พูดจาภาษา”ผึ้ง”
วันนี้จะไม่พูดจาภาษาคน แต่จะพาไปพูดจาภาษาผึ้งกันค่ะ
หมายถึง ผึ้งจริงๆ ผึ้งที่ช่วยเราผสมเกสรดอกไม้ มีน้ำผึ้งหวานหอมที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพให้เราได้กิน
รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี หัวหน้าศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี อ.บ้านบึง ราชบุรี และอาจารย์ปรีชา รอดอิ่ม จากห้องปฎิบัติการวิจัยผึ้งพื้นเมือง
อาจารย์อรวรรณ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านพฤติกรรมผึ้ง เพิ่งจะได้รับเลือกให้เป็นประธานภูมิภาคเอเชียคนล่าสุดของสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งนานาชาติ ซึ่งเป็นสมาคมด้านผึ้งที่มีบทบาทสำคัญของโลก ประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งและผู้จำหน่ายน้ำผึ้งกว่า 120 สมาคมจากทั่วโลก
อาจารย์อรวรรณ เล่าให้ฟังว่า ในโลกนี้มีผึ้งมากกว่าสองหมื่นชนิด แต่ผึ้งที่ให้น้ำหวานมี 11 ชนิด โดยคัดพันธุ์จากการที่ไม่ทิ้งรัง เป็นผึ้งขยันขันแข็ง
ในประเทศไทยก็มีการนำพันธุ์ผึ้งจากต่างประเทศมาเลี้ยง แต่ก็พบว่า ผึ้งไทยและผึ้งในเอเชีย แข็งแรงปรับตัวเก่ง
ผึ้งพื้นเมืองในไทย มีทั้งผึ้งโพรง ผึ้งหลวง มิ้ม และมิ้มเล็ก รวมถึงชันโรง ซึ่งเป็นแมลงเศรษฐกิจชนิดใหม่ เพราะเก็บยางไม้ เมื่อมีน้ำผึ้ง ทำให้ราคาดี ป็นน้ำผึ้งที่มีคุณภาพมาก
ทั้งตัวอาจารย์อรวรรณ และเหล่านักวิจัยของศูนย์ฯ มีฐานความรู้เรื่องผึ้งแน่นหนาและลึกของไทย จึงหาทางป้องกันผึ้งทิ้งรัง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งด้วยการเอาภาษาสัญลักษณ์ของผึ้ง ไปใส่ในระบบคอมคอมพิวเตอร์ ให้ AI และอัลกอรึธึ่ม ทำงานผสมผสานกัน ภาษาผึ้ง ไปใส่คอมพิวเตอร์ให้แปลภาษาผึ้ง
ผึ้งจะทิ้งรังในกรณีที่รู้สึกไม่ปลอดภัย ถูกคุกคามจากศัตรู ซึ่งมีทั้งมดดำ มดแดง นกจาบคา ยาฆ่าแมลง และตัวต่อ
ทีมวิจัยจึงพัฒนาโมดูลแปลภาษาผึ้ง เพื่อเป็นระบบแจ้งเตือนให้เจ้าของฟาร์ม ผู้เลี้ยงผึ้งได้เข้ามาช่วยเหลือผึ้งได้ทันที ก่อนจะทิ้งรัง
“ถ้ารู้ล่วงหน้า ว่ารังผึ้งรังนั้นกำลังอยู่ในสภาวะที่เสี่ยงต่อการทิ้งรังหรือการอ่อนแอจนรังล่มสลาย เพราะระยะเวลาที่ผึ้งจะทิ้งรัง หลังจากโดนฝูงมดหรือตัวต่อบุกรัง อาจมีระยะเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหรืออาจเป็นวันก็ได้ ซึ่งการตรวจสอบด้วยการเปิดรังดูตามรอบการดูแลรังอาทิตย์ละครั้งอาจไม่ทันการณ์ ขณะที่การเปิดรังดูบ่อยเกินไปก็จะเป็นการรบกวนผึ้งในรัง ที่อาจส่งผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำผึ้งของรังนั้นได้”
“โมดูลแปลภาษาผึ้ง” สามารถแจ้งให้เจ้าของฟาร์มหรือผู้ดูแลระบบที่อยู่ ให้ทราบได้ทันทีที่รังผึ้งโดนจู่โจมจากศัตรูหรือรังอยู่ในสภาวะเครียด เป็น “โมเดลแปลภาษาผึ้งโพรง” ตัวแรกของโลก
ชื่อว่า Smart Hive เป็นการต่อยอดจาก “Bee Box ซึ่งเป็นผลงานของทีมนักศึกษาจากภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มจธ. งานวิจัยนี้พัฒนาต่อยอดมาหลายปี จนถึงปัจจุบัน มีข้อมูลสำหรับแจ้งเตือนได้สอดคล้องกันกับภัยคุกคามที่ผึ้งเจอ
“แมลงกลุ่มผึ้งจะมีการสื่อสารกันด้วยการเต้นรำ เสียง และกลิ่นหรือฟีโรโมน เช่น “การเดินวงกลมคล้ายเลข 8” คือ “ภาษาผึ้ง” ที่ใช้เพื่อบอกระยะและทิศทางของแหล่งอาหารที่มันพบให้กับเพื่อนตัวอื่น ๆในรังได้รู้ แต่ละสายพันธุ์จะมีภาษาที่แตกต่างกัน “ อาจารย์อรวรรณ ซึ่งศึกษาด้านพฤติกรรมมานาน เล่าให้ฟังด้วยน้ำเสียงสนุกสนาน
ลีลาภาษาผึ้งจากท่าเดิน
ผึ้งโพรง ถ้าเดินส่ายไปมาขึ้นไปข้างบนเป็นเวลาครึ่งวินาที ความหมายก็คือ มีอาหาร (ดอกไม้) อยู่ห่างจากรังประมาณ 500 เมตร
ถ้าส่ายก้นกระดก จนเห็นก้นสีขาว แสดงว่าเริ่มเครียด ห่างจากกลิ่นนางพญา
ภาษาผึ้งชนิดเสียง เกิดจากการขยับขาไปเสียดสีกับปีก เสียงเหล่านี้มีจะรูปแบบและระดับความถี่ของเสียงที่แตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์
ถอดรหัส “ระดับความเครียดของผึ้ง”
งานวิจัยซึ่งนำไปสู่การสร้าง “Smart Hive” นวัตกรรมเพื่อการเลี้ยงผึ้งแบบอัจฉริยะ เมื่อเกิดปัญหาในรัง ระบบจะแจ้งเตือนไปยังแอป และไลน์ของเกษตรกรทันที
ทำงานโดยผสมผสานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับอัลกอริทึม (Algorithm) วิเคราะห์ฐานข้อมูลเสียงในรังผึ้ง ระบบจึงสามารถแปลภาษาผึ้งที่เกิดจากการเสียดสีของขากับปีกของผึ้งโพรงและผึ้งพันธุ์ออกมาเป็นระดับความเครียดโดยรวมของผึ้งในรัง ณ เวลานั้นแบบ real time ถึง 3 ระดับ
‘ระดับสีเขียว’ เหตุการณ์ในรังยังปกติ
‘ระดับสีเหลือง’ ใช้บอกการบุกรุกโดยศัตรูทางธรรมขาติ ได้แม่นยำถึง 80 เปอร์เซ็นต์ (เริ่มเครียด)
‘ระดับสีแดง’ ที่อาจแปลได้ว่า “ฉันต้องการย้ายรังแล้ว (เครียดมาก)
ระบบ Smart Hive ประกอบด้วยไมโครโฟนเพื่อส่งข้อมูลเสียงให้กับโมดูลแปลภาษาผึ้งแล้วในกล่องเลี้ยงผึ้งแล้ว ในกล่องเลี้ยงผึ้งจะมีกล้อง เพื่อเฝ้าดูเหตุการณ์ที่เกิดในกล่อง ติดตามพัฒนาการของรัง
ปัจจุบันสามารถแปลได้บางคำ เช่น “ดีใจจังนางพญามาแล้ว” “อาหารเยอะจังเลย” ให้มีความหมายที่มนุษย์สามารถเข้าใจมากขึ้น
ทีมนักวิจัยได้นำนวัตกรรมแปลภาษาผึ้ง ติดตั้งไว้ที่ วิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งและชันโรง ที่อำเภอบ้านคา ราชบุรี และที่จังหวัดเชียงใหม่
ถ้าอยากจะเลี้ยงผึ้ง ต้องเข้าใจพฤติกรรม เข้าใจภาษาผึ้ง ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนของรายได้
บรรณาธิการเทคโนโลยี
AIS อุ่นใจ CYBER ปลุกกระแสละครสะท้อนสังคม "ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน"
อยากทำหนัง ต้องรีบสมัคร “Today at Apple นักเล่าเรื่องกรุงเทพ”