เทคโนโลยี

ตะโกนให้โลกรู้ข้อมูลส่วนตัวสำคัญที่สุด

10 กรกฎาคม 2567

ตะโกนให้โลกรู้ข้อมูลส่วนตัวสำคัญที่สุด

รับมือมิจฉาชีพป่วนหนัก PDPC เตือนภัยประชาชน   ให้ความรู้กฎหมาย “PDPA   ร่วมกัน “ป้องกัน-ระวัง-เข้าใจ” การละเมิดข้อมูลส่วนบุคล

  สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC เปิดเวทีถกประเด็นร้อนในเรื่อง “PDPA กับเรื่องร้องเรียนติดอันดับ” กระตุ้นให้ภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน ร่วมกัน “ป้องกัน-ระวัง-เข้าใจ” การละเมิดข้อมูลส่วนบุคล ภายใต้แคมเปญ Take Control of your Data #ตะโกนให้โลกรู้ข้อมูลส่วนตัวสำคัญที่สุด

โดยมี ผศ.ดร.ประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ และ คุณษมภูมิ สุขอนันต์ นิติกร ศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC  ร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย PDPA, PDPA Center ช่วยเหลือประชาชนอย่างไร, กระบวนการรับแจ้งร้องเรียนและการพิจารณาเรื่องร้องเรียน

นอกจากนี้ยังมีผู้ร้องทุกข์เคสจริง ร่วมพูดคุยแชร์ประสบการณ์ การถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

ป้องกัน ระวัง เข้าใจ

ผศ.ดร.ประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ  เปิดเผยว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของทุกคนมีความสำคัญ ดังนั้นต้องมีความตระหนักรู้ว่า ข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองจะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่ โดยองค์กรมีหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามกฎหมายอยู่แล้ว   หากประชาชนโดนละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล สามารถที่จะขอการเยียวยาได้ด้วยการมาร้องเรียนที่ PDPA Center รับเรื่องเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไป ข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญ ในการที่จะเปิดเผย ต้องตระหนักคนที่รับข้อมูล จะเอาไปเปิดเผยอย่างผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ดังนั้นเรามาสร้างความตระหนักรู้ ป้องกัน-ระวัง-เข้าใจ ในเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

สถิติร้องเรียนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

คุณษมภูมิ สุขอนันต์ ศูนย์ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ฝ่ายรับเรื่องร้องเรียน สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC กล่าวว่า   สถิติช่องทางการเรื่องร้องเรียนมากที่สุด คือ การร้องเรียนผ่านช่องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล ผ่านหน้าเว็บไซต์ www.pdpc.or.th  รองลงมาคือการส่งเรื่องเข้ามาทางไปรษณีย์ และเข้ามาร้องทุกข์-ปรึกษาด้วยตัวเอง ที่ PDPA Center

ในขณะที่สถิติการรับแจ้งร้องทุกข์ ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ถึง เดือนพฤษภาคม 2567 รวม 291 เรื่อง โดยแบ่งเป็นเรื่องอื่น ๆ 48.7% สื่อสังคมออนไลน์ 41% หน่วยงานภาครัฐ 35% ซึ่งเรื่องร้องทุกข์ส่วนใหญ่เป็นเรื่อง เอกชนร้องเอกชน นิติบุคคล อาคารชุด เพราะมีการเก็บข้อมูลของลูกบ้านผู้เช่าไว้เป็นจำนวนมาก

ผศ.ดร.ประพันธ์พงษ์ ขำอ่อน คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า แนวทางไม่ให้เกิดกรณีข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล ซึ่งแต่ละบุคคลจะต้อง ป้องกัน โดยไม่ให้ข้อมูลเกินความจำเป็น , ระวัง  คือ พิจารณาให้ดี ว่าผู้ขอข้อมูลเป็นใคร คิดในแง่ลบเพื่อความไม่ประมาทไว้ก่อน, เข้าใจ ว่าการที่ข้อมูลโดนนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์  ทุกคนสามารถร้องเรียนได้ กับ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) หรือ PDPC ในทุก ๆ ช่องทางการติดต่อ พร้อมรับความรู้ด้านกฎหมาย PDPA ได้ใหม่ในการสัมมนาออนไลน์ของ PDPC ครั้งต่อ ๆ ไป

ช่องทางส่งข้อมูลร้องเรียน

ช่องทางการติดต่อ PDPC หรือ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

สามารถติดต่อ เพื่อสอบถาม ขอคำปรึกษา หรือปรึกษาการยื่นเรื่องร้องเรียนได้ในวัน และ เวลาราชการ

📞  ขอคำปรึกษาเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 02 114 8504 และ 02 141 6993

📞  สอบถามการยื่นคำร้องเรียน : 02 142 1033

📞  ติดต่อ PDPA Center  : 02 027 8852

Line ID: @pdpcthailand

💻  ส่งหนังสือราชการ ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้

📧  e-mail : saraban@pdpc.or.th 🌐 เว็บไซต์ : www.pdpc.or.th

#PDPC #PDPA #สคส #PDPACenter #ข้อมูลส่วนบุคคล

ผู้เขียน
ทีม iJournalist

More read
  • เทคโนโลยี
  • 13 กันยายน 2567

UNIQ เคสรักษ์โลก iPhone16 มารอแล้ว

Tags

  • PDPA
  • PDPC
  • ข้อมูลส่วนบุคคล
  • ช่องทางส่งเรื่องร้องเรียน