เทคโนโลยี

ใช้เทคโนโลยีช่วยอนุรักษ์โบราณสถาน

27 ตุลาคม 2565

เป็นหัวข้อที่นักวิชาการ กำลังพยายามหาหนทางที่ดีที่สุด เพื่ออนุรักษ์โบราณสถานที่มีมากมายทั่วประเทศไทยให้พ้นจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ฝนตกหนัก น้ำท่วม ดินถล่ม ฯลฯ

ขณะนี้หลายจังหวัดในประเทศไทยกำลังประสบปัญหาน้ำท่วม บางพื้นที่อยู่กับน้ำมาร่วม 3 เดือนแล้ว

โบราณสถานหลายแห่งก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกัน

จากกรณีเจดีย์วัดศรีสุพรรณ ซึ่งแตกร้าวอยู่ก่อนแล้ว ก่อนจะพังถล่มช่วงปลายเดือนกันยายน จากสภาวะฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

ในวงเสวนาวิชาการเรื่อง การรับมือภัยพิบัติเพื่ออนุรักษ์โบราณสถาน ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)   

นักวิชาการจากกรมทรัพยากรธรณีวิทยา กรมศิลปากร  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย  และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอแนวทางการศึกษาที่สนใจมาก

ขอสรุปให้ฟังแบบเข้าใจง่ายๆ ในสไตล์ iJournalist

ภัยธรรมชาติในไทย  ส่วนใหญ่ก็เป็นน้ำป่า ดินถล่ม แผ่นดินไหว  ชายฝั่งและแม่น้ำกัดเซาะ  พื้นที่ในภาคเหนือและภาคตะวันตก จะมีความเสี่ยงเรื่องแผ่นดินไหว

โบราณสถานมากมายของไทยนั้นส่วนใหญ่จะเจอปัญหาเรื่องการทรุดตัวไม่เท่ากัน  เพราะในอดีตยังไม่ได้ใช้เสาเข็ม เมื่อเจอสภาพดินชุ่มน้ำ ก็จะส่งผลต่อการรับน้ำหนัก ที่ผ่านมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมทรัพยากรธรณีก็จะให้ความรู้เบื้องต้นแก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่

ปกติแล้ว เดือนกันยายนของไทย  เป็นช่วงพีคของน้ำท่วม ดินถล่ม  ภัยธรรมชาติเหล่านี้ ก่อนจะเกิดส่วนใหญ่จะมีสิ่งบอกเหตุ ทำให้มีช่วงเวลาหนี หรือเตรียมตัว การสร้างองค์ความรู้และทำแผนป้องกันร่วมกับคนในพื้นที่นั้นมีประโยชน์

ภาพจากวงเสวนาผ่าน Zoom

นักวิจัยเห็นตรงกันว่า การอนุรักษ์โบราณสถานให้มั่นคง มีอุปสรรค เรื่อง ขาดข้อมูลที่จะใช้ในการตัดสินใจและวางแผน ขาดการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ทันสมัย

การเสื่อมสภาพของโบราณสถาน มีสาเหตุจากธรรมชาติ เช่น สภาพภูมิอากาศ ปริมาณน้ำฝน การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  แสงแดด ความชื้น วัชพืช และต้นไม้ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อม  ภัยพิบัติทางธรรมชาติ น้ำท่วม แผนดินไหว และสาเหตุจากมนุษย์

ภาพจากวงเสวนาผ่าน Zoom

นักวิจัยได้ใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือช่วยอนุรักษ์โบราณสถาน  เช่น ใช้โดรนบนเก็บข้อมูลแบบละเอียด  ใช้เทคนิค Photogrammetry  เป็นการเก็บข้อมูลชิง 3 มิติ แล้วประมวลผลภาพถ่ายนั้น เป็น 3 แบบคือ ภาพสามมิติ ภาพแบบมวล และภาพแบบ Point Cloud  เพื่อให้นำไปใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์

ทั้งนี้ตัวแทนนักวิชาการจากหน่วยงานที่ร่วมวงเสวนา มองว่า  แต่ละหน่วยงานมีข้อมูล จะทำอย่างไรให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายเหล่านี้มารวมอยู่ที่เดียวกัน เพื่อรวมเป็นองค์ความรู้นำไปสู่การใช้งาน

More read
  • เทคโนโลยี
  • 4 พฤศจิกายน 2567

foodpanda เผย 5 ไอเทมยอดนิยมส่งผ่าน pandago

  • เทคโนโลยี
  • 1 พฤศจิกายน 2567

MacBook Pro ใหม่ชิปตระกูล M4 ทรงพลัง

Tags

  • นักวิจัย
  • นักวิชาการ
  • น้ำท่วม
  • ภัยธรรมชาติ
  • สกสว
  • อนุรักษ์โบราณสถาน
  • เจดีย์ถล่ม
  • แผ่นดินไหว