ปัญหาบูลลี่ในโรงเรียนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ หลายคนอาจมองว่าการล้อเลียน กลั่นแกล้งกันในโรงเรียน เป็นเรื่องเล็ก ๆ เป็นเรื่องเด็ก ๆ หยอกล้อกัน แต่การหยอกล้อที่ผู้ถูกล้อไม่รู้สึกร่วม อาจสร้างแผลและปมในจิตใจ หรืออาจจะส่งผลต่อสุขภาพจิตจนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้
สถาบันสุขภาพจิตเด็กและเยาวชนและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต จึงได้ร่วมมือกับ บริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ TTA GROUP พัฒนาแอปพลิเคชันที่ชื่อว่า BuddyThai เพื่อช่วยเหลือเด็ก ๆ ที่โดนบูลลี่จากโรงเรียนและโซเชียลมีเดีย พร้อมเป็นที่พึ่งทางใจให้เข้าถึงระบบการช่วยเหลือ โดยมีโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครเป็นหน่วยนำร่องทดลองใช้งาน
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครปัจจุบันมีโรงเรียน 437 แห่ง และมีนักเรียนจำนวนกว่า 270,000 คน เมื่อพบปัญหาในเด็กและเยาวชน การให้บริการปรึกษาในแต่ละรายจะใช้เวลา อีกทั้งครูในสังกัดกรุงงเทพมหานครไม่มีทักษะดังกล่าว อาจจะทำให้การช่วยเหลือไม่ทันท่วงที และครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้น การมีแอปพลิเคชัน BuddyThai นอกจากมีการประเมินด้านสุขภาพจิตแล้วยังมีการทดสอบด้านอารมณ์สอดคล้องกับแนว ทางในหนังสือเรื่อง Design Your Life เป็นการออกแบบชีวิตโดยการให้จด Good time journal ว่าในแต่ละวันมีอารมณ์รู้สึกอะไรบ้างและมีปัจจัยอะไรที่กระตุ้นอารมณ์นี้ เช่น การออกไปวิ่งตอนเช้ารู้สึกสดชื่น แสดงว่าเราชอบกิจกรรมนี้ หากเรารู้สึกตัวและรู้จักตัวเองมากขึ้นสามารถจัดการตัวกระตุ้นก็จะนำไปสู่ การป้องกันไม่ให้เกิดไฟในใจ และรู้วิธีการรับมือกับสภาพอารมณ์จิตใจให้ดีมากขึ้น
“ปัจจุบันด็กและเยาวชนจะคุ้นเคยกับแอปพลิเคชันเป็นอย่างดี หากเรามีแอปพลิเคชันที่สามารถไว้ใจได้ระหว่างเด็กกับการใช้งานจะทำให้พวก เค้าสามารถเข้ามาใช้งานได้อย่างเพิ่มมากขึ้น ในระยาวการพัฒนาแอปพลิเคชัน BuddyThai ต้องมีการควบคุมกำกับอย่างต่อเนื่องร่วมกัน โดยกรุงเทพมหานครและกรมสุขภาพจิต เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข อสส ในชุมชน โดยเมื่อพบปัญหาสามารถส่งเด็กไปหน่วยบริการได้ นับเป็นการเชื่อมโยงที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้นต่อไป การร่วมมือครังนี้เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลงทั้งภาครัฐและ เอกชนในการเปลี่ยนสังคม และเปลี่ยนเพื่อประเทศไทยต่อไป”
นายแพทย์ดุสิต ลิขนะพิชิตกุล ผู้ช่วยอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัญหาการบูลี่จากผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำต่างมีเหตุปัจจัยและมีเงื่อนไขที่ แตกต่างกัน อีกทั้งผู้กระทำมีโอกาสกลับไปกระทำซ้ำ รวมไปถึงผู้ถูกกระทำนอกจากเกิดบาดแผลในใจแล้วในบางรายอาจเป็นผู้กระทำคนถัด ไปได้อีกด้วย
แอปพลิเคชัน BuddyThai เป็นเครื่องมือที่เด็กสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือ เนื่องจากการขอความช่วยเหลือจากครูหรือเพื่อนบางครั้งอาจทำให้สถานการณ์แย่ ลง การทำในลักษณะ Anonymous คือการเข้ามาขอความช่วยเหลือจากบุคคลที่ 3 หรือบุคคลภายนอกโดยผ่านกลไกจากแอปพลิเคชันจะมีการเตรียมบุคลากรเข้าช่วย เหลือต่อไป ซึ่งในเด็กที่ถูกกระทำจะเกิดบาดแผลทางใจและไม่สามารถหายได้เองต้องใช้เวลา นานในบางรายรักษาเป็นปี
เฉลิมชัย มหากิจศิริ บริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความสำคัญของ แอปพลิเคชัน BuddyThai ประกอบด้วย 3 ป ได้แก่ 1. ป : ประเมิน มีการวัด EQ MQ และ IQ มีชุดความรู้ด้านสุขภาพจิตสามารถจัดการและแก้ไขปัญหาได้ 2. ป : ปรึกษา ในผู้ที่มีปัญหาจะมีช่องแชทจากผู้เชี่ยวชาญจากกรมสุขภาพจิต 3. ป : ป้องกัน สามารถเข้ามาตรวจสอบอารมณ์ทุกวัน จึงอยากให้แอปพลิเคชัน BuddyThai เป็นสื่อกลางในการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ในการพัฒนา ประเทศชาติต่อไปในอนาคต
Voice for change ผลักดันสิทธิการรักษามะเร็งตับด้วยยานวัตกรรม
ผลกระทบจากวิกฤต PM2.5 เรื้อรัง ส่งผลยีนกลายพันธุ์ก่อโรคมะเร็งปอด
รู้ยังแอป Find My ของ Apple เปิดให้แชร์ตำแหน่งของหายกับบุคคลอื่นได้