เทคโนโลยี

7 เทรนด์โซเชียลกำหนดทิศทางธุรกิจไทยปี 2566

8 กุมภาพันธ์ 2566

7 เทรนด์โซเชียลกำหนดทิศทางธุรกิจไทยปี 2566

facebook  แนะเทรนด์โซเชียลที่น่าจับตามองและธุรกิจควรนำมาปรับใช้เพื่อผลักดันการเติบโตในปี.. 2566

แพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย จาก Meta  เขียนบทความระบุว่า มีความเชื่อมั่นว่า เส้นทางของธุรกิจในประเทศไทยจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นในปี .. 2566

 

 เทรนด์โซเชียลที่น่าจับตามองและธุรกิจควรนำมาปรับใช้เพื่อผลักดันการเติบโตในปี .. 2566 ดังนี้

1. ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI: Generative AI

เป็นเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงปลายปีที่ผ่านมา  AI ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ในขณะที่เทคโนโลยีดังกล่าวยังคงได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง  หลายผลิตภัณฑ์และบริการในปัจจุบันได้ผสานเทคโนโลยี AI เข้าไว้ด้วย เช่น อุปกรณ์สมาร์ทโฮม รถยนต์ไร้คนขับ และผู้ช่วยเสมือนจริง เป็นต้น

การนำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อวิเคราะห์ จัดการ เข้าถึง และให้บริการเชิงให้คำปรึกษาจากข้อมูลที่ไร้โครงสร้างยังคงมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีการคาดการณ์ว่าการลงทุนเพื่อพัฒนาระบบ AI ของ International Data Corporation หรือ IDC จะเพิ่มขึ้นจาก 17.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ใน .. 2565 เป็น 32 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี .. 2568

Meta จึงได้แนะนำเครื่องมือใหม่ ผ่าน Meta Advantage เพื่อช่วยให้ผู้ลงโฆษณาทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากพลังของ AI และระบบการทำงานอัตโนมัติ สามารถลดขั้นตอนในการสร้างโฆษณาแบบแมนนวล และสร้างสรรค์ชิ้นโฆษณาแบบครีเอทีฟที่สามารถผสมผสานกันได้มากถึง 150 รูปแบบโดยอัตโนมัติในครั้งเดียว
2. การส่งข้อความเชิงธุรกิจ

โลกที่เราอยู่ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการส่งข้อความเป็นอันดับแรก จากสถิติทั่วโลก มีผู้คนจำนวนกว่าหนึ่งพันล้านคนที่ส่งข้อความหาธุรกิจในแต่ละสัปดาห์ ผ่าน WhatsApp Messenger และInstagram Direct โดยเป็นการส่งข้อความส่วนตัวหาแบรนด์ต่าง เลือกชมแคตตาล็อตสินค้า ขอความช่วยเหลือ หรือตอบโต้กับ Stories ของธุรกิจ

ทั้งนี้ มูลค่าของโฆษณาที่คลิกต่อไปยังการทักแชททาง Messenger กับธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การส่งข้อความเชิงธุรกิจกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศออสเตรเลีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม

3. การชอปปิงข้ามพรมแดน 

การค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนเติบโตกว่าการค้าอีคอมเมิร์ซภายในประเทศถึง 5 เท่า ภายในปี.. 2569 คาดการณ์ว่า ตลาดการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนทั่วโลกจะมีมูลค่าสูงถึง 2.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปีที่ 17 เปอร์เซ็นต์  โซเชียลมีเดียมีบทบาทที่สำคัญในการค้นพบสินค้าจากธุรกิจในต่างประเทศ

4.Virtual และ Augmented Reality

ปีที่ผ่านมา ธุรกิจเปิดรับการใช้งานเทคโนโลยี AR/VR   มากขึ้น  คอมมิวนิตี้ของครีเอเตอร์ AR แข็งแกร่งมากในไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบประเทศทั่วโลกที่มีจำนวนครีเอเตอร์ Spark AR ที่มีผลงานอย่างต่อเนื่องมากที่สุดในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้ว

  5. ครีเอเตอร์

ครีเอเตอร์คืออนาคต  เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการค้นพบแบรนด์และช่วยประเมินคุณภาพสินค้า   กลุ่มคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะ Gen Z ชาวไทย ให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่พวกเขาติดตามสูง (อินฟลูเอ็นเซอร์)

6.ชอปปิงออนไลน์

นักชอปในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะยังคงซื้อสินค้าออนไลน์ต่อไป ในขณะที่นักชอปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์สูงสุดมากกว่า   สมาร์ทโฟน เป็นเครื่องมือการชอปสินค้าที่สำคัญที่สุดของผู้บริโภค  Gen Z ชาวไทย ระบุว่า เคยสั่งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์ และนัดรับของด้วยตัวเองที่ร้านค้า 

7.วิดีโอสั้น (Short-form video)

ยังคงเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งทั่วโลกอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งาน Instagram ใช้เวลาไปกับวิดีโอ Reels ถึง20 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบัน Reels มียอดดูบน Facebook และ Instagram จากเดิมที่มีรวมกันกว่า 140,000 ล้านครั้งต่อวันเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าตัวในช่วงปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก วิดีโอได้กลายมาเป็นวิธีหลักที่ผู้คนใช้แสดงออกถึงความเป็นตัวตน

 

        

More read

Tags

  • ธุรกิจฟื้น
  • เทรนด์
  • แพร ดํารงค์มงคลกุล Country Director ของ Facebook ประเทศไทย
  • โชเชียลมีเดีย