ปัญหาเหงื่อออกเท้า ยังคงเป็นปัญหาที่พบเจอได้บ่อย นอกจากไม่เพียงแต่ทำให้เกิดกลิ่นเท้า แต่ยังทำให้ขาดความมั่นใจ แต่ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยศาสตร์ ทรวงอกเฉพาะทางด้านการผ่าตัดส่องกล้องในช่องทรวงอก โรงพยาบาลวชิรพยาบาล กล่าวว่า โรคเหงื่อออกเท้าเป็นการปรับอุณหภูมิของร่างกายในการทำให้เท้าเย็นลง สร้างความสมดุลให้เซลล์ผิว แต่ถ้าเหงื่อออกเท้ามากเกินไปจนส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กโดยเร็ว โดยอาการเหล่านี้บ่อยครั้งที่มักเกิดจากต่อมเหงื่อถูกกระตุ้นการทำงานมากกว่าปกติ จนทำให้เกิดภาวะเหงื่อออกเท้ามากผิดปกติ (Palmar Hyperhidrosis) โดยอาการที่ผิดปกติ คือ เหงื่อออกเท้ามากเกินไปสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และมักเป็นบริเวณเท้าทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการสัมพันธ์ร่วมกับเหงื่อออกมือหรือรักแร้ และอาการดังกล่าวนั้น มักเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆหรือภูมิอากาศ โดยมักเป็นตั้งแต่อายุน้อย ๆ หรือมักมีประวัติครอบครัวมีอาการคล้ายคลึงกัน
วิธีการรักษาเหงื่อออกเท้าในปัจจุบัน เริ่มจากการใช้ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อและรับประทานยาตามที่แพทย์แนะนำหากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจใช้การฉีดโบทูลินัมท็อกซิน ถ้ายังไม่ได้ผลอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดส่องกล้อง เพื่อยับยั้งการผลิตเหงื่อเท้าโดยเป็นไปตามการวินิจฉัยและคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ
ปัจจุบันการผ่าตัดเหงื่อออกเท้าด้วยเทคโนโลยีการผ่าตัดส่องกล้อง (Endoscopic Lumbar Symphatectomy) ผ่านช่องท้องเพื่อเข้าไปหนีบเส้นประสาทของต่อมเหงื่อเท้าทั้ง 2 ข้าง โดยมีแผลเล็กขนาด 2 เซ็นติเมตร 1 จุด และ 5 มิลลิเมตร อีก 2 จุด ที่ด้านข้างของท้องแต่ละข้าง อีกทั้งยังสามารถทำพร้อมกับการแก้เหงื่อออกมือหรือรักแร้พร้อมกันทีเดียว ซึ่งหลังการผ่าตัดผู้ป่วยพักฟื้นเพียง 1 วันก็กลับบ้านได้ โดยหลังการผ่าตัดอาการเหงื่อออกเท้าจะดีขึ้นทันที กลับมามั่นใจกับสุขภาพชีวิตของตนเองอีกครั้ง
“สำหรับคนที่มีภาวะโรคเหงื่อออกที่เท้า สามารถเข้ามาปรึกษาในโรงพยาบาลวชิรพยาบาลได้เลยนะครับ จะมีทีมแพทย์พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลเรื่องนี้อยู่โดยเฉพาะ คนไข้ที่มีภาวะเหงื่ออกที่เท้า สามารถเข้ามาที่นี่ หรือติดต่อได้ที่ นายแพทย์ศิระหรือ Lineid:@lungsurgeryth” ผศ.นพ.ศิระ เลาหทัย กล่าวสรุป
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้