ใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความ’สุข’
เริ่มจากที่ประชุมสหประชาชาติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2012 มีมติให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันความสุขสากล( International Day of Happiness) เป็นวันที่คนทั่วโลกจะร่วมเฉลิมฉลอง ตระหนักถึงความสุขซึ่งเป็นพื้นฐานของมนุษย์ และเรียกร้องให้แต่ละประเทศผลักดันนโยบายสาธารณะที่จะเพิ่มความสุขให้แก่ประชาชนทุกคน
ดัชนีวัดมวลรวมความสุข หรือ Gross National Happiness Index (GNH) เน้นให้คุณค่ากับจิตใจที่ดีของประชาชนเป็นหลัก ปัจจัยความสุขที่สหประชาชาติใช้วัดมวลรวมความสุข มีทั้งรายได้ การมีงานทำความสัมพันธ์ที่ดี ความไว้วางใจกันในชุมชน การมีค่านิยมที่เอื้อต่อความสุขและศาสนา สุขภาพกายสุขภาพจิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว การศึกษา เสรีภาพทางการเมือง ความเข้มแข็งของเครือข่ายสังคมการไม่มีคอร์รัปชัน ความเท่าเทียมทางเพศและสังคม ฯลฯ
จาก ข้อมูลในวิกิพีเดีย ดัชนีความสุขโลก ปี 2566 (World Happiness Index 2023) ของสหประชาชาติ ได้จัดอันดับ 10 ประเทศที่มีความสุขมากที่สุด เรียงตามลำดับ
ฟินแลนด์ เดนมาร์ก สวิตเซอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก สวีเดน นอร์เวย์ อิสราเอล และนิวซีแลนด์
ส่วนในอาเซียน สิงค์โปร์ เป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก ตามด้วยประเทศไทย และประเทศที่มีความสุขน้อยที่สุดในการสำรวจครั้งนี้คือ อัฟกานิสถาน
มีข้อมูลจากภาควิชาจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มาเล่าให้ฟังค่ะ
ความสุขของมนุษย์แบ่งเป็น 2 รูปแบบ
Hedonic ประกอบด้วย อารมณ์เชิงบวก สนุกสนานเพลิดเพลิน ปราศจากความรู้สึกเจ็บปวด
Eudaimonic ประกอบด้วย การได้เติมเต็มเป้าหมายในชีวิต ได้พัฒนาศักยภาพของตนเองอย่างเต็มที่ และมีความสุขระยะยาว
ความสุขทั้งสองรูปแบบนี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องรักษาสมดุลนี้ให้ได้ เช่น ได้ไปเที่ยวพักผ่อนในวันหยุด
ทำอย่างไรจึงจะมีความสุข
ดูแลสุขภาพร่างกายอย่างเหมาะสม
มีความสุขกับปัจจุบัน ไม่กังวลกับอนาคตจนเกินไป
สร้างความเพลิดเพลินกับคนรอบข้าง
มีพื้นที่ปลอดภัยให้ตัวเอง
มีเป้าหมายในการดำเนินชีวิต
อ่านมาถึงตรงนี้ ลองสำรวจตัวเอง ว่ามีครบความสุขทุกรูปแบบมั๊ย
Voice for change ผลักดันสิทธิการรักษามะเร็งตับด้วยยานวัตกรรม
“ซอสมังคุด” ใช้งานวิจัยเปลี่ยนกากและเม็ดเป็นซอสอร่อยสารพัดจิ้ม
ผัดกะเพรายืนหนึ่งเมนูสตรีทฟู้ดยอดฮิตแห่งปี 2567 บน foodpanda