เทคโนโลยี

กรณีตัวอย่างนักวิจัยใช้ Apple Watch ศึกษาองค์ความรู้ใหม่ด้านหัวใจ

27 กุมภาพันธ์ 2566

กรณีตัวอย่างนักวิจัยใช้ Apple Watch ศึกษาองค์ความรู้ใหม่ด้านหัวใจ

มีข้อมูลว่า ในแต่ละวันหัวใจของผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีโดยเฉลี่ยจะเต้นมากกว่า 100,000 ครั้ง การเต้นแต่ละครั้งในแต่ละวันก่อให้เกิดเป็นภาพซึ่งส่วนใหญ่ผู้คนไม่ทันสังเกตเห็น

แต่ Apple Watch ทำให้มองเห็นสิ่งที่เคยมองไม่เห็นมาก่อน

คุณสมบัติสุขภาพหัวใจ ได้แก่ การแจ้งเตือนอัตราการเต้นของหัวใจเร็วและช้า การแจ้งเตือนคาร์ดิโอฟิตเนส การแจ้งเตือนจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ แอป ECG และประวัติภาวะ AFib ทั้งหมดทำให้ Apple สามารถมอบมุมมองพัฒนาการด้านสุขภาพของผู้ใช้ได้อย่างต่อเนื่องพร้อมข้อมูลเชิงลึกที่นำไปใช้ได้จริง

ตั้งแต่ Apple เปิดตัว ResearchKit และ CareKit เมื่อปี 2015 ทำให้นักวิจัย แพทย์ และนักพัฒนาค้นพบแนวทางใหม่ที่ล้ำหน้าในการศึกษา ติดตาม และรักษาอาการหลากหลายรูปแบบ

Apple ยังได้เปิดตัว Investigator Support Program ซึ่งช่วยส่งเสริมการค้นพบใหม่ๆ ที่ปรับปรุงเรื่องสุขภาพได้ในวงกว้าง โดย Apple ได้มอบอุปกรณ์ Apple Watch แก่นักวิจัยผ่านโปรแกรมดังกล่าวทำให้นักวิจัยสามารถคิดค้นงานวิจัยเพื่อสุขภาพใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงวิทยาศาสตร์ด้านการทำความเข้าใจเรื่องหัวใจ

กรณีศึกษาในออสเตรเลีย

รองศาสตราจารย์ Rachel Conyers และ ดร. Claudia Toro ซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสด้านโรคมะเร็งในเด็กจากเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ใช้เวลาโดยส่วนใหญ่ไปกับการดูแลเด็กๆ ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิด้านโรคมะเร็งในเด็กและการวิจัยความเป็นพิษเกี่ยวกับการรักษามะเร็งในเด็กภายใต้ Murdoch Children’s Research Institute ทั้งสองคนร่วมกันศึกษาว่า การรักษามะเร็งอาจส่งผลต่อจังหวะการเต้นของหัวใจอย่างไร และพยายามมองหาแนวทางที่ทันสมัยเพื่อยับยั้งปัญหาดังกล่าว โดยได้รับแรงบันดาลใจจากผู้ป่วยของทั้งสองคน ทั้งในกรณีที่ประสบความสำเร็จและที่เป็นเรื่องเศร้า

ความเป็นพิษในการรักษามะเร็งอาจก่อให้เกิดการรบกวนจังหวะการเต้นของหัวใจ เช่น กลุ่มอาการQT ยาว ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต กลุ่มอาการ QT ยาวทำให้เกิดจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ ทำให้การไหลเวียนของเลือดผ่านหัวใจต้องใช้เวลานานขึ้น

ดร. Conyers ระบุว่า เด็กๆ ที่ได้รับการรักษามะเร็งมีความโน้มเอียงที่จะเกิด QT ยาว จึงต้องตรวจคัดกรองเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้งด้วยเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบ 12 จุด ทั้งยังมีความจำเป็นที่จะต้องติดตามอาการของผู้ป่วยนอกอีกด้วย

ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ดร. Conyers และทีมงานที่ Murdoch Children’s Research Institute จะเริ่มการวิจัยเรื่องความไวของแอป ECG ของ Apple Watch ในผู้ป่วยเด็กและเยาวชน 40 คน  ภายใต้การศึกษาดังกล่าว ทีมงานจะหาทางให้ผู้ป่วยนำ ECG ติดตัวไปทุกที่ในทุกเวลาที่ทำได้ และหวังว่าข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้นจะทำให้สามารถเข้าใจข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความเป็นพิษต่อหัวใจและค้นพบโอกาสในการยับยั้งที่เป็นไปได้

กรณีศึกษาในซานฟรานซิสโก

ดร. So-Min Cheong รองศาสตราจารย์สาขาการให้บริการภาครัฐและการบริหารงานที่ Bush School มหาวิทยาลัย Texas A&M อยู่ที่พาโลอัลโต รัฐแคลิฟอร์เนีย ยังจดจำภาพท้องฟ้าสีส้ม ในรัฐแคลิฟอร์เนียที่ประสบมหันตภัยไฟป่าทั้งในปี 2020 และ 2021  ได้

ทำให้ ดร. Cheong ซึ่งศึกษาวิจัยเรื่องผลกระทบทางสังคมและสุขภาพอันเกิดจากภัยพิบัติต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ จึงเล็งเห็นโอกาสในการศึกษาผลกระทบส่วนบุคคลจากควันไฟป่าที่เกิดขึ้นกับสุขภาพหัวใจของนักผจญเพลิง

เพื่อนคนหนึ่งที่ Stanford เคยเล่าประสบการณ์การใช้ Apple Watch และเป็นที่ทราบกันในเรื่องความแม่นยำของข้อมูลอัตราการเต้นของหัวใจ

ในเดือนหน้าทั้ง ดร. Cheong จาก Texas A&M University และ ดร. Brian Kim และ ดร. Marco Perez จาก Stanford Medicine จะเริ่มติดตั้ง Apple Watch แก่นักผจญเพลิงเพื่อศึกษาผลกระทบจากควันไฟป่าที่มีต่อสุขภาพหัวใจ ฤดูไฟป่าเริ่มขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิในรัฐเท็กซัสและช่วงฤดูร้อนในรัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีนักผจญเพลิงกว่า 200 คน จากสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ที่จะเข้าร่วมการศึกษาวิจัย

การศึกษาวิจัยจะใช้ Apple Watch เพื่อติดตามอัตราการเต้นและจังหวะการเต้นของหัวใจ การนอนหลับ ออกซิเจนในเลือด ข้อมูลกิจกรรม และอีกมากมาย นักผจญเพลิงยังต้องสวมใส่อุปกรณ์ติดตามคุณภาพอากาศและตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับการนอนหลับ กิจกรรม และอาการที่เกี่ยวข้องกับควันไฟป่า

การศึกษาวิจัยลักษณะนี้ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการพิสูจน์หรือหักล้างสมมติฐาน แต่เป็นการวิจัยขั้นสำรวจและผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้เราเข้าใจถึงความแม่นยำของการวิเคราะห์ในลักษณะนี้เพื่อนำไปสร้างเป็นปัจจัยแทรกแซงเฉพาะตัวต่อไป และยังเชื่อว่าการศึกษาวิจัยธรรมชาติในเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้เราเข้าใจกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงได้ดีขึ้น

กรณีศึกษาในเนเธอร์แลนด์

ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาในยุโรประบุว่า อัตราการเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ในสหภาพยุโรปคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในปี 2060 ภาวะ AFib เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่พบได้บ่อยและส่งผลกระทบร้ายแรงหากไม่ได้รับการรักษา เช่น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองหรือภาวะหัวใจล้มเหลว

ดร. Sebastiaan Blok ผู้อำนวยการฝ่าย eHealth ของศูนย์โรคหัวใจแห่งเนเธอร์แลนด์และทีมงานกำลังศึกษาวิธีตรวจสอบภาวะ AFib  เป็นส่วนหนึ่งของโครงการศึกษาวิจัยขนาดใหญ่ชื่อว่า HartWacht ซึ่งเป็นแนวคิด eHealth แรกสุดที่สามารถเบิกจ่ายค่ารักษาได้

การศึกษาวิจัยครั้งนี้คาดว่า จะมีผู้เข้าร่วมเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี และมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ความเสี่ยงต่อภาวะ AFib มากกว่า 300 คน ผู้เข้าร่วมวิจัยครึ่งหนึ่งหรือเรียกว่ากลุ่มทดลองจะสวมใส่ Apple Watch เป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมงต่อวัน

ผู้เข้าร่วมการวิจัยจะได้รับการตรวจ ECG จำนวน 1 ครั้งทุก 3 สัปดาห์หรือเมื่อเริ่มรู้สึกว่ามีอาการ อันเป็นไปตามการออกแบบงานวิจัยของกลุ่ม หากผู้เข้าร่วมการวิจัยได้รับการแจ้งเตือนจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอ นักวิจัยก็จะติดต่อกับผู้เข้าร่วมการวิจัยและแนะนำให้ตรวจ ECG และแชร์ผลลัพธ์

ภายใน 3 สัปดาห์ที่มีการศึกษาวิจัย นักวิจัยสามารถระบุผู้เข้าร่วมการวิจัยที่มีภาวะ AFib ในกลุ่มทดลองที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน