เมืองเซินเจิ้นของจีนคว้ารางวัลเมืองอัจฉริยะของโลก ปี 2567
World Smart City Award หรือเมืองอัจฉริยะของโลก ตกเป็นของเมืองเซินเจิ้น สร้างมาตรฐานใหม่เมืองอัจฉริยะ ยกระดับชีวิตผู้คนให้ดีขึ้น
ในงาน Smart City Expo World Congress (SCEWC) ประจำปี 2567 จัดขึ้นในบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ช่วงต้นเดือน พ.ย.2567 ที่ผ่านมา ปรากฎว่า เมืองเซินเจิ้น จากจีน มีความโดดเด่นที่สุดในบรรดาเมืองที่เข้าชิงทั้งหมด 429 เมืองจาก 64 ประเทศและภูมิภาค คว้ารางวัล World Smart City Award หรือ รางวัลเมืองอัจฉริยะของโลก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและศักยภาพที่เหนือชั้นของจีนในการสร้างเมืองอัจฉริยะ
“โซลูชั่นที่ครอบคลุมสำหรับการสร้างเมืองอัจฉริยะ” ของเมืองเซินเจิ้นนั้นคิดขึ้นมาจากธีม “สร้างมาตรฐานใหม่ของเมืองอัจฉริยะ สร้างเมืองให้อัจฉริยะขึ้นและยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น” ซึ่งผสานแนวคิดการสร้างเมืองอัจฉริยะที่ให้ความสำคัญกับผู้คนในเมืองและนำเสนอกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจหลายกรณี
คณะกรรมการผู้พิจารณา ให้ความเห็นว่า เซินเจิ้นได้แสดงให้เห็นถึง โซลูชั่นนวัตกรรมในด้านสำคัญต่าง ๆ อย่างครอบคลุม เช่น การสนับสนุนเทคโนโลยี การขนส่ง พลังงานและสิ่งแวดล้อม การดูแลจัดการ อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจ การอยู่อาศัยและการยอมรับความหลากหลาย โครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง รวมถึงการสร้างเมืองดิจิทัลอัจฉริยะสำหรับผู้คนด้วยปรัชญา รากฐาน และภูมิทัศน์ในเมืองที่ไม่เหมือนใคร
ในส่วนของการดูแลจัดการเมือง เซินเจิ้นได้สร้างฐาน Digital Twin หรือ แบบจำลองเสมือนจริงของวัตถุทางกายภาพสำหรับพื้นที่เมือง ซึ่งประกอบด้วยแบบจำลองอาคารหลักที่พัฒนาขึ้นโดยเทคโนโลยี BIM (กระบวนการของการสร้างแบบจำลองสารสนเทศอาคาร) เกือบ 10,000 แบบ จัดทำระบบข้อมูล Digital Twin ที่ครอบคลุม 3 หมวดหมู่หลัก (พื้นที่พื้นฐานในเมือง เป้าหมายการจัดการ และการรับรู้ด้าน IoT) และ 25 หมวดหมู่ย่อย และนำเสนอบริการข้อมูลมากกว่า 4,000 รายการ
ภาพจาก City Expo World Congress (SCEWC) ประจำปี 2567
เมืองเซินเจิ้นได้จำลองสถานการณ์การใช้งาน Digital Twin มากกว่า 200 สถานการณ์ รวมถึงกราฟสำหรับการจัดการน้ำในเมือง กราฟสำหรับการชาร์จ การจัดเก็บ และการปล่อยพลังงาน การวางแผนและการออกแบบระบบขนส่งทางรางระยะที่ 5 รวมทั้งยังส่งเสริมการใช้งาน Digital Twin ตามเขตอื่น ๆ ในเมือง เช่น โฮ่วไห่ เซียงหมี่หู และเมืองวิทยาศาสตร์กวงหมิง
กรณีตัวอย่าง เช่น เซินเจิ้นจะใช้แบบจำลอง 3 มิติเพื่อจำลองน้ำท่วมในเขตพื้นที่สำคัญและวิเคราะห์พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ เสริมความแม่นยำในการระบุความเสี่ยงจากน้ำท่วมขัง และค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการแก้ไขปัญหาผ่านการออกแบบแนวทางการป้องกันน้ำท่วมในเมืองและนำกราฟมาใช้ในการจัดการน้ำในเมือง
แบบจำลองความเสี่ยงภัยพิบัติจากน้ำท่วม
แผนรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับสภาพแวดล้อมการทำงานที่แตกต่าง
การใช้งาน Digital Twin ที่ครอบคลุมในเขตเซียงหมี่หูจะอาศัยความสามารถในการเรนเดอร์ที่สูงเพื่อนำเสนอแผนผังของผิวดินและใต้ดินที่ซับซ้อนในรูปแบบภาพ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบภาพซิลลูเอทของเมือง การออกแบบภูมิทัศน์ในเมือง และช่วยพัฒนาการจัดทำแบบจำลองการจัดการ Digital Twin ตลอดวงจรชีวิตของเขตสำคัญต่าง ๆ รวมถึงการวางแผน การออกแบบ การก่อสร้าง และการดำเนินการ
ไทยและไมโครซอฟท์ ประกาศความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมดิจิทัลและ AI
โซนี่ไทยเปิดจอง Alpha ZV-E1 กล้อง VLOG เปลี่ยนเลนส์เบาที่สุดโลก
“ซอสมังคุด” ใช้งานวิจัยเปลี่ยนกากและเม็ดเป็นซอสอร่อยสารพัดจิ้ม
ผัดกะเพรายืนหนึ่งเมนูสตรีทฟู้ดยอดฮิตแห่งปี 2567 บน foodpanda