ข่าวทั่วไป

เช็คชื่อสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทยปี 2566

2 ธันวาคม 2566

เช็คชื่อสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทยปี 2566

  คินเซนทริค (ประเทศไทย) ประกาศรายชื่อ 16 องค์กรรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566   ธกส.เป็นองค์กรภาครัฐหนึ่งเดียว

คินเซนทริค (ประเทศไทย)  บริการคำปรึกษาด้านบุคลากรและการพัฒนาองค์กร ในเครือสเปนเซอร์ สจวร์ต ได้เผยผลการวิจัยเทรนด์ประสบการณ์พนักงานจากทั่วโลกประจำปี 2566  พร้อมประกาศรายชื่อ 16 องค์กรที่ได้รับรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นแห่งประเทศไทย ประจำปี 2566 โดยคินเซนทริค (Kincentric Best Employers Thailand 2023)

 

ดร. อดิศักดิ์ จันทรประภาเลิศ กรรมการผู้จัดการและพาร์ทเนอร์ คินเซนทริค (ประเทศไทย)  ให้สัมภาษณ์ว่า คินเซนทริค วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้คำแนะนำและแนวทางการปรับปรุงพัฒนาสำหรับลูกค้าแต่ละองค์กร ด้านการบริหารบุคลากร การดูแลรักษาบุคลากรที่มีความสามารถโดดเด่นให้อยู่กับองค์กร

จากผลการวิจัยซึ่งอ้างอิงจากเทรนด์ที่พบในกว่า 100 องค์กรชั้นนำในพอร์ตโฟลิโอของคินเซนทริค ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้นำธุรกิจและองค์กร จะต้องมองหาทุกโอกาสในการสร้างประสบการณ์สำหรับพนักงานเพื่อสร้างความได้เปรียบ   ด้วยการปลูกฝังประสบการณ์การทำงานที่ดีผ่านการพูดคุยและแสดงความคิดเห็นร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พนักงานได้รับประสบการณ์การทำงานที่ดีอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับสร้างการเติบโตทางธุรกิจ

มีฐานข้อมูลเรื่องพนักงานมากที่สุดในโลก

การวิจัยพบว่า  องค์กรที่มีผลการประเมินความพึงพอใจในตัวผู้บริหารระดับสูงและคณะบริหารอยู่ในเกณฑ์สูง จะมีผลประกอบการเป็นที่น่าพึงพอใจสูงกว่าบริษัททั่วไปถึงร้อยละ 76

การทำงานของคินเซนทริค จะใช้วิธีเก็บข้อมูลจากพนักงานในองค์กร  จึงมีฐานข้อมูลเรื่องพนักงานมากที่สุดในโลก เป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น

“วัฒนธรรมองค์กรที่ดี เหมาะกับธุรกิจและสิ่งแวดล้อมทางการแข่งขัน จะมีผลต่อการสร้างประสบการณ์ที่เป็นเลิศให้พนักงาน จะส่งผลต่อขีดความสามารถขององค์กร  ทำให้เกิดความผูกพัน ไม่อยากลาออก

ผู้บริหารระดับบนที่เข้มแข็ง สามารถสร้างความผูกพันพนักงาน จะมีผลต่อการดึงดูดคนเก่งได้ดีถึง 1.3 เท่า ”

สิ่งที่คนทำงานอยากได้จากองค์กร

จากการทำวิจัยกับองค์กร 2,500 แห่งทั่วโลก พบว่า  มีประสบการณ์ที่พนักงานอยากได้ หากทำได้องค์กรนั้นๆ จะสร้างความสุขให้พนักงานได้   ทั้งการให้ทรัพยากร สร้างความชัดเจนให้พนักงานเห็นทิศทางในอนาคต  หัวหน้างานที่ใกล้ชิดพนักงาน สามารถบริหารพนักงานได้เป็นรายบุคคล  ผู้บริหารระดับสูงดูแลในภาพรวมได้เหมาะสม   หากองค์กรทำได้ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่าองค์กรทั่วไป เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่างกันชัดเจน

ผู้นำองค์กร ต้องกล้าหาญ ต้องทำให้พนักงานมีความหวัง  พบว่า หัวหน้างานเป็นกลุ่มที่มีความใกล้ชิดและสามารถตามที่สัญญาไว้กับลูกน้อง

รางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นของไทยปี 2566

  • บริษัท บีทูเอส จำกัด
  • บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • บริษัท คาร์กิลล์มีทส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และ บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด
  • บริษัท โรงแรมเซ็นทรัลพลาซา จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด มินิมาร์เก็ต จำกัด หรือ ท้อปส์ เดลี่
  • บริษัท เซ็นทรัลมาร์เก็ตติ้งกรุ๊ป จำกัด
  • บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ซี อาร์ ซี สปอร์ต จำกัด หรือ ซูเปอร์สปอร์ต
  • บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซเพรส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
  • บริษัท ฟู้ดแพชชั่น จำกัด
  • บริษัท ไฮเวย์ จำกัด บริษัทในกลุ่มธนาคารทิสโก้
  • บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท โอแลม (ประเทศไทย) จำกัด
  • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
  • บริษัท ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน)

ตัวอย่างที่สุดยอดนายจ้างทำได้ดี

DHL  เด่นระบบบริหารผู้นำทุกระดับต้องเข้ากระบวนการพัฒนา  พนักงานต่อยอดการศึกษาได้ถึงปริญญาเอก

ทิสโก้  เคยพบว่า พนักงานหนี้สินมาก จึงหาวิธีตั้งเป้าปลดหนี้ให้พนักงาน เกษียณแล้วต้องมีอิสรภาพทางการเงิน ขณะนี้ประสบความสำเร็จแล้ว

ธกส . พนักงานมองว่า ผู้บริหารรับฟัง ผู้บริหารได้คะแนนสูง ผู้บริหารระดับสูงเข้าถึงแต่ละสาขาได้ดีมาก  มีสาขามากกว่าสองพันสาขา  หารูปแบบการสื่อสารกับพนักงานทั่วประเทศได้รับข้อความเดียวกัน   ผู้บริหารมีค่าคะแนนการเข้าถึงพนักงานได้สูงมาก  รักษาค่าคะแนนความผูกพันได้ดี

5 เรื่องเด่นที่องค์กรทำให้พนักงานได้

วางแผนกลยุทธ์ ตอบสนองธุรกิจและพนักงาน

ดูแลพนักงานทั้งกายและใจ

สร้างความเสถียรของผู้นำและองค์กร

การสื่อสารที่ดี เข้าถึงพนักงานได้ต่อเนื่อง  ต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน

การรับฟังความคิดที่หลากหลายและแตกต่างกัน  ทำให้เกิดไอเดียใหม่ๆ

แต่ละเจนแตกต่างกัน

เป็นการเปลี่ยนแปลง ประชากรศาสตร์ วิถีทำงาน แต่ละเจนจะมีวิธีดูแลต่างกัน  และคนแต่ละเจนมีมุมมองที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับองค์กรแตกต่างกันไป

เช่น พนักงานกลุ่มเบบี้บูมจะอยู่ทำงานอยู่กับองค์กรนานจนกว่าจะเกษียณ   กลุ่มเจน  X จะมองการเติบโต มีค่าเฉลี่ยอยู่กับองค์กรประมาณ 5- 7 ปี  มีมุมมองต่อความมั่นคงเปลี่ยนไป  จากเชื่อมั่นในองค์กร ก็จะหันมาสร้างความเชื่อมั่นให้ตัวเอง คาดหวังให้องค์กรมีการพัฒนาความสามารถในขั้นสูง

เจน Y  ตอนนี้อยู่ในระดับผู้นำองค์กร     

เจน  C  มองเรื่องสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบโลก ส่วนใหญ่จะ อยู่ในสายเทค

หลังยุคโควิดองค์กรจ้างงานหลายรูปแบบ

หลังโควิด คนกลับมาสมัครบริษัทขนาดใหญ่มากขึ้น  บริษัทขนาดใหญ่ก็มีรูปแบบการจ้างหลายรูปแบบ   ไม่ใช่แค่สัญญาจ้างเดียวแบบเดิมอีกต่อไป

Gen Y และ  Z เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วมในองค์กรน้อยที่สุด

นางนภัส ศิริวรางกูร พาร์ทเนอร์ คินเซนทริค (ประเทศไทย) กล่าวว่า  ปี 2566 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับผู้นำในองค์กร เนื่องจากมีความจำเป็นที่จะต้องคิดหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อรักษาเป้าหมายทางธุรกิจผ่านพนักงานซึ่งเป็นแรงงานสำคัญ

ทั้งนี้ จากการสำรวจพบว่า มีพนักงานเพียงร้อยละ 51 เท่านั้นที่เชื่อว่า องค์กรได้มอบประสบการณ์การทำงานที่เทียบเท่ากับคำมั่นสัญญา เพราะความคาดหวังของพนักงานนั้นเพิ่มขึ้นเสมอ

โดยเฉพาะในประเทศไทยที่พนักงาน Gen Y และ Gen Z เป็นกลุ่มที่มีส่วนร่วม (Engagement) ในองค์กรน้อยที่สุด  ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างโอกาสในการพัฒนาอาชีพให้กับพนักงานกลุ่มดังกล่าว

องค์กรที่ได้รับเลือกให้เป็น ‘สุดยอดนายจ้างดีเด่นโดยคินเซนทริค’  สามารถสร้างการมีส่วนร่วมต่อองค์กรในกลุ่มพนักงานได้สูง ช่วยยืดระยะเวลาที่พนักงานอยู่ทำงานร่วมงานกับองค์กร และยังสร้างผลประกอบการได้สูง

การมอบประสบการณ์การทำงานที่สม่ำเสมอให้กับพนักงาน ทำได้โดยคำนึงถึงปัจจัยหลัก3 ประการได้แก่

1) ความสม่ำเสมอ (Consistency)

2) ความเชื่อมโยง (Connectivity)

3) ความกล้าของผู้บริหารระดับสูง (Courage from the C-Suite)

 

 

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี