ข่าวทั่วไป

ผักตบชวาตากแห้งกันกระแทก เกิดขึ้นอย่างตั้งใจไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ  

1 มีนาคม 2566

ยุคโควิดที่ทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเป็นยุคการสั่งซื้อออนไลน์ แพคเกจจิ้งเป็นเรื่องสำคัญ จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีขยะจากการขนส่งเพิ่มขึ้นแบบไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ถ้าเราเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สังเคราะห์กันกระแทกในการขนส่งก็เท่ากับเพิ่มขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายได้มาทำลายโลกของเรา “ผักตบชวากันกระแทก” ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100% จึงเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ

สุรเดช ตัณฑ์ไพบูลย์ ผู้บริหารกลุ่มงานบริษัท ASIMAR เล่าว่า หลังการเข้ามารับตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ บจก.อีโค มารีน ที่ดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมทางน้ำมามากกว่า 17 ปี ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ บมจ.เอเชียนมารีน เซอร์วิสส์ และเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาผมได้มีโอกาสบริหารงานเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นจากผักตบชวาให้กับภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการต่อเรือเก็บผักตบชวาหรือให้บริการบริหารจัดการผักตบชวาทำให้มองเห็นสิ่งที่สามารถจะเติมเต็มการแก้ไขปัญหาให้ไปสู่การบูรณาการอย่างยั่งยืน

“เราไม่ควรหยุดอยู่แค่การจัดเก็บผักตบชวา เพราะปัญหาไม่ได้จบอยู่แค่นั้นรวมถึงประโยชน์ของผักตบชวาก็ยังคงมีแม้มันจะถูกทิ้งวางไว้เฉยๆ ก็ตาม เราสามารถต่อยอดตอบโจทย์เมื่อเก็บผักตบชวาแล้วจะเอาไปไหน สร้างชุมชนให้พึ่งพาตนเองไว้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากผักตบชวานั้นๆ”  

อีโคมารีน มองเห็นโอกาสที่จะเติมเต็มให้ความรู้ความเข้าใจ สร้างเศรษฐกิจให้กับชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเอง สร้างการบูรณาการอย่างยั่งยืนจึงเป็นที่มาของ “YAYAWA” ผักตบชวาตากแห้งกันกระแทก ภายใต้โครงการ “ชุมชนคนรักษ์น้ำ” เราสามารถใช้ประโยชน์ และต่อยอดผักตบชวาหลังการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์ในหลายด้านเช่น ลดพื้นที่ทิ้ง ลดปริมาณขยะ ทดแทนผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างชุมชนสัมพันธ์ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็นต้น เรามีเครื่องจักรในการจัดเก็บ ผักตบชวา ( เรืออีโค คลีนอัพ22 ) เรามีทีมงานที่พร้อมจะให้ความรู้ในการแปรรูป และสร้างรายได้จากการแปรรูปนี้ให้กับชุมชน

ด้วยคุณสมบัติพิเศษของผักตบชวาในเรื่องของความยืดหยุ่นมีรูพลุนลักษณะคล้ายฟองน้ำสามารถรองรับการกระแทก จะดีกว่าไหมถ้าเปลี่ยนมาใช้วัสดุจากธรรมชาติได้ การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100%ผักตบชวาตากแห้งกันกระแทกกับการขนส่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100 % (ผักตบชวากันกระแทก) ทดแทนผลิตภัณฑ์เคมี (พลาสติกกันกระแทก) จึงเป็นเรื่องที่ดี

ต้องยอมรับว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ทุกคนหันมาใช้ผักตบชวากันกระแทกแทนกันกระแทกสังเคราะห์ แต่ YAYAWA ก็พร้อมมุ่งมั่นที่จะผ่านจุดเริ่มต้นนี้ไปให้ได้เพื่ออนาคตของสิ่งแวดล้อมที่ดีของพวกเรา เรารู้สึกดีทุกครั้งที่ได้รับการสนับสนุนความมุ่งมั่น ความตั้งใจนี้จากภาครัฐที่ช่วยแก้ไขปัญหา และจัดเก็บผักตบชวา และจากชุมชนชาวบ้านที่จะมีรายได้จากการแปรรูปผักตบชวาหลังการจัดเก็บในพื้นที่

YAYAWA ยังได้ร่วมกับ Doozy Pack by SCGP กล่องและอุปกรณ์ไปรษณีย์ ในการเพิ่มช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภครณรงค์ลดการใช้ และสำหรับใครหรือบริษัทไหนที่สนใจในผลิตภัณฑ์ผักตบชวาตากแห้ง  เรื่องการจัดเก็บเรื่องความรู้ วิธีการแปรรูป หรือแม้แต่เสนอไอเดียอะไรใหม่ๆเพิ่มเติม สามารถติดต่อเข้ามาที่อีโคมารีนได้เลย อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ เพราะโลกมักจะสอนอะไรใหม่ๆ ให้เราเสมอ” สุรเดช ตัณฑ์ไพบูลย์ กล่าวทิ้งท้าย

Share
Related