ข่าวทั่วไป

‘Flow’ & ‘ย้วย’ Street Furniture สุดล้ำ

7 กุมภาพันธ์ 2566

สำหรับผู้ที่หลงใหลในเรื่องของดีไซน์เฟอร์นิเจอร์ ที่มีเท็กซ์เจอร์ซับซ้อนแต่ดูไม่ซับซ้อน โค้งมน สวยเก๋ ดูง่ายแต่แฝงความยากด้วยดีไซน์ การออกแบบสุดล้ำ เน้นความสวยงามแต่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สะท้อนเสน่ห์กรุงเทพฯ ในเวอร์ชั่นที่ดีกว่า ไม่ควรพลาด ‘Street Furniture’ จาก 3 ดีไซน์เนอร์ไทย ภายใต้แนวคิด ‘Complexity is free’

เป็นครั้งแรกกับการนำ สีแดงก่ำ “Scarlet Sage” ซึ่งเป็นเทรนด์สีแห่งปี สะท้อนถึงพลังการทำงาน เหมาะกับการนำมาใช้ในธุรกิจด้านออกแบบภายในและวงการศิลปะมาผสานนวัตกรรมการออกแบบสุดล้ำ “CPAC 3D Printing Solution” จาก CPAC Green Solution

“Flow” ผลงานออกแบบของ พิพิธ โค้วสุวรรณ Design Director แห่ง Salt and Pepper Studio เน้นอิสระของลายเส้นต่อเนื่องและคดเคี้ยว จนบางทีก็ลืมไปว่าเริ่มต้นจากตรงไหน และกำลังจะไปสิ้นสุดที่ตรงไหน ซึ่งภายใต้ความอิสระก็แฝงไปด้วยความงามในเชิงศิลปะ ความซับซ้อนที่สอดประสานกับบริบทของธรรมชาติ มีความถ่อมตัว โดยจะเห็นว่าท่ามกลางความงามของเฟอร์นิเจอร์ ยอมให้ต้นไม้ต้นเล็กหรือหญ้าขึ้นแทรกผ่านชิ้นงาน เกิดเป็นความงามที่เปลี่ยนแปลง ผสานกลมกลืนไปด้วยกันกับธรรมชาติได้ โดยกระบวนการทำงานของ Concrete 3D Printing มีการตั้งเป้าให้ออกแบบมาอย่างเรียบง่าย แต่แฝงความน่าสนใจ มีการ Twist บางอย่างในงานออกแบบ ยิ่งชิ้นงานดูง่าย ยิ่งมีความซับซ้อน ให้ความสำคัญเรื่องระบบเพื่อสร้างรูปแบบใหม่ๆ ได้เองโดยไม่ยึดติดกับรูปทรงที่ตายตัว

พิพิธ โค้วสุวรรณ เล่าว่า ภายใต้ชื่อผลงาน Flow นี้ มาจากการเขียนเส้นต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เหมือนวิธีการทำงานของ “CPAC 3D Printing Solution” เทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ โดยชิ้นงานมีขนาดอยู่ที่ 3 x 3 เมตร ใช้เวลาในการผลิต 20 ชม. และติดตั้งประมาณ 2-3 ชม. ซึ่งเราตีโจทย์ออกมาให้ฟังก์ชันการใช้งานสามารถทำเป็นเชิงพาณิชย์ได้จริง สามารถแยกชิ้นส่วนและนำมาประกอบให้เกิดอิริยาบทที่แตกต่างไป ปรับเปลี่ยนตามความต้องการในการใช้งานได้อย่างอิสระ แต่ยังคงความสวยงามในทุกรูปแบบ พร้อมทั้งการนำเทรนด์สีแดง Scarlet Sage มาใช้ จะยิ่งเพิ่มความโดดเด่น สวยงามสะดุดตา ขณะเดียวกันก็สามารถกลมกลืนไปกับธรรมชาติได้อย่างลงตัว

“ย้วย  ผลงานการออกแบบของ 2 ดีไซเนอร์จาก FATTSTUDIO ARCHITECT วัทธิกร โกศลกิตย์ Design Director และ สุพรรณา จันทร์เพ็ญศรี Principal Director คอนเซปต์ของงานชิ้นนี้ เป็นการทดลองหารูปร่างของชิ้นงานภายใต้โจทย์ Street Furniture ผ่านกระบวนการผลิต CPAC 3D Printing Solution จึงออกมาในรูปแบบของดอกไม้ และม้านั่ง ภายใต้ชื่อผลงาน “ย้วย” โดยที่มาของชื่อผลงาน มาจากการขึ้นรูปใน element ที่ซ้ำไปซ้ำมา ประกอบกับรูปทรงของดอกไม้ที่ทรงดูย้วย และม้านั่งยาวที่เราสามารถย้วยลงไปนอนได้ด้วยเช่นกัน

วัทธิกร โกศลกิตย์ เล่าว่า ผลงานชิ้นแรก เป็นการนำเส้นรอบนอกของดอกไม้ทั้งหมด 3 รูป ทดลองสร้างโมเดลจากการเปลี่ยนขนาดเล็กไปหาใหญ่ ใหญ่ไปหาเล็ก ตามลำดับ ต่อมาคือการลองหมุน ไม่ว่าจะเป็นส่วนบนหรือส่วนท้าย เพื่อทดสอบข้อจำกัดในการผลิต ขณะที่ในส่วนของชิ้นที่ 2 คือม้านั่งยาว เป็นการเริ่มจากการนำระยะมาตรฐานของเก้าอี้ทั่วไปมาเป็นจุดเริ่มต้นโดยเพิ่มพนักพิง ความน่าสนใจอยู่ที่จะเป็นอย่างไร หากการทำซ้ำโดยค่อยๆ ปรับเปลี่ยนภาพตัดไปในแต่ละระยะตามเส้นกำหนดระยะที่เป็นส่วนโค้ง จนถึงภาพสุดท้าย คือการเป็นระยะม้านั่งทั่วไป ซึ่งไร้พนักพิง ทำมุมฉากกับภาพตัดตัวเริ่มต้น จึงได้ภาพสุดท้ายที่พอใจ โดยมีขนาดที่นั่งกว้าง 70 ซม. ยาว 2 ม. ซึ่งใช้ระยะเวลาการผลิตเพียง 12  ชม.และยกไปติดตั้งหน้างานในระยะเวลาเพียง 1 ชม. เป็นการลดระยะเวลาการทำงาน ลดการก่อสร้างที่ไม่เหลือ Waste ลดการใช้วัสดุและทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่า ตอบรับกับนวัตกรรมที่ส่งเสริมในด้านเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน

สนใจไปชม “Flow” และ “ย้วย ได้ในงาน Bangkok Design Week 2023” (BKKDW 2023)  4-12 ก.พ. นี้ เวลา 11.00 – 22.00 น. ณ River City Bangkok ซ.เจริญกรุง 24

More read

Tags

  • Bangkok Design Week 2023
  • BKKDW 2023
  • CPAC 3D Printing Solution
  • Flow
  • Street Furniture
  • พิพิธ โค้วสุวรรณ
  • ย้วย
  • วัทธิกร โกศลกิตย์
  • สุพรรณา จันทร์เพ็ญศรี