งไทย  มีความเห็นตรงกันทั้งโอกาสใหม่ๆ และความกังวลที่คล้ายๆกัน

นอกจากนี้ หัวเว่ยและพันธมิตรได้จัดนิทรรศการเกี่ยวกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 5 G, 5.5 G   ทั้งตัวอย่างการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ   อุปกรณ์ใหม่ๆที่รองรับการทำงาน 5G

เช่น อุปกรณ์สำหรับ Live commerce   ร้านค้าเมตาเวิร์ส  เป็นต้น

 

สุดท้ายแล้ว เหล่าผู้นำในในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมจากทั่วโลก เห็นพ้องกันว่า ถ้าจะเดินไปให้ไกลต้องไปด้วยกัน