เชื่อหรือไม่ว่าโรคหืดเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนไทยกว่า 4,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตสูงเป็นอันดับ 8 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากปัจจัยที่ต่างๆ เป็นตัวกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ ฝุ่นควัน เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ รวมไปถึงสภาวะมลพิษทางอากาศ และอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหืดมีอาการกำเริบขึ้น
หลายคนอาจคิดว่าอาการเหล่านี้เป็นเรื่องไกลตัว อย่างไรก็ตามข้อมูลจาก องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยให้เห็นว่า กลุ่มโรคทางเดินหายใจและโรคหืด ไม่เพียงแต่ฝุ่นควันจะเป็นปัจจัยกระตุ้นเท่านั้น แต่ยังส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต และกลายเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน
หอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ซึ่งมีผลทำให้หลอดลมของผู้ป่วยมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้และสิ่งแวดล้อมมากกว่าคนปกติ โดยผู้ป่วยมักมีประวัติของอาการไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด หรือหอบเหนื่อย จากข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐปี 2563 พบผู้ป่วยโรคหอบหืดและภาวะหอบหืดกำเริบรุนแรง รวม 488,449 ราย คิดเป็นอัตราความชุกที่ 737.99 ต่อประชากรหนึ่งแสนคน โดยผู้ที่เสียชีวิตจากโรคนี้ มักมีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากภาวะหอบหืดเฉียบพลัน ไม่สามารถดูแลตนเองได้ขณะที่มีอาการ พ่นยาไม่ถูกต้อง พ่นยาช้า การใช้ยาไม่ถูกต้อง หรือหลอดลมของผู้ป่วยมีความไวต่อสิ่งกระตุ้นอย่างรุนแรง
โรคหืดส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในหลายปัจจัย เช่น นอนหลับไม่สนิท ประสิทธิภาพในการทำงานลดถอยลง ในบางรายอาจทำให้สูญเสียรายได้ ปัจจุบันพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคหืดมากถึง 3 ล้านคน โดยผู้ป่วยโรคหืดกว่า 60% ใช้เพียงยาสูดพ่นขยายหลอดลมสำหรับบรรเทาอาการเป็นประจำซึ่งไม่ถูกต้อง
พญ.เปี่ยมลาภ แสงสายัณห์ สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการป้องกันและดูแลโรคหืดว่า “ปัจจุบันมีการใช้ยาสูดพ่นขยายหลอดลม ที่ออกฤทธิ์เร็วและต้านการอักเสบที่เป็นสาเหตุหลักของโรคหืด โดยสามารถช่วยป้องกันการเกิดอาการและบรรเทาอาการโรคหืดได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อได้รับยาอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยก็ยังควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่กันไปด้วย เช่น การงดจุดธูปในบ้าน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการใส่หน้ากากอนามัยเพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ซึ่งจะทำให้การดูแลสุขภาพและประคองโรคหืดได้ดียิ่งขึ้น”
นอกจากนี้ ปัจจัยกระตุ้นหลายอย่างในปัจจุบัน เช่น ฝุ่นควัน และมลพิษในอากาศยังมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการกำเริบของโรคหอบหืดในเด็กอีกด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการกำเริบของโรคหืด และส่งผลต่อเนื่องในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การขาดเรียน และอาจก่อให้เกิดความผิดปกติของร่างกายหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม
เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคหืดอย่างถูกต้อง แอสตร้าเซนเนก้า จึงได้จัดทำแคมเปญ ปาร์คเกอร์แพนด้า (Parker Panda) และ คุณหมอบันนี่ (Dr. Bunny) เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหืดในเด็กพร้อมแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยเด็กผ่านสื่อการเรียนรู้ให้กับแพทย์และครอบครัวผู้ดูแล โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามได้ทาง Facebook AstraZeneca Thailand หรือดาวน์โหลด e-book เพื่ออ่านหนังสือฉบับเต็มได้ที่ https://heyzine.com/flip-book/15580a8847.html#page/1
8 เทรนด์กระเบื้องมาแรงปี 2025 “From Nature to Life” เชื่อมโยงธรรมชาติกับชีวิต
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้