ก่อนงาน WWDC22 จะเริ่มขึ้นในอีกไม่กี่ชั่วโมงนับจากนี้ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.2565 Twitter ของ Tim Cook , CEO Apple ได้โพสต์ข้อความและภาพ ดังนี้ “ The talented student developers I met today are going places! They let their passion for coding and creative problem-solving shine through in areas as diverse as gardening, gaming, quantum physics, and more. Never stop innovating! #WWDC22
วันนี้ ได้มาพบกับนักพัฒนาในระดับนักเรียน ที่มีความสามารถ พวกเขาหลงใหลการเขียนโค้ดและหาวิธีแก้ปัญหาต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ เช่นทำสวน เกม ควอนตัม และอื่นๆ # อย่าหยุดสร้างนวัตกรรม
ทั้งนี้ Apple ได้ให้ตัวแทนนักเรียน นักศึกษา จากหลายประเทศทั่วโลก ที่มีผลงานชนะการแข่งขัน ในประเภทต่างๆ ของโครงการ Swift Student Challenge ภายในงาน Worldwide Developers Conference 2022 ได้นำเสนอผลงานต่อ Tim Cook ซีอีโอ Apple ผ่านทางระบบคอนเฟอเรนท์ ซึ่งทาง Apple ได้คัดเลือกตัวแทนเด็กไทย คือ นางสาว อัยย์ญดา เกรียงไกรศักดิ์ นักเรียน ชั้น ม.5 สาขาวิทย์–คณิต จาก โรงเรียน มงฟอร์ตวิทยาลัย ร่วมนำเสนอผลงานชื่อ EmergenCPR เป็นการพัฒนาเกี่ยวกับการบอกจังหวะการปั๊มหัวใจโดยมีแยกรูปแบบของเด็กและผู้ใหญ่พร้อมทั้งมีวิธีการจัดท่าทางผู้ป่วยก่อนทำการเริ่ม
การนำเสนอผลงาน เด็กๆ ที่เป็นตัวแทน จะได้เวลาคนละ 2 นาที เพื่อแนะนำตัวและเล่าถึงชิ้นงานการเขียนโค้ดของตัวเอง
สำหรับในงาน WWDC22 เป็นครั้งแรกที่มีนักเรียนไทยมากถึง 12 คน มีผลงานชนะในโครงการ Swift Student Challenge ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ ให้วงการเขียนโค้ดระดับนักเรียนนักศึกษา
นอกจากนางสาวอัยย์ญดา แล้ว อีก 11 คน ที่ได้รางวัล คือ นาย อภิภูมิ ชื่นชมภู ชั้น ม.6 โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ชื่อผลงาน : OthelloZ คือแอปพลิเคชันที่จะทําให้เราได้สู้กับเพื่อนหรือ AI ในเกม Othello หรือที่คนไทยรู้จักในชื่อ “หมากหนีบ” โดยแอปถูกออกเเบบให้โค้ดที่เขียนเป็นแบบ “Clean Architecture Code” โดยจุดประสงค์ของการใช้ Clean Architecture จะช่วยให้เราสามารถแยก layer ของโค้ด โดยในแต่ละ layer ก็จะทำงานของตัวเองอย่างชัดเจน หรือที่เราเรียกว่า“Separation Of Concern”
นาย ศุภโชติ ตระการศิโรรัตน์ ชั้น ม.5 โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย ชื่อผลงาน : The Magic of Color: เป็นแอปหมวดหมู่เพื่อการศึกษา โดยมีคอนเซ็ปท์หลักคือ การสอนเกี่ยวกับการผสมสีโค้ดสี และโทนสี รวมไปถึงมีเกมจำลองผสมสี และ กิจกรรมต่างๆให้เล่นที่ได้ทั้งความสนุกและความรู้
นางสาว รมย์รดา ลาดมะโรง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อผลงาน Fishing Shark เป็นเกมตกปลาที่ให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของทะเลเมื่อมีการล่าฉลาม
นางสาว นันทนัช ทองเทพ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขา คอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร ชื่อผลงาน InsideThailand แอพนำเสนอเรื่องราวของประเทศไทยให้กับผู้อื่นได้เรียนรู้เช่นกัน ผ่านการใช้animation เป็นตัวสร้างบรรยากาศ เนื้อหามีทั้ง สถาปัตยกรรม, อาหาร และสิ่งของเครื่องใช้ มาคู่กับฟังก์ชั่น text-to-speech ในการช่วยผู้ใช้อ่าน
นาย วงศ์ไกรวิชชญ์ ชื่นชมภู โรงเรียนสาธิตสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ชื่อผลงาน : mixr เป็นแอปพลิเคชันที่ใช้ในการอ้างอิงเสียง และการปรับเสียงแยกกันใน Virtual Mixer ช่วยให้ Mix Engineer หรือผู้ที่ต้องการเริ่ม mix เพลงใช้เทียบเพลงของตัวเองได้กับอุปกรณ์จริง เพื่อเทียบกับหูฟังหรือลำโพงที่ใช้ในการ mix อาชีพ Mix Engineer คือผู้ที่นำเสียงทุกอย่างมาผสมกันเพื่อสร้างเพลงขึ้นมา
นาย ฐณัจฉพงศ์ ปรีดากัญญารัตน์ โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ผลงาน : Queuty เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับผู้ที่ต้องการจะจัดการเวลาสำหรับทุกคน เน้นไปที่บุคคลผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์โดยที่บุคคลที่เป็นดูแลจำเป็นต้องทำหน้าที่หลายอย่างในเวลาและต้องเรียงระดับความสำคัญให้ถูกต้องเพื่อให้ชีวิตของผู้ป่วยอัลไซเมอร์มีชีวิตที่ดีขึ้น
นายนรภัทร พรหมบุตร โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ผลงาน : Save Food ช่วยบอกวิธีการจัดเก็บอาหารให้ถูกที่และถูกวิธี เพราะส่วนนึงในการที่คนทิ้งอาหารเกิดจากการเน่าหรือเสียจากการจัดเก็บไม่ถูกที่หรือไม่รู้วิธีจัดเก็บที่ถูกวิธี ไม่ต้องทิ้งวัตถุหรืออาหารก่อนที่จะหมดอายุ
นาย ภูริภัทร กิจการเจริญสิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาควิชาสถิติ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อธุรกิจ ผลงาน : SEGREGATION แอปที่เกิดจากแรงบันดาลใจเรื่องปัญหาการแยกขยะในสังคมเมืองโดยเริ่มจากระดับครัวเรือน (Household) ซึ่งการทำงานจะสามารถเลือกรายการขยะที่มีจากนั้นแอปจะแยกขยะออกเป็นประเภทต่าง ๆ ให้ ผู้ใช้สามารถแยกขยะได้ตามผลลัพธ์ที่แสดงได้
นาย พิชชาทร ศิระมานะกุล โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ผลงาน : Student Manager เป็นแอปที่จะช่วยให้ผู้ปกครองบริหารเวลาเด็ก ให้เด็กใช้เวลาให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
นาย เดวิด แมทธิว เนแธนสัน โรงเรียนวารีเชียงใหม่ ผลงาน : UnWasteIt คือแอปพลิเคชั่นที่จะช่วยจัดการและลดขยะอาหาร ลดการใช้จ่าย และช่วยเหลือผู้คนที่ต้องการ
นาย สรรพวัศ ซิ่วสุวรรณ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงาน : AU Token คือระบบคู่เหรียญดิจิตอลสำหรับนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ประกอบไปด้วยAcademic Token ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งในเชิงวิชาการ และ Lifestyle Token สำหรับกิจกรรมต่างๆและชีวิตในมหาวิทยาลัย
???? ฝากกดติดตามแฟนเพจ iJournalist #ให้แง่คิดเข้าใจง่ายเรื่องใกล้ตัว
???? Website : www.ijournalist.co
????TikTok : ijour_nalist
???? IG : ijour_nalist
✍️ TW : ijour_nalist
ติดต่อทีมงาน : ijournalist.team@gmail.com
#ijournalis#WWDC22#ปรารถนาฉายประเสริฐ
ไม่ง่ายซัมซุงติดตั้ง Galaxy S24 Ultra บนเรือใบในโอลิมปิกปารีส 2024
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้