ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยต่อยอดพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลไทย

8 ตุลาคม 2565

 หัวเว่ย เปิดตัวโครงการต่างๆ เพื่อร่วมยกระดับภาคการศึกษาในประเทศไทย แก้ไขช่องว่างด้านทักษะด้านดิจิทัล

รายงาน Global Connectivity Index (GCI) ล่าสุดของหัวเว่ย ที่ได้จัดกลุ่มประเทศต่างๆ ออกเป็น 3 กลุ่มตามการลงทุนด้านไอซีที การเติบโตของไอซีที และผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจดิจิทัล

โดยจัดเป็นประเภทเป็นกลุ่มผู้ริเริ่ม ผู้ที่กำลังประยุกต์ใช้ หรือผู้นำในตลาด

รายงานดังกล่าวเปิดเผยว่า ประเทศต่างๆ ในเอเชียแปซิฟิกมีความแตกต่างกันอย่างมากในทุกพื้นที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาโดยรวมที่ไม่สมดุลกันในภูมิภาค   ประเทศที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่สมบูรณ์มากกว่าจะได้รับผลกระทบจะในขอบเขตที่จำกัดกว่าและสามารถฟื้นตัวได้ดีกว่า

  เพื่อแก้ไขช่องว่างด้านทักษะด้านดิจิทัลในประเทศไทย บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด  ได้

 เปิดตัวโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับภาคการศึกษาในประเทศไทย

 

โครงการ “Seeds for the Future” เริ่มดำเนินการในปี .. 2551 เป็นครั้งแรก ที่กรุงเทพฯ  โดยเป็นโครงการแรกจากหลายโครงการที่ออกแบบมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้ที่มีความสามารถด้านไอซีที และส่งเสริมให้สามารถรับมือกับความท้าทายทางสังคมด้วยโซลูชันดิจิทัล

ปีที่ผ่านมา หัวเว่ยได้ประกาศลงทุน 150 ล้านดอลลาร์ในโครงการนี้ และในเดือนสิงหาคม .. 2565 หัวเว่ยได้จัดโครงการ Seeds for the Future ระดับภูมิภาคครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประเทศไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งหมดจาก 140 ประเทศในภูมิภาคนี้ และเข้าถึงนักศึกษากว่า 12,000 คนจากมหาวิทยาลัย 500 แห่ง

  ส่วน งาน Huawei Connect ซึ่งเป็นประจำปีของหัวเว่ย ได้จัดขึ้นนอกประเทศจีนเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา   ประเทศไทย  ระหว่างการจัดงาน หัวเว่ยได้เชิญตัวแทนจากภาครัฐบาลสถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมหารือเกี่ยวกับการปลุกปั้นกลุ่มผู้มีความสามารถด้านไอซีทีที่พร้อมก้าวสู่อนาคตแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่งาน Asia Pacific Digital Talent Summit

  ในปีนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมและสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (NCSA) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) ว่าด้วยความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับหัวเว่ย เพื่อเสริมทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้บุคลากรไอทีของไทย ผ่านแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ E-Lab กิจกรรมการแข่งขัน และการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆของหัวเว่ย

นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติจัดการแข่งขัน “Thailand Cyber Top Talent 2022” ซึ่งเป็นการแข่งขันที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ให้แก่บุคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัลในประเทศไทย รวมถึงในกลุ่มเยาวชน ข้าราชการ และพนักงานในองค์กรต่างๆ

  หัวเว่ยยังได้เปิดตัว ASEAN Academy  แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ออกแบบมาเพื่อลดความแตกต่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานด้านบุคลากรไอซีที โดยหัวเว่ยได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยกว่า 200 แห่งในอาเซียน เพื่อพัฒนาระบบหลักสูตรสำหรับตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม การฝึกปฏิบัติ และการสร้างการรับรองมาตรฐานสำหรับมหาวิทยาลัย

  ทั้งนี้ หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความพยายามเหล่านี้ผ่านการยกระดับทักษะแรงงานไทยและผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสำคัญในด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและการพัฒนาบุคลากร

Share
Related