ข่าวทั่วไป

เปิดเทอมใหม่นันยาง ชวนนักเรียน “เลิกกดดันตัวเอง”

2 พฤษภาคม 2567

เปิดเทอมใหม่นันยาง ชวนนักเรียน “เลิกกดดันตัวเอง”

รองเท้านันยาง ทำแคมเปญต่อเนื่องหลังพบข้อมูล เด็กไทยสภาพจิตใจย่ำแย่สูงสุด  บูลลี่ตัวเอง เปิดแพลตฟอร์มดูใจตน วอลเล็ต” ชวนเติมความใจดีให้ตัวเอง  เชื่อมั่นว่า ทุกคนมีดีพอ แค่พอดีไม่เหมือนกัน

  ดร.จักรพล จันทวิมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า   3 ปีที่ผ่านมา นันยางได้แสดงจุดยืนยุติปัญหาการบูลลี่ในโรงเรียนซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะนักเรียนทั่วประเทศ  เริ่มจากรุ่นใหญ่ไม่บูลลี่  บูลลี่โนมอร์

ปี 2567  นันยางยังเดินหน้าสานต่อการรณรงค์ดังกล่าว ผ่านแคมเปญ “พอดีไม่เหมือนกัน” เพื่อยุติการสร้างแรงกดดันและความคาดหวังกับตัวเองมากเกินไป หรือนำตัวเองไปเปรียบเทียบกับเพื่อนๆ เพราะจะทำให้บั่นทอนศักยภาพการใช้ชีวิต ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยเป็นที่พึ่งทางความคิดของเด็กนักเรียนได้

“ปัญหาบูลลี่ หรือการกลั่นแกล้งในโรงเรียนมีต่อเนื่อง   ประเทศไทยอยู่อันดับต้นๆ ของโลก นันยางอยากเป็นกระบอกเสียงถึงโรงเรียน นักเรียน รุ่นพี่ ให้หยุดการบูลลี่ที่โรงเรียน  แต่ปัญหาการกลั่นแกล้งที่เห็นทั้งทางกาย วาขา และทางออนไลน์  เป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ยังมีซ่อนอยู่มากมาย  จึงร่วมมือกับภาครัฐ  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาทางตระหนักในเรื่องนี้”

เด็กไทยกดดันจนกลายเป็นบูลลี่ตัวเอง

นักเรียนไทย วัยรุ่นไทยมีความเครียด จากปัจจัย ความภูมิใจตัวเองกลายเป็นกดดันตัวเอง  บูลลี่ตัวเอง  ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต  ระบุว่า  สถานการณ์สุขภาพจิตของเยาวชนไทย ในช่วงปี 2563-2567 มีความเครียดสูง ร้อยละ 24.83  มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า ร้อยละ 29.51

เสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึง ร้อยละ 20.35 

ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าวัยอื่นๆ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียด ความเหนื่อยล้า ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ และยังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทุกคนมีดี แต่พอดีไม่เหมือนกัน 

นันยางเลือกทำแคมเปญ “พอดีไม่เหมือนกัน” ให้นักเรียนเลิกกดดันตัวเอง เพราะพบว่า ปัญหาดังกล่าวเกิดเพิ่มขึ้นมาก

เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเด็ก  หากเด็กไม่พูดหรือไม่มีพื้นที่ที่จะรับฟังก็เท่ากับไร้ที่พึ่ง

“การกดดันเหยียบย่ำตัวเอง หรือ Self-bully เป็นปัญหามองไม่เห็นด้วยตาเพราะเกิดขึ้นภายในจิตใจ วัยรุ่นมักไม่รู้ตัวว่ากำลังเกิดความคิดและพฤติกรรมที่บั่นทอนศักยภาพการใช้ชีวิตของตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่ได้ซึบซับมาจากสภาพแวดล้อม ผู้ใหญ่และคนรอบข้างก็มองไม่เห็น หรือมองว่า เด็กไม่มีเรื่องเครียดอะไรมาก ทำให้ไม่ทันได้สังเกตหรือรับฟังกัน  จึงเป็นเรื่องดีที่แคมเปญนี้เป็นกระบอกเสียงให้ทุกคนที่กำลังรู้สึกแย่จากตัดสินและตำหนิตัวเองมากเกินไปได้มีที่ปรึกษาในการบรรเทาปัญหาดังกล่าว” ดร.จักรพล กล่าว

วัยรุ่นอายุ 12-18 ปี คือช่วงเวลาท้าทายด้านสุขภาพจิต

ข้อมูลจากนางสาวกันตพร สวนศิลป์พงศ์ นักจิตวิทยาการปรึกษาผู้ร่วมก่อตั้ง MASTERPEACE และ ผศ.ดร.กันนิกา เพิ่มพูนพัฒนา กรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาการมนุษย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ร่วมนำเสนอผลการสำรวจข้อมูลการเกิด Self-bully ในเด็กนักเรียน  มีความเห็นตรงกันว่า

จากการสำรวจข้อมูลจากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ พบว่า วัยรุ่นอายุ 12-18 ปีกำลังอยู่ในช่วงเวลาที่ท้าทายด้านสุขภาพจิต     เพราะเป็นวัยที่กำลังค้นหาอัตลักษณ์ตัวเองส่งผลให้เกิดการกดดันตัวเอง นอกจากสังคมรอบข้างจะเรียกร้องให้ประสบความสำเร็จแล้ว  โลกโซเชียล คืออีกปัจจัยให้เกิดการเปรียบเทียบตัวเองกับคนรอบข้าง 

“ วัยรุ่นมีความรู้สึกกดดันตัวเองและรู้สึกว่าตัวเอง ‘ยังดีไม่พอ’ ซึ่งปรากฏการณ์นี้บอกว่า ไม่ใช่แค่คุณครูหรือนักจิตวิทยาที่มีหน้าที่สื่อสารและแนะนำให้เขาหัดเป็นเพื่อนกับตัวเองได้มากขึ้น แต่ทุกคนมีส่วนในการเป็นกระบอกเสียงกับสังคมและช่วยเหลือเรื่องนี้ ด้วยการเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้วัยรุ่นได้ ไม่กดดัน ทำให้เขาตระหนักรู้และเข้าใจ ว่าเขามีจังหวะค่อยๆ ไปต่อได้ เขาดีพอนะ ดีกว่ารอให้ปัญหาใจติดอยู่กับเขาจนมันบานปลายในวัยผู้ใหญ่”

แพลตฟอร์ม “ดูใจตน วอลเล็ต”

นันยาง ได้ออกแบบแพลตฟอร์ม “ดูใจตน วอลเล็ต” เพื่อให้วัยรุ่นเติมความใจดีให้กับตัวเอง  เปิดช่องทางรับฟัง เข้าใจ และให้คำแนะนำแก่ผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับการกดดันตนเองให้กลับมาใจดีกับตัวเองให้มากขึ้น สนุกไปกับแต่ละก้าวของชีวิต   ผ่านเว็บไซต์  www.พอดีไม่เหมือนกัน.com

แพลตฟอร์ม “ดูใจตน วอลเล็ต” ในเว็บไซต์  พอดีไม่เหมือนกัน จะชักชวนวัยรุ่นมาสำรวจใจตัวเอง ผ่านแบบประเมินทางจิตวิทยาเพื่อสำรวจความใจดีกับตัวเอง แบ่งปันข้อความปลอบประโลมใจ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ ส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ป้องกันปัญหาสุขภาพใจ และช่วยให้นักเรียนรู้สึกเบากับความรู้สึกและปัญหาที่ต้องเผชิญมากขึ้น เพราะคนแต่ละคนมีดีในแบบของตนเอง ลดการเปรียบเทียบกับผู้อื่นให้น้อยลง

“ความคาดหวังของนันยางต่อแคมเปญ “พอดีไม่เหมือนกัน”   ขอเป็นส่วนหนึ่ง สร้างความตระหนักรู้ให้แก่วัยรุ่น ชวนกลับมาสำรวจตัวเองเติมความใจดีต่อตนเอง เพื่อให้รู้ตัวว่า กำลังปฏิบัติกับตัวเองแบบไหนในวันที่เจอ อุปสรรค สิ่งสำคัญ คือวิธีการรับมือดูแลใจตัวเอง เลือกที่จะไม่เหยียบย่ำตัวเอง ความเป็นตัวเองของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน เราไม่จำเป็นต้องพยายามวิ่งให้เร็วเท่าใคร กลับมาฟังเสียงภายในตัวเองให้ดังกว่าเสียงคอมเมนต์หรือคำวิจารณ์ของคนภายนอก เพื่อสร้างเสริมใจให้แข็งแรงเพื่อใช้ชีวิตตาม เส้นทางและจังหวะก้าวของตัวเองได้อย่างเต็มที่และมีความสุขที่สุด” ดร.จักรพล กล่าว

เป็นนักเรียนใครว่าง่าย

สำหรับแบบประเมินจิตวิทยา บนแพลตฟอร์มดูใจตน  วอลเล็ต  เป็นการทำงานต่อเนื่องร่วมกับทางนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล เบื้องต้นตั้งเป้าเก็บข้อมูลให้ได้ถึง 5 แสนราย  จากจุดเริ่มต้นที่ทำไปแล้วประมาณ 600 ราย

เป็นแบบประเมินเกี่ยวกับวัยรุ่น  โดยนำแบบประเมินของสหรัฐอเมริกามาปรับให้เข้ากับรูปแบบของวัยรุ่นไทย ให้ใจดีและรักตัวเอง 

ทั้งนี้ จากการประเมินข้อมูลที่ได้จากแบบสำรวจจำนวน 600 คนในระยะแรก  ทางนักวิจัยพบว่า  เด็กที่มีปัญหาด้านการจัดการตัวเอง ส่วนใหญ่ยังแก้ปัญหาได้ไม่เหมาะสม

กลุ่มเชิงบวก จะใช้สติ และจัดการด้านอารมณ์ปรึกษาคนในครอบครัว มีที่ระบาย

กลุ่มเชิงลบ  จะแยกตัวเอง หนีปัญหาที่เกิดขึ้น  นำไปสู่ภาวะทางจิตเวช    

ปัญหาความเครียดของวัยรุ่น และการบูลลี่ตัวเอง  นับวันจะเจอในกลุ่มเด็กที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ   ต้องรีบส่งเสริมให้ใจดี ต่อตัวเอง    ซึ่งรองเท้านันยาง มั่นใจว่า นันยางมีเสียงดังพอสมควร ที่จะทำให้เกิดการตระหนักรู้ หาทางแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้    จากข้อมูล เด็กๆ บอกว่า รู้สึกเหนื่อย ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่นตลอดเวลา อบากได้ อยากดี อยากเก่งกว่านี้  แต่นันยางอยากบอกว่า ทุกคนมีดีพอ 

ผู้เขียน
ปรารถนา ฉายประเสริฐ

บรรณาธิการเทคโนโลยี

More read

Tags

  • ดร.จักรพล จันทวิมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำ...
  • ดูใจตนวอลเล็ต
  • บูลลี่ตัวเอง
  • บูลลี่ในโรงเรียน
  • รองเท้านันยาง
  • รักตัวเอง