เทคโนโลยี

MFEC เผยแผนธุรกิจปี 66ใช้กลยุทธ์ O3

11 กันยายน 2566

MFEC เผยแผนธุรกิจปี 66ใช้กลยุทธ์ O3

MFEC  ชูกลยุทธ์ “O3” ผนึกกำลังพันธมิตร ตั้งเป้ารายได้ไซเบอร์ซีเคียวริตี้  1.5 พันล้านบาท จากลูกค้าทั้งภาครัฐและเอกชน

 บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด หรือ MFEC  ผู้เชี่ยวชาญด้านโซลูชันไซเบอร์ซีเคียวริตี้  จัดงาน MFEC Cyber Sec Pro 2023: Protecting your business in a Connected World by Professional   โรงแรมนิกโก้  ทองหล่อ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

 คณะผู้บริหาร MFEC  ประกอบด้วยนายก่อกนก ภัทรเมธาวรกุล ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)และ นายดำรงศักดิ์  รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน) ได้เปิดเผยข้อมูลว่า  ตลาดไซเบอร์ซิเคียวริตี้กำลังเติบโตเนื่องมาจากความต้องการของตลาดที่ผันเปลี่ยนไปในยุคดิจิทัล แทบทุกกลุ่มธุรกิจต่างเล็งเห็นถึงความสำคัญของไซเบอร์ซีเคียวริตี้ และมองหาโซลูชันที่สามารถช่วยเพิ่มความปลอดภัยและแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

MFEC  มีประสบการณ์ไซเบอร์ซีเคียวริตี้มานานกว่า 26 ปี  จึงได้รวบรวมสถานการณ์ปัญหาจริงที่เกิดขึ้นกับลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศไทยนำมาออกแบบกลยุทธ์ O3 เพื่อหาแนวทางที่สามารถแก้ปัญหา

 

กลยุทธ์ O3 ช่วยธุรกิจจากภัยไซเบอร์

Observability – เสมือนมีผู้ช่วยสังเกตการณ์ความเคลื่อนไหวและติดตามหาหลักฐานของผู้โจมตีเพื่อป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์

Orchestrator – ตัวช่วยในการเชื่อมต่อและควบคุมการทำงานของ Software ที่มีความหลากหลายให้ทำงานเชื่อมต่อกันอย่างอัตโนมัติ ช่วยให้องค์กรสามารถกำกับและมองภาพรวมที่สามารถเปิดปิดการป้องกันภัยคุกคามได้อย่างง่ายดาย

Optimization – ยกระดับความปลอดภัยให้ทุกองค์กรสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบไซเบอร์ซีเคียวริตี้ทำงานได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายที่บานปลาย

  ปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีด้านซีเคียวริตี้เป็นตัวสร้างความน่าเชื่อถือให้กับหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น กลุ่มธนาคาร และพลังงาน หรือ Cloud Security Solutions ที่มีแนวโน้มในการใช้งานมากขึ้นในทุกอุตสาหกรรม รวมไปถึงการลงทุนทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐาน (Operational Security) และ AI with Cybersecurity, Automation, API Security และ Cloud Security Posture Management (CSPM)

อาจเป็นเรื่องที่ทุกองค์กรไม่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไป เพราะเทคโนโลยีและการปกป้องทรัพย์สินทางไซเบอร์คือสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจในยุคดิจิทัลที่มีการแข่งขันสูง

  ปัจจุบัน  MFEC  เป็นผู้นำตลาดไซเบอร์ซีเคียวริตี้ระดับ Top 3 ของประเทศไทย   โดยบริษัทฯ ตั้งเป้าไว้ว่า ในปี 2566 ภาพรวมธุรกิจ MFEC จะมีรายได้เติบโตเกิน 15% จากปีที่ผ่านมาซึ่งมีรายได้ 5,453 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนแนวโน้มการเติบโตของกลุ่มไซเบอร์ซีเคียวริตี้ประมาณ 25%

 

 

 

ผู้เขียน
ทีม iJournalist

More read

Tags

  • MFEC
  • ความปลอดภัยไซเบอร์
  • นายดำรงศักดิ์  รีตานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายความมั่นคงปลอ...
  • นายศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการบริหาร บริษัท...