ท่องเที่ยว-ไลฟ์สไตล์

เป็นเมืองรองไม่ใช่ต้องเป็นรอง

5 กันยายน 2565

เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ Mobility Data  ของดีแทค ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างดีแทค  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และบุญมีแล็บ    เรียกว่า  Co-Lab Model

เพื่อนำศักยภาพของ Mobility  Data  ซึ่งเป็นข้อมูลขนาดมหึมาของผู้ใช้เครือข่ายดีแทค มาใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว  Tapping the Untapped โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเมืองรอง

ชารัด เมห์โทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารดีแทค ยอมรับว่า แม้ขณะนี้ดีแทคจะอยู่ในกระบวนการควบรวม แต่ยังคงทำงานต่อไปตามปกติ  ชุดข้อมูล Mobility Data  มีคุณค่ามหาศาลสำหรับอุตสาหกรรมโทรคมนาคม สามารถนำมาใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาสังคมอย่างมีความรับผิดชอบ บนพื้นฐานการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ที่ผ่านมาเทเลนอร์ เคยนำ Mobility Data ไปใช้วิเคราะห์เส้นทางการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้     และการศึกษารูปแบบการอพยพจากกรณีเกิดภัยพิบัติในบังคลาเทศ

สำหรับในประเทศไทย ดีแทคได้เลือกนำ Mobility Data มาศึกษารูปแบบการเดินทางของนักท่องเที่ยวใประเทศช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19    

ข้อมูลที่ได้จากการทำงานโครงการดังกล่าว  ซึ่งทำงานมาร่วม 2 ปี  โดยพิจารณาจากการกระจุกตัวในพื้นที่ สถานที่ รูปแบบการเดินทางและช่วงเวลา  เพื่อทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้คนผ่านเครือข่ายมือถือ

การคัดกรองนักท่องเที่ยว จะจำแนกตามสถานที่ทำงานและที่พักอาศัย โดยดูช่วงเวลาที่การใช้สัญญาณมือถือเกาะเกี่ยว

หากมีการเดินทางออกจากที่ทำงาน ที่พักอาศัย  พบว่า นักท่องเที่ยวชาวไทยจะมีพฤติกรรม 2 รูปแบบคือ แบบไปกลับ (กลับถิ่นที่อยู่ภายใน 24 ชั่วโมง) และแบบค้างคืน (ไม่ได้เดินทางกลับถิ่นที่อยู่ภายใน 24 ชั่วโมง)

จากการศึกษารูปแบบการเดินทาง

One Day Trip จำนวน 2,130,131 ทริป

Overnight Trip  จำนวน 3,260,809 ทริป

ช่วงเวลาส่วนใหญ่จะเป็นวันหยุดยาวตามเทศกาล

สำหรับการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัดในประเทศไทย ซึ่งแต่ละจังหวัดมีศักยภาพแตกต่างกัน

ทีม Co-Lab จึงเสนอแนวทางการพัฒนาท่องเที่ยวเมืองรอง ดังนี้

1.ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบไปกลับในระยะการเดินทาง 1-2 ชั่งโมง หรือไม่เกิน 150 กิโลเมตร  ในกลุ่มครอบครัว เพื่อน คู่รัก  เน้นการท่องเที่ยวแบบได้ประสบการณ์จากคนท้องถิ่น ธรรมชาติ และศิลปะวัฒนธรรม  เวลาร่วมกิจกรรมไม่ควรเกิน 3.5 ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท   เช่น จังหวัดพัทลุง มีกิจกรรมเรียนทำขนมปังจากแป้งข้าวสังข์หยด  จังหวัดราชบุรี เรียนรู้หัตถกรรมปั้นโอ่งดินเผา

2.การท่องเที่ยวเที่ยวแบบค้างคืน  ที่พักส่งเสริมการเรียนรู้ท้องถิ่น  กลุ่มอายุ 35-44 ปี  ของกลุ่มคู่รักเพื่อน และครอบครัว  เน้นที่พักบรรยากาศธรรมชาติ มีความเป็นส่วนตัว ระยะเวลาเข้าพัก 2 วัน 1 คืน ค่าที่พักไม่เกิน 1,000 บาทต่อคนต่อคืน  กิจกรรมที่คนกลุ่มนี้สนใจ เช่น การรับประทานอาหารพื้นถิ่น การท่องเที่ยววิถีชุมชนและการผจญภัยตามธรรมชาติ

เมื่อถามว่า งานเผาเทียนเล่นไฟ สุโขทัย กับงานบั้งไฟพญานาค  นักท่องเที่ยวอยากค้างคืนงานไหนมากที่สุด คำตอบก็คือ งานเผาเทียนเล่นไฟ

16 เมืองรองที่เหมาะกับการพัฒนา

นครศรีธรรมราช  เชียงราย นครพนม ลำพูน นครนายก ระนอง เพชรบูรณ์  อุบลราชธานี  แม่ฮ่องสอน พัทลุง ราชบุรี  นครสวรรค์ บุรีรัมย์ มหาสารคาม สุพรรณบุรี และชุมพร

21 เมืองรองที่มีโอกาสประสบความสำเร็จกับการพัฒนาท่องเที่ยวแบบค้างคืน   

นครศรีธรรมราช  เพชรบูรณ์ เชียงราย อุบลราชธานี พิษณุโลก ชุมพร  จันทบุรี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์  เลย ตราด  น่าน นครสวรรค์ อุดรธานี ลำปาง ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม สตูล ตรัง และชัยภูมิ

10 จังหวัดที่เป็นได้แค่ทางผ่านมาเยือน

สิงห์บุรี อ่างทอง  สมุทรสงคราม ชัยนาท ลำพูน ลพบุรี พัทลุง ปราจีนบุรี ปัตตานี และราชบุรี

8 เมืองรองที่ควรโปรโมทท่องเที่ยวกับเพื่อนบ้าน

นครสวรรค์  ชัยนาท  สิงห์บุรี  ลพบุรี  อ่างทอง ราช สมุทรสงคราม  และบุรีรัมย์

ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลที่เกิดจากการนำ Mobility Data ของดีแทคมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางฟื้นฟูการท่องเที่ยวเมืองรอง

ดีแทค จะนำข้อมูลเหล่านี้ ไปทำงานร่วมกับ ททท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป   

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

Share
Related
More read

Tags

  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ชาร์รัด เมห์โทรา
  • ดีแทค
  • ท่องเที่ยว
  • เมืองรอง