ข่าวประชาสัมพันธ์

หัวเว่ยร่วมหาแนวทางพัฒนาบุคลากร ICTในไทย

14 ธันวาคม 2565

บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ประกาศความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันอุดมศึกษาและบรรดาพันธมิตรจากภาคอุตสาหกรรมในประเทศ  หารือหาแนวทางพัฒนาบุคลากรไอซีที ต่อยอดสู่แผนแม่บทประเทศ

ความร่วมมือดังกล่าว เกิดขึ้น ภายในงาน Thailand Talent Transformation Symposium  พร้อมเปิดตัวโครงการบ่มเพาะด้านดิจิทัลที่หลากหลายและการแข่งขันสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยกว่า 200 คน ใน ‘ICT Competition 2022’ เพื่อยกระดับอีโคซิสเต็มด้านบุคลากรดิจิทัล

อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการ ฝ่ายเครือข่ายธุรกิจผู้ให้บริการ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่าบุคลากรดิจิทัลนับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์หลักสำคัญที่หัวเว่ยลงทุนอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยวางกรอบและแนวทางในการปฏิบัติสามด้าน เพื่อบ่มเพาะบุคลากรที่มีความสามารถในระดับสูง

มีหัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี (Huawei ASEAN Academy) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในประเทศไทย เมื่อปี .. 2562 นั้นได้ฝึกอบรมบุคลากรไอซีทีไปแล้วกว่า 60,000 คน และธุรกิจ SMEs ไปแล้ว 2,600 ราย  ได้ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยแพร่สมุดปกขาวการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทยพร้อมระบุความท้าทายหลัก 11 ด้านและข้อแนะนำด้านนโยบาย 5 ประการ โดยหัวเว่ยมุ่งที่ 3 แนวทางหลักในการพัฒนาบุคลากรที่มีศักยภาพ ประกอบด้วย ความเป็นผู้นำ ทักษะ และองค์ความรู้

สำหรับปีนี้ หัวเว่ย ตั้งเป้าเสริมสร้างความรู้ด้านไอซีทีที่แข็งแกร่ง ให้เยาวชนที่มีความรู้ความสามารถอีกกว่า 200 คน ตอกย้ำพันธกิจของหัวเว่ยที่ว่า เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย สนับสนุนประเทศไทย(Grow in Thailand, Contribute to Thailand)

นอกจากนี้ สมุดปกขาวการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศไทยที่จัดทำร่วมกับ โรแลนด์เบอร์เกอร์ (Roland Berger) บริษัทผู้ให้คำปรึกษาด้านการจัดการระดับโลก ได้ระบุถึงกรอบแนวคิดองค์รวม 5 ประการ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านบุคลากรไอซีที โดยจะมาจากการผสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย 1) การจัดทำนโยบาย การปรับมาตรฐาน และการติดตามการดำเนินการ 2) การพัฒนาทักษะ 3) การสร้างอาชีพและการหางานเพื่อรองรับบุคลากร 4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 5) การระดมทุนและสนับสนุนเงินทุน

สำหรับโครงการ ICT Competition 2022 เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านไอซีที การฝึกทักษะในการปฏิบัติจริง และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั่วโลก ในการสร้างนวัตกรรมผ่านเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยยกระดับการศึกษาและสร้างทักษะบุคลากรรุ่นใหม่ โดยโครงการดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม .. 2565 จนถึงเดือนมีนาคม .. 2566 ทั้งนี้ ทีมผู้ชนะจากการแข่งขันจะได้รับรางวัลรวมมูลค่ากว่า 300,000 บาท  

หัวเว่ย  ริเริ่มโครงการหัวเว่ย ไอซีที อะคาเดมี (ประเทศไทย) และได้ร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในประเทศอีก 37 แห่ง ในการสร้างบุคลากรไอซีทีในประเทศไปแล้วกว่า 26,000 คน และตั้งเป้าที่จะฝึกอบรมบุคลากรดิจิทัลสัญชาติไทยเพิ่มขึ้นอีกกว่า 10,000 คน ภายในปี .. 2566 รวมทั้งจะสามารถร่างข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในสมุดปกขาวอันจะนำไปสู่การริเริ่มการสร้างบุคลากรที่มีความหลากหลายด้านทักษะในอีโคซิสเต็ม และจะเดินกลยุทธ์ในการร่วมมือกับพันธมิตรต่าง อย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างเวทีที่เปิดกว้างและสร้างโอกาสใหม่ อย่างมั่นคง ซึ่งท้ายที่สุดจะสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่ทุกคน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อสร้างโลกอัจฉริยะที่เชื่อมต่อถึงกันอย่างสมบูรณ์แบบ

 

Share
Related