“ฝีแปรงค่อยๆ ตวัดขึ้นลง จากสีเข้มไปสีอ่อน มีนัยสื่อความหมายถึงการไปสู่สิ่งที่ดีกว่า “ เป็นการถ่ายความหมายจากเวทีประกวดจิตรกรรมยูโอบี ประจำปี 2565
ตัน ชุน ฮิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า ศิลปะช่วยสร้างแรงบันดาลใจ เชื่อมโยงผู้คนเข้าหากัน การจัดประกวดจิตรกรรมของยูโอบี ยังช่วยให้ศิลปินมีโอกาสไปสู่อาชีพในเวทีต่างประเทศ
สำหรับการประกวดจิตรกรรมยูโอบี ปี 2565 ระดับศิลปินหน้าใหม่และศิลปินอาชีพ เป็นการประกวดที่ไม่กำหนดหัวข้อ ศิลปินส่งผลงานได้อิสระ
ผลงานชนะเลิศ ประจำปี 2565 ศิลปินอาชีพ คือ ผลงานชื่อ ดิสโทเปีย ของนายชมรวี สุขโสม ซึ่งใช้เทคนิคงานจิตรทุกรูปแบบวาดบนผืนผ้าใบ ทั้งสีอะคริลิก สีน้ำมัน ลายเส้นและแผ่นทอง
ชมรวี สุขโสม ศิลปินเจ้าของผลงานดิสโทเปีย จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก มทร.ธัญบุรีระดับปริญญาโท จาก ม.ศิลปากร เล่าให้ฟังว่า ได้สะท้อนความเป็นจริงที่เกิดขึ้นโลกมนุษย์ทั้งสงครามโรคระบาด ความเหลื่อมในสังคม และการเมือง จากนามธรรมเป็นรูปธรรม ซึ่งทำได้ยากมาก ใช้เวลาประมาณ 1 ปี กว่าจะเสร็จ เคยส่งผลงานเข้าร่วมประกวดกับเวที ยูโอบีมาแล้วสองครั้งแต่ไม่ผ่านเข้ารอบครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่เข้ารอบและได้รางวัลชนะเลิศ
“เวทีของยูโอบี เป็นเวทีประกวดงานจิตรกรรม ที่เปิดกว้างมาก เหมือนเปิดประตูให้ศิลปินไทยมีโอกาสนำเสนอชิ้นงานในต่างประเทศ เงินรางวัลที่ได้สัญญากับพ่อไว้ว่า ถ้าได้รางวัลจะเอาตังค์ให้พ่อไปไถ่ถอนธนาคาร”
ส่วนผลงานชนะเลิศประเภทศิลปินหน้าใหม่ ได้แก่ผลงานชื่อ วิถีชนบท ของ นายนาวิน พลพงศ์ นิสิตปี 5 คณะศึกษาศาสตร์ ม.ทักษิณ
นาวิน กล่าวว่า ส่งผลงานเป็นครั้งแรก ไม่คิดว่าจะได้รางวัลชนะเลิศ ผลงานวิถีชนบท ทำจากกาบมะพร้าว เรียกว่าเทคนิคสื่อผสมบนแผ่นไม้ เพราะที่บ้านเป็นสวนมะพร้าว มองเห็นโทนสีที่แตกต่างกันของกาบมะพร้าวที่มีความงดงาม จึงถ่ายทอดมาให้เห็นเป็นวิถีของคนในชนบท ในสวนมะพร้าว
ผลงานชนะเลิศทั้งสองประเภท และผลงานที่เข้ารอบ จะนำไปจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2565 จากนั้นจะไปจัดแสดงที่ธนาคารยูโอบี สำนักงานเพชรเกษม และอาคารยูโอบีพลาซ่า จนถึงเดือนมกราคม 2566 จากนั้นจะไปนำจัดแสดงงานถาวรที่ประเทศสิงคโปร์
ไม่มีจินตนาการก็จะไม่มีการสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ งานศิลปะจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยยกระดับจิตวิญญาณของผู้คน
บรรณาธิการเทคโนโลยี
กาตาร์แอร์เวย์ส เผยโฉม 'Qsuite Next Gen' ที่นั่งชั้นธุรกิจแบบใหม่
เด็กไทยส่อมีโรคประจำตัวจากความดันสูง 10% เหตุกินขนมกรุบกรอบทุกวัน ซ้ำติดปรุงเค็ม