เทคโนโลยี

ฤดูฝนปีนี้น้ำมาก3 ภาคเตรียมรับมือ

5 สิงหาคม 2567

ฤดูฝนปีนี้น้ำมาก 3 ภาคเตรียมรับมือ

ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแนวทางแก้ไขปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่ ระหว่างกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท  ซึ่งทั้งสองหน่วยงานจะร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำเพื่ ลดปัญหาน้ำแล้งน้ำท่วมในระดับพื้นที่เป็นครั้งแรก โดยมี  สกสว. สนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ

ในงานดังกล่าว รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์  อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานแผนงานวิจัยเข็มมุ่งด้านบริหารการจัดการน้ำ  ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   ได้พูดถึงแนวโน้มสถานการณ์น้ำของปี 2567 

“จะเข้าสู่ลานิญ่า ตั้งแต่ ส.ค.- ก.ย.นี้จะเข้าลานิญ่าเต็มตัว ประมาณ 15 ก.ค.- 15 ส.ค.จะเป็นช่วงที่ฝนจะทิ้งช่วง หลัง 15 ส.ค.ไปแล้วฝนจึงจะมา ซึ่งจากที่เราคำนวณไว้ จะเข้ามาไม่ต่ำกว่า 2 ลูก ฝนจะตกมากในภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคกลาง  คาดว่า ฝนที่นครสวรรค์ ประมาณปลาย ก.ย.จะขึ้นถึง 3,000-3,500  ล้านลูกบาศก์เมตร    ก็จะเป็นภาวะที่เกิดน้ำท่วม  โดยเฉพาะพื้นที่ติดคันกั้นน้ำ  ซึ่งรัฐบาลได้เตรียม 10 มาตรการไว้โดยเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งก็น่าจะมีโอกาสได้ใช้  ต้องเตรียมตัวว่า ปีนี้น้ำจะเยอะ  มาตั้งแต่ประมาณ 15 ส.ค.-15 ตุลาคม  ปลาย ก.ย.เข้าใจว่า มีโอกาสน้ำท่วม

ผลกระทบต่อ กทม. และปริมณฑล

รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์  บอกว่า ปัจจุบันเราคุมน้ำที่พระนครศรีอยุธยาส่งให้กับทาง กทม.ไม่เกิน 3,000 ซึ่งในระดับ 3,000   ล้านลูกบาศก์เมตร ไม่เกิน 3,500   ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้าเราใช้ทุ่งช่วย เช่น เจ้าเจ็ด และลพบุรี ได้ เข้าใจว่า จะลดได้ประมาณ 500  ล้านลูกบาศก์เมตร เพราะฉะนั้นเราจะส่งได้ปริ่ม ๆ น้ำประมาณ 3,000  ล้านลูกบาศก์เมตร ผ่านเจ้าพระยามาถึงปทุมธานีและกรุงเทพฯ

ปัญหาของปทุมคือ มีคันกันน้ำที่สร้างไว้ตั้งแต่ปี 2554  พังเป็นแนวยาวประมาณ 70 เมตร ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉพาะกิจ ซึ่งกรมชลประทานจะซ่อมแบบเร่งด่วนให้สามารถใช้การได้ก่อนที่ฝนจะมา  หลังจากนั้นค่อยมาซ่อมถาวรในฤดูแล้งปีหน้า

น้ำเหนือมาสูงสุดเดือนกันยายน

ต้องติดตามว่าฝนที่เราคาดการณ์ประมาณ 3,000 ถึง 3,500  ลูกบาศก์เมตร  เราควบคุมได้  ยกเว้นฝนจะมามากกว่านั้น คงต้องใช้ทุ่งที่มีอยู่ให้มากขึ้น  เป็นภาวะฉุกเฉินที่จะต้องเตรียมการ ล่วงหน้าไว้แล้ว   พายุเข้าตั้งแต่ช่วง 15 สิงหาคมไปเรื่อย คาดว่าน้ำจากเหนือจะลงมาสูงสุดอยู่ที่ปลายเดือนกันยายน

อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำ 3,500  ลูกบาศก์เมตร ยังต่ำกว่าปี 2544 ที่ขึ้นมากว่า  4,000  ลูกบาศก์เมตร   ในพื้นที่นอกคันคงจะท่วม ก็ต้องเตรียมโยกย้ายหรือภาวะฉุกเฉิน ส่วนพื้นที่ในคันเฉพาะพื้นที่ชุ่มน้ำ 11 ทุ่งที่เตรียมไว้ก็คงเลือกใช้เป็นช่วง ๆ ตั้งแต่ต้น ก.ย.ถึงปลาย ก.ย.

แผนบริหารจัดการน้ำ

ซึ่งในฐานะผู้อำนวยการแผนงานการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ ด้านการบริหารจัดการน้ำ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)   รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์  บอกว่า  การบริหารจัดการแผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานบริหารจัดการน้ำ  จะเน้นที่คลินิก อว. 4 ด้าน  ดังนี้ 

1.คลินิกพัฒนาคน : เกษตรกร องค์กรผู้ใช้น้ำ เจ้าหน้าที่ อปท. ชลประทาน

2.คลินิกสารสนเทศ:  มีระบบสารสนเทศชุมชนเพื่อการบริหารจัดการน้ำ สร้างความชอบธรรม ใช้น้ำอย่างประหยัด

3.คลินิกน้ำ: ได้แผนน้ำชุมชนเชื่อมโยงแผนน้ำจังหวัด

4.:คลินิเกษตร: เกิดการสร้างรายได้อย่างเป็นรูปธรรม  โดยมีเป้าหมายลดการใช้น้ำร้อยละ 15 ผ่านการใช้เทคโนโลยีและกระบวนการชุมชน

ผู้เขียน
ทีม iJournalist

Share
Related
More read

Tags

  • การบริหารจัดการน้ำปี 2567
  • น้ำท่วม
  • น้ำแล้ง
  • รศ.ดร.สุจริต คูณธนกุลวงศ์
  • สกสว
  • สถานการณ์น้ำปี 2567