Uncategorized

หัวเว่ยวางกลยุทธ์สร้างนักพัฒนา ICT ไทยต่อเนื่อง

3 กันยายน 2566

หัวเว่ยวางกลยุทธ์สร้างนักพัฒนา ICT ไทยต่อเนื่อง

หัวเว่ยมั่นใจ ไทยมีศักยภาพเป็นเมืองที่สามารถพัฒนา AI ได้ต่อเนื่องจากเทคโนโลยี 5G

นายเจย์ เฉิน  ประธานคณะกรรมการหัวเว่ย ประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ภายหลังงานปิดการแข่งขัน ICT Competition 2022-2023   สำนักงานหัวเว่ย ประเทศไทย  ถึงกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรดิจิทัลของหัวเว่ย จะเน้นสร้างนักพัฒนาด้านไอซีที 10,000 รายในปี .. 2566

สร้างนักพัฒนาด้านคลาวด์ 20,000 ราย ให้ได้ภายใน 3 ปี (.. 2566-2568)

หัวเว่ยนั้น มีเป้าหมายที่ชัดเจน ด้านการส่งเสริมการสร้างบุคลากรไอซีทีและนักพัฒนาด้านคลาวด์ของประเทศไทย ผ่านโครงการฝึกทักษะและพัฒนาทักษะด้านอาชีพ

สำหรับการพัฒนาบุคลากรไอซีทีนั้น  ที่ผ่านมาได้พัฒนาเนื้อหาสำหรับฝึกอบรม  การจัดสรรบุคลากรในการฝึกอบรม สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวก และการให้คำปรึกษาตลอดโครงการ รวมไปถึงการมอบโอกาสให้แก่นิสิตนักศึกษาที่ได้เข้ามาฝึกงานกับหัวเว่ย ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าโครงการฝึกงานได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

 หัวเว่ยเชื่อมั่นว่า AI ในไทยจะพัฒนาต่อเนื่อง

เมืองหลักอย่างกรุงเทพฯ ประเทศไทย กัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย  แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของธุรกิจสตาร์ทอัพ เพราะเมืองเหล่านี้มีเทคโนโลยี 5G มีศูนย์ข้อมูล และยังมีธุรกิจที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง  AI จะเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตได้ดีในกรุงเทพฯ

หัวเว่ยจึงมีความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ  เพื่อพัฒนาโครงการด้านไอซีที ด้านคลาวด์ และสนับสนุนธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพ

การต่อยอดกับภาครัฐ 

นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและวิสาหกิจเริ่มต้นประเทศไทย (Startup Thailand) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)  ได้บอกเล่าถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับความร่วมมือกับหัวเว่ย ทั้งสองโครงการ ดังนี้

โครงการ Start-ups Thailand League ในระดับมหาวิทยาลัย มีการพัฒนาองค์ความรู้ให้นิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาตรี โทและเอก มีความเป็นผู้ประกอบการและต่อยอดได้ และมีการใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ยคลาวด์ ในการพัฒนาแอปพลิเคชัน หรือเอไอได้ รวมไปถึง IoT ต่างๆ ด้วย ปีนี้หัวเว่ยได้คัดเลือก 3 ทีม ที่สามารถจะไปแข่งขันในระดับโลกได้

โครงการพัฒนาผู้ประกอบการ  ที่เริ่มต้นทำธุรกิจแล้ว และอยากจะได้เทคโนโลยีหัวเว่ยคลาวด์ในการนำไปต่อยอด ไม่ว่าจะเป็น AI , IoT และคลาวด์ 

ขาดแคลนโปรแกรมเมอร์

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ   มองว่า โปรแกรมในการพัฒนา ICT ของหัวเว่ยเป็นโปรแกรมที่ดีที่ จึงคิดว่าจะต่อยอดความร่วมมือร่วมกัน 

ขณะนี้พบว่า ขาดแคลนโปรแกรมเมอร์  ประมาณหนึ่งล้านตำแหน่ง ต้อง พัฒนา Digital Workforce ด้วยการ Upskill, Reskill  เพิ่มพัฒนาคนที่มีทักษะด้านดิจิทัลที่ดีอยู่แล้วและเข้าใจกระบวนการ เพื่อให้สามารถต่อยอดเทคโนโลยีใหม่ และกลายมาเป็นบุคลากรคนสำคัญได้ 

สตาร์ทอัพล้มแล้วลุก

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา ทำให้รูปแบบการเข้าถึงลูกค้าเปลี่ยนไป สตาร์ทอัพหลายรายอาจจะไม่มีเงินลงทุนเพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจได้เพราะลูกค้าน้อยลง แต่สตาร์ทอัพบางส่วนก็ไม่ได้หายไป เพียงแต่จะมีรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาและจะกลับมาอย่างเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะมีเงินลงทุนจากนักลงทุนมากขึ้น เครือข่ายทั้งภาครัฐเอกชนก็พยายามจะเข้ามาสนับสนุนให้สตาร์ทกลับมาได้ 

ช่วงโควิดที่ผ่านมา พบว่าสตาร์ทอัพมากกว่า 50% ที่ไปไม่รอด

ภาครัฐต้องการส่งเสริมการทำธุรกิจด้วยการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาพัฒนาต่อยอดกับอุตสาหกรรมเพื่อสร้างพื้นฐานให้กับประเทศไทยพร้อมกับต่อยอดเทคโนโลยีร่วมกับหัวเว่ยในการพัฒนาโซลูชันบางอย่างที่สามารถแข่งขันหรือก้าวนำประเทศเพื่อนบ้านได้ 

AI จะเป็นตัวผลักดันสตาร์ทอัพในประเทศไทย

การแข่งขัน ICT Competition 2022-2023

ปีนี้ จัดแข่งขัน 2 ประเภท คือ คลาวด์ และเครือข่าย มีนักศึกษาเข้าร่วม 18 คน จำนวน  6 ทีม

ประเภทคลาวด์    

รางวัลชนะเลิศ  คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รองชนะเลิศอันดับ 1  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รองชนะเลิศอันดับ 2 คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ประเภทเครือข่าย   

รางวัลชนะเลิศ  คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

รองชนะเลิศอันดับ 1   คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รองชนะเลิศอันดับ 2   คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

More read

Tags

  • การแข่งขัน ICT Competition 2022-2023
  • นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรมและ...
  • นายเจย์ เฉิน  ประธานคณะกรรมการหัวเว่ย ประเทศไทย