29 กันยายน วันหัวใจโลกมาดูแลหัวใจให้ดีๆ
เนื่องในวันหัวใจโลก 29 กันยายน เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของโรคหัวใจ
ข้อมูลของกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ระบุว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ปีละ 7 หมื่นคน ทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด มากถึง 17.9 ล้านคน
ปัจจัยเสี่ยงคือ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วน สูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด และพันธุกรรม
วันนี้คำแนะนำให้ผู้ที่ใส่ Apple Watch รู้จักกับฟีจเจอร์ดูแลสุขภาพหัวใจ สามารถแจ้งเตือนผู้ใช้ถึงสัญญาณที่อาจบ่งบอกถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib)
ในวันเปิดตัว iPhone 15 และ Apple Watch ซีรีส์ 9 ก็มีวิดีโอเล่าเรื่องของผู้ใช้ Apple Watch ที่ได้ประโยชน์จากฟีจเจอร์ดูแลสุขภาพหัวใจ
5 ฟีจเจอร์เด่นดูแลสุขภาพหัวใจ
การแจ้งเตือนอัตราการเต้นของหัวใจเร็วและช้า
Apple Watch จะตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจที่เร็วหรือช้าผิดปกติอยู่ในเบื้องหลัง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะร้ายแรงที่แฝงอยู่ และอาจช่วยให้ผู้ใช้รับรู้ว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่สมควรเข้ารับการประเมินเพิ่มเติมหรือไม่
หากอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ใช้สูงกว่า 120 ครั้งต่อนาทีหรือต่ำกว่า 40 ครั้งต่อนาที ในขณะที่ไม่ได้เคลื่อนไหวเป็นเวลา 10 นาที ผู้ใช้ก็จะได้รับการแจ้งเตือน ผู้ใช้งานสามารถปรับเกณฑ์จำนวนครั้งในการเต้นต่อนาที หรือเปิดหรือปิดการแจ้งเตือนได้ โดยการแจ้งเตือนอัตราการเต้นของหัวใจทั้งหมดพร้อมด้วยวัน เวลา และอัตราการเต้นของหัวใจ สามารถดูได้ในแอปสุขภาพบน iPhone
การแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอ
คุณสมบัติการแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอบน Apple Watch จะตรวจดูการเต้นของหัวใจของคุณเป็นครั้งคราว เพื่อตรวจสอบจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอที่อาจบ่งบอกถึงภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib)
AFib เป็นภาวะจังหวะการเต้นของหัวใจที่ไม่สม่ำเสมอประเภทหนึ่ง ซึ่งการเต้นของหัวใจห้องบนไม่สอดคล้องกับจังหวะของหัวใจห้องล่าง ผู้ที่มีภาวะ AFib บางคนอาจไม่รู้สึกถึงอาการใดๆ เลย ขณะที่บางคนอาจมีอาการอย่างเช่นหัวใจเต้นรัว ใจสั่น เหนื่อยล้า หรือหายใจไม่อิ่ม
การแจ้งเตือนจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอใช้เซ็นเซอร์วัดหัวใจแบบออปติคัลบน Apple Watch เพื่อตรวจจับคลื่นชีพจรที่ข้อมือ แล้วหาการแปรผันของระยะห่างระหว่างการเต้นของหัวใจแต่ละครั้งขณะที่ผู้ใช้พักอยู่ หากอัลกอริทึมตรวจพบจังหวะการเต้นที่ไม่สม่ำเสมอซ้ำๆ หลายครั้ง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงภาวะ AFib คุณก็จะได้รับการแจ้งเตือน และมีการบันทึกวัน เวลา รวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจเก็บไว้ในแอปสุขภาพ
ผู้ใช้ที่มีอาการอย่างเช่นหัวใจเต้นเร็วหรือเต้นข้ามจังหวะ สามารถวัด ECG และบันทึกอาการของตนเองได้ด้วยแอป ECG
แอป ECG ใช้เซ็นเซอร์วัดหัวใจแบบไฟฟ้าที่มีอยู่ใน Digital Crown และผลึกบนฝาหลังเพื่อวัด ECG แบบจุดเดียว แล้วจากนั้นแอป ECG ก็จะแสดงผลว่าเป็นจังหวะไซนัส ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วที่มีอัตราการเต้นของหัวใจเร็ว ไม่สามารถสรุปผลได้ หรือการบันทึกไม่ดีพอ แล้วแจ้งให้ผู้ใช้บันทึกอาการต่างๆ เช่น หัวใจเต้นเร็วหรือเต้นแรง เวียนศีรษะ หรือเหนื่อยล้า
จะมีการบันทึกรูปแบบคลื่น ผลลัพธ์ วัน เวลา และอาการอื่นๆ เก็บเอาไว้ และสามารถส่งออกข้อมูลจากแอปสุขภาพในรูปแบบ PDF เพื่อส่งต่อให้กับแพทย์ได้
คาร์ดิโอฟิตเนสให้ค่าประมาณการของ VO2 Max หรือความสามารถของร่างกายในการรับออกซิเจนในระหว่างการออกกำลังกาย
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหัวใจยอมรับว่า VO2 Max เป็นเครื่องมืออันทรงพลังที่บ่งบอกได้ดีถึงสุขภาพโดยรวม ในการตรวจสอบค่าประมาณการของ VO2 Max ตามหลักวิทยาศาสตร์
ผู้ใช้สามารถเลือกรับการแจ้งเตือนได้หากการจัดประเภทของตนเองตกไปที่ “ต่ำ” ซึ่งสัมพันธ์กับความเสี่ยงของอาการโรคหัวใจที่ร้ายแรงในระยะยาว หากก็โชคดีที่ว่าคุณสามารถปรับปรุงเรื่องนี้ให้ดีขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกายให้สม่ำเสมอยิ่งขึ้นหรือให้หนักขึ้น และเป็นสิ่งที่คุณสามารถติดตามผลได้ตลอดเวลา
ประวัติภาวะ AFib ช่วยให้คุณเห็นระยะเวลาโดยประมาณที่หัวใจของคุณแสดงสัญญาณของภาวะ AFib ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเนื่องจากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าระยะเวลาของการเกิดภาวะ AFib อาจสัมพันธ์กับความรุนแรงของอาการ ปัญหาคุณภาพชีวิต และความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน
ประวัติภาวะ AFib ยังช่วยผู้ใช้ในการติดตามปัจจัยการใช้ชีวิตบางอย่างเช่นการนอนหลับ การออกกำลังกาย และน้ำหนัก ซึ่งอาจมีอิทธิพลต่อระยะเวลาที่เกิดภาวะ AFib
ถ้ามี Apple Watch ขอแนะนำให้ใช้ประโยชน์จากฟีจเจอร์เหล่านี้ เป็นเหมือนผู้ช่วยดูแลสุขภาพในเบื้องต้น หากมี
ออกกำลังกาย กินอาหารที่ประโยชน์ หมั่นคอยดูแลและรักษา”หัวใจ” ให้แข็งแรงทุกวันค่ะ
บรรณาธิการเทคโนโลยี
AIS อุ่นใจ CYBER ทำ“ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล Thailand Cyber Wellness Index”
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้