สถานการณ์โรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลังและระบบประสาท ในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มมนุษย์ออฟฟิศที่ต้องเร่งรีบในการทำงาน หรือนั่งทำงานเป็นเวลานาน
จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าโรคปวดหลังทุกชนิดมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 33.29 และพบว่าสูงสุดในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป, พนักงานเอกชน รองลงมาคือกลุ่มทำงานภาคเกษตรกรรม โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ช่วงอายุที่พบมากคือ 45-54 ปี รองลงมาช่วงอายุ 55-64 ปี
ส่วนสาเหตุของโรคกระดูกสันหลังที่มักพบได้มากในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากพฤติกรรมของคนกลุ่มนี้ ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน โดยไม่ได้ขยับตัวหรือเปลี่ยนอิริยาบถ ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการตึง และอักเสบได้
นพ.ศรัณย์ จินดาหรา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเอส สไปน์ แอนด์เนิร์ฟ กล่าวว่า หากมีการปรับพฤติกรรมจะสามารถลดอัตราการเกิดโรคกระดูกสันหลังได้ เช่น การจัดท่าทางในการใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยการเสริมจอคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้น และขยับจอมาชิดตัวเราในท่าที่พอดีไม่ต้องก้มเงยมากเกินไป ส่วนเก้าอี้ทำงานถือเป็นส่วนสำคัญไม่ต่างจากจอคอมพิวเตอร์เพราะเก้าอี้ที่ดีควรรับสรีระของเรา ได้ เก้าอี้ที่ดีต้องมีที่พักแขน ที่รับบริเวณคอ ทำให้คอเราสบายขึ้น อีกส่วนสำคัญที่หลายคนลืมคือ การนั่งทำงานควรมีหมอนซัพพอร์ตหลังเพื่อสรีระที่ดี
โดยรวมเราควรมองเห็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ในลักษณะหน้าตรงให้มากที่สุด และควรเปลี่ยนอิริยาบถในขณะทำงาน โดยลุกเดินอย่างน้อยทุก 1-2 ชั่วโมง หรือหากใช้โน๊ตบุ๊ค ต้องมีอุปกรณ์เสริมช่วยในการวางโน๊ตบุ๊คให้ตั้งตรง ที่สำคัญควรต้องมีคีย์บอร์ดที่แยกต่างหาก การปรับสภาพแวดล้อมจัดโต๊ะเก้าอี้และคอมพิวเตอร์ในการทำงาน ถือเป็นวิธีหนึ่งที่แพทย์แนะนำเพื่อลดความเสี่ยง
แต่หากเกิดภาวะเจ็บป่วยแล้ว การทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกายถือเป็นการรักษาในระยะเริ่มต้นวิธีหนึ่ง แต่บางรายเมื่อแพทย์พบว่ามีอาการปวดเรื้อรัง สุดท้ายก็ต้องเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด
ผลกระทบจากวิกฤต PM2.5 เรื้อรัง ส่งผลยีนกลายพันธุ์ก่อโรคมะเร็งปอด
8 เทรนด์กระเบื้องมาแรงปี 2025 “From Nature to Life” เชื่อมโยงธรรมชาติกับชีวิต
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้