ข่าวทั่วไป

เลี้ยงไก่คือโอกาสใหม่แห่งการเรียนรู้

3 กุมภาพันธ์ 2566

เลี้ยงไก่คือโอกาสใหม่แห่งการเรียนรู้

กว่าผู้เขียนจะไปถึงบ้านห้วยวาด  .ทุ่งผึ้ง .แจ้ห่ม ลำปางต้องฝ่าดงฝุ่นสีดินดานตลอดระยะทางประมาณ 4-5 กิโลเมตร  ต้นไม้ใบไม้ริมทางแทบจะหาสีเขียวไม่เจอ  ถ้าไปช่วงหน้าฝนก็น่าจะเปลี่ยนมาคลุกขี้โคลน

ชาวบ้านห้วยวาด เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ที่อพยพลงมาจากพื้นที่อื่นตามนโยบายของภาครัฐ แม้จะอยู่บนภูเขาสูงแต่กลับเป็นพื้นที่แห้งแล้งทุรกันดารขาดแคลนน้ำ ต้องอาศัยน้ำจากบ่อบาดาล   

อาชีพหลักของคนที่นี่คือ คือ ปลูกข้าวโพดปีละครั้ง จากน้ำฝนตามธรรมชาติ

ที่ต้องตะลอนขึ้นไปถึงบ้านห้วยวาด ก็เพราะมีโครงการดีๆ  ของโครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอกระบบ   กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)

โครงการพัฒนาการเลี้ยงไก่ไข่พื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ของบ้านห้วยวาด กลุ่มเป้าหมายคือสตรีในหมู่บ้าน  มีคุณครูวรรณิษา กันทา ครูจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.แจ้ห่ม เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ

หากมองเผินๆ จะเห็นแค่ว่า การเลี้ยงไก่ของผู้หญิงลาหู่ในหมู่บ้าน เพื่อจะมีเนื้อไก่ ไข่ไก่ สำหรับกินและขายภายในหมู่บ้าน  ยังไม่สามารถต่อยอดนำไปสู่อาชีพที่ยั่งยืนได้ ด้วยข้อจำกัดหลายอย่าง แต่สิ่งที่แทรกมากับการเลี้ยงไก่ อย่างคาดไม่ถึงและทรงคุณค่าก็คือ  ความสามัคคีของคนในหมู่บ้านที่เดิมเหมือนจะต่างคนต่างอยู่  เริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ขยายไปสู่กลุ่มใหญ่ สามารถสร้างแรงกระเพื่อมให้เกิดขึ้นได้ทั้งหมู่บ้าน

ไก่ คือโอกาสใหม่ทางการเรียนรู้

ครูแป้ง หรือวรรณิษา กันทา ครู กศน.ได้เข้ามาชักชวนกลุ่มสตรีบ้านห้วยวาด ทำอาชีพ สุดท้ายก็ลงตัวที่การเลี้ยงไก่  กลุ่มเป้าหมายชาวลาหู่  เลือกเลี้ยงไก่ไข่ เพราะมีพิธีกรรมและวิถีชีวิตเข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่ไม่มีทักษะในการสร้างรายได้ โครงการนี้จึงเอาทักษะความรู้มาเติมเต็ม   ทำให้มีรายได้เพิ่ม   มีไข่ไก่กินและต่อยอดการเลี้ยงไปที่บ้านได้

3 แกนนำผู้หญิงของหมู่บ้าน

ด้วยความที่พูดกันคนละภาษา ครูแป้งจึงใช้วิธีเจาะไปที่ 3 แกนนำของกลุ่มผู้หญิงที่กล้าแสดงออกในวันประชุม มีเพียง 3 คนนี้ที่กล้าลุกขึ้นมาซักถามทางอำเภอ  แล้วให้ขยายผลไปกลุ่มผู้หญิงในหมู่บ้านแบบปากต่อปาก เพื่อนชวนเพื่อน

เข้ามาบ่อยๆ เป็นการซื้อใจคนในชุมชน มาพูดคุยด้วยในสิ่งที่อยากให้ชุมชนเป็น   ยิ่งเข้ามาบ่อยๆก็จะได้ใจคนในชุมชนมากขึ้น ทำให้ทำงานสะดวกรวดเร็ว  ครูแป้งเล่าวิธืการทำงานให้ฟัง

การรวมกลุ่มทำให้เกิดความสามัคคี

ผู้หลักผู้ใหญ่ในคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและประชากรวัยแรงงานนอกระบบ  กสศ.  ที่ลงไปดูงานในพื้นที่  ต่างมีความเห็นสอดคล้องกันว่า  พื้นที่บ้านห้วยวาด มีความแห้งแล้ง พื้นที่มีความขัดแย้ง หากใช้การศึกษาและวิถีวัฒนธรรม  ใช้พลังวิชาการ ท้องถิ่น และราชการทำงานแบบบูรณาการก็จะช่วยคลี่คลายได้

มีความสุขทุกครั้งที่ไก่ออกไข่

  สมพร แสกะคา กลุ่มเป้าหมาย โครงการเลี้ยงไก่ไข่พื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ยอมรับว่า  ตอนแรกก็ไม่เชื่อ ไม่อยากทำ กลัวจะมาหลอก ต้องอบรมกันหลายครั้งกว่าจะรวมตัวได้

ปัจจุบันมีรายได้จากการขายไก่ จะปันผลกันทุก 3 เดือนได้ครั้งละ 300 บาท   ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ได้เรียนวิธีเลี้ยงไก่ไข่ เห็นความสามัคคีของคนในกลุ่ม เวลาให้อาหารไก่ สร้างความสัมพันธ์สนิทสนมกันมากขึ้น   มีความสุขที่เห็นไก่ออกไข่ บางครั้งก็พาลูกมาเก็บไข่

เมื่อความรู้เดิมมาคลุกเคล้ากับความรู้ใหม่  นำไปสู่เงื่อนไขใหม่  สามารถออกจากพื้นที่ความกลัวไปสู่พื้นที่การเรียนรู้    ก็จะมองเห็นโอกาสใหม่ๆ   

วันนี้มี ”ไก่” เป็นตัวนำ แม้จะไม่ใช่ผลลัพธ์หลัก แต่ทำให้คนที่ขาดโอกาส ขาดทักษะชีวิต   60 คนมาคุยกัน มีความสุข หาทางออกชีวิตได้    หากต้องการนำไปสู่อาชีพที่ยั่งยืน ก็ต้องหาทางต่อยอด เพิ่มเครือข่ายในการทำงาน  นี่คือเป้าหมายที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  อยากเห็น

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

More read

Tags

  • กลุ่มสตรี
  • กศน.
  • กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
  • ชุมชนเป็นฐาน
  • ลาหู่
  • อาชีพ
  • เลี้ยงไก่
  • โครงการส่งเสริมโอกาสทางการเรียนรู้และพัฒนาทักษะเยาวชนและแรงงานนอ...