เทคโนโลยี

แกร็บฟู้ดยกระดับขอเป็น“ผู้ส่งมอบความอร่อยครบวงจร”

7 ตุลาคม 2566

แกร็บฟู้ดยกระดับขอเป็น“ผู้ส่งมอบความอร่อยครบวงจร

  แกร็บฟู้ด พัฒนานวัตกรรมยกระดับ จาก “แพลตฟอร์มสั่งอาหาร” เป็น “ผู้ส่งมอบประสบการณ์ความอร่อยครบวงจร” เน้นเวลา ความสะดวก ราคา และสิ่งแวดล้อม 

ช่วงการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้ธุรกิจดิลิเวอรี่ทุกรายเติบโตแบบก้าวกระโดดมาก หลังจากสถานการณ์คลี่คลายทุกอย่างก็เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ   หลายคนที่ไม่เคยสั่งอาหาร ไม่เคยเรียกรถผ่านแอป ก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน

มีโอกาสไปพูดคุยกับ คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย  ซึ่งเล่าให้ฟังว่า   ตลาดฟู้ดเดลิเวอรีมูลค่า 8.6 หมื่นล้านบาท  ช่วงโควิดเติบโตหลายเท่า หลังโควิดปรับตัวลดลง  แต่แกร็บยังเติบโตทรงตัวในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงทรงตัวจากการปรับพฤติกรรมของผู้บริโภคหลังสถานการณ์โควิด อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ยังคงเห็นการแข่งขันที่เข้มข้นของผู้เล่นรายต่างๆ ที่พยายามปรับกลยุทธ์เพื่อกระตุ้นตลาดอย่างต่อเนื่อง

กลยุทธ์หลักของแกร็บฟู้ด ปี 2566

ยังคงเน้น 3 กลยุทธ์หลัก คือ

  การนำเสนอบริการที่มีคุณภาพและความหลากหลาย (Quality & Wide Selection)  ต้องรวมร้านอร่อย ร้านดังไว้ให้มากที่สุด

การสร้างฐานสมาชิกและความภักดีของผู้ใช้บริการ (Loyalty)  ที่ผ่านมาภาพจำของผู้บริโภคคือ โปรโมชั่น จึงพยายามปรับเปลี่ยน ใช้ระบบสมาชิกมีส่วนลด

การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดส่งอาหารและสินค้า (Efficiency)   

ทั้วงหมดนี้ สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจในระยะยาวภายใต้แนวคิด Building Sustainable Growth through Innovation

นวัตกรรม 4S 

เวลาจะกินให้นึกถึงแกร็บ

แกร็บฟู้ด  ใช้จุดแข็งในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี  พัฒนาและปรับปรุงการให้บริการให้สอดคล้องกับอินไซต์และพฤติกรรมของผู้บริโภค   แก้ไขข้อจำกัดนำไปสู่สร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้บริการใน 4 มิติหลัก คือ ด้านเวลา ความสะดวก ราคา และสิ่งแวดล้อม

ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่อยู่ระหว่างการทดลองใช้ในแอปแกร็บ  ดังนี้

 S1: SAVE TIME (ประหยัดเวลา)

แกร็บพัฒนาฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการลดเวลาในการรอ ดังนี้

รับเองที่ร้าน (Self-pick up)

ให้สั่งอาหารหรือเครื่องดื่มผ่าน แอปพลิเคชัน Grab เพื่อไปรับเองที่หน้าร้านโดยไม่ต้องต่อคิว  ช่วงทดลองตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา พบว่า   53% ของผู้ที่ใช้ฟีเจอร์นี้ ไม่ต้องการเสียเวลาต่อคิวเพื่อรอที่หน้าร้าน   ได้รับความนิยมจากกลุ่มพนักงานออฟฟิศ

โดย 5 สถานที่ ซึ่งมีผู้ใช้ฟีเจอร์นี้มากที่สุด คือ สามย่านมิตรทาวน์  อาคารเดอะปาร์ค ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และสีลมเอจ   

จากการทำวิจัยพบว่า ลูกค้าไม่อยากต่อคิวในร้าน เครื่องดื่ม   พบว่าร้านอะเมซอน และสตาร์บั๊ก  ได้ผลตอบรับที่ดี ทั้งในเชิงธุรกิจและด้านอื่น  ทั้งสองร้านมียอดขายเพิ่มขึ้น 22%  หลังจากใช้ฟีเจอร์นี้  ช่วยลดเวลาต่อคิวได้เกือบ 8 แสนนาที   ลดขยะพลาสติกถึง 1.7 แสนชิ้น

สั่งอาหารล่วงหน้า (Order for later)

ให้สั่งอาหารได้ล่วงหน้าได้ถึง 7 วัน ระบุวันและเวลาที่ต้องการรับอาหารตามความสะดวก  จากที่เริ่มทดลองบริการนี้   มีผลตอบรับที่ดี  ร้านสามารถเตรียมตัว และจัดคิวได้ดีขึ้น  เมื่อกดสั่งล่วงหน้าจะระบุวันเวลารับ   สั่งข้ามวันได้ โดยเฉพาะใน ร้านดังๆ  ที่มีคิวยาว

 S2: SAVE EFFORTS (สะดวกสบาย)

สั่งอาหารแบบกลุ่ม (Group Order)

สั่งอาหารจากร้านเดียวกันรวมกันได้ผ่านออเดอร์เดียว ซึ่งได้รับความนิยมจากกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ชอบสั่งอาหารมารับประทานร่วมกัน   คนแรกสั่งส่งลิงค์เชิญเพื่อน ได้ 10 คน  หารค่าส่ง ทำให้ค่าส่งถูกลง

ทานที่ร้าน (Dine-In)

บริการใหม่ล่าสุดจากแกร็บที่ริเริ่มมาเพื่อรองรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้าน  ครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเช็ครีวิวร้านอาหาร  ซื้อดีลส่วนลดสูงสุดถึง 40%   ในรูปแบบ E-Voucher เรียกรถ   ฟีเจอร์นี้ร้านอาหารสามารถนำมาใช้เป็นต่อยอดเป็นเครื่องมือการตลาดได้

S3: SAVE COST (ประหยัดเงิน)

นอกจากการทำระบบแพ็คเกจสมาชิก “GrabUnlimited” เพื่อสร้าง Loyalty ผ่านการมอบส่วนลด แกร็บพยายามพัฒนาบริการให้มีทางเลือกที่หลากหลายในด้านราคาค่าบริการ ซึ่งผู้ใช้ให้ความสำคัญมาก จึงเพิ่มดีลลดฟ้าผ่า (Flash Sale) จากร้านอาหาร ช่วยให้ร้านเล็กๆ ขึ้นมาอยู่บนเมนู flash sale

ส่งแบบประหยัด (Saver Delivery): ฟีเจอร์ที่เหมาะกับผู้ใช้บริการสั่งอาหารที่ไม่เร่งด่วนและต้องการประหยัดค่าส่ง โดยจะช่วยลดค่าส่งสูงสุด 50% เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบมาตรฐาน   เริ่มใน 16 เมือง ค่าส่งถูกกว่าปกติ   แต่เวลาได้รับอาหารจะนานขึ้น

  S4: SAVE THE ENVIRONMENT (รักษ์โลก)

งดรับช้อน-ส้อมพลาสติก (Plastic Cutlery Opt-Out): ฟีเจอร์ที่ช่วยสนับสนุนให้ผู้ใช้บริการลดปริมาณขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งผ่านการเลือกไม่รับช้อนส้อมพลาสติก ซึ่งในปีที่ผ่านมา สามารถลดปริมาณขยะพลาสติกไปแล้วกว่า 8,100 ตันจากการงดแจกช้อนส้อมพลาสติกรวมกว่า 898 ล้านชุดในทุกประเทศที่แกร็บให้บริการ

ชดเชยคาร์บอน (Carbon Offset): ฟีเจอร์ที่ชวนให้ผู้ใช้บริการร่วมบริจาคเงิน 1 บาท

ในทุกออเดอร์เพื่อสมทบทุนในการปลูกต้นไม้ ซึ่งจะช่วยชดเชยปริมาณคาร์บอนจากการส่งอาหารด้วยรถจักรยานยนต์

ที่ผ่านมาแกร็บได้สนับสนุนการปลูกต้นไม้ไปแล้วกว่า 2 แสนต้นทั่วภูมิภาค   เช่น ในจังหวัด กระบี่ และแม่ฮ่องสอน  ช่วยให้ชาวบ้านที่ดูแลต้นไม้ มีรายได้

 

ฟีเจอร์ใหม่ๆ เหล่านี้ บางอันอาจจะอยู่ในช่วงทดลองใช้ แต่ผู้บริหารแกร็บประเทศไทยบอกว่า  จะใช้งานจริงทุกอัน โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งโดยส่วนตัวให้ความสำคัญมาก ฟีเจอร์รับเองที่ร้าน (Self-pick up) ทำให้เห็นได้ชัดว่า ช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้มาก จากเดิมที่ร้านกาแฟต้องแยกน้ำแข็ง แยกน้ำ เพื่อให้ไรเดอร์นำไปส่งถึงมือลูกค้า   แต่ฟีเจอร์นี้ก็แค่ชงใส่แก้วตามปกติ ถึงเวลาลูกค้าสก็มาจะมารับเอง ไม่เสียเวลาต่อคิวรอหน้าร้าน   จึงได้รับความนิยมมากจากกลุ่มพนักงานออฟฟิศ ลดขยะพลาสติกได้ถึง 1.7 แสนชิ้น

โดยส่วนตัวมองว่า จะดียิ่งขึ้นถ้าแกร็บ ออกแบบอินเตอร์เฟซการใช้งานแบบดูสะอาดตา แบบน้อยแต่มาก ไม่ซับซ้อน   เพื่อให้คนทุกวัย เข้าถึงได้ง่ายๆ ก็จะช่วยเสริมจุดเด่นเป็นเสน่ห์ของแกร็บได้อีกทาง

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

More read

Tags

  • Grabfood
  • คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย
  • ฟีเจอร์ใหม่แกร็บฟู้ด
  • แกร็บฟู้ด